Appreciative Inquiry คืออะไร ใครใช้


Appreciative Inquiry คืออะไร ใครใช้

สุนทรียสาธก หรือ Appreciative Inquiry  (Coopperrider D. L. and Whitney D., 1999) คือกระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคน ในองค์กร หรือของโลกที่อยู่รอบตัวของเขา สุนทรียสาธกคือกระบวนการค้นหาอย่างเป็นระบบว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไปอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อระบบนั้นสามารถบรรลุซึ่งประสิทธิผลสูงสุดไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ด้านนิเวศวิทยา หรืออะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ก็ตาม สุนทรียสาธก เป็นศิลปะของการถามคำถาม ที่นำไปสู่การส่งเสริมให้ระบบมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด  สุนทรียสาธก  เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการถามคำถามในเชิงบวกแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ไม่กี่คน จนถึงเป็นล้านคน ในกระบวนการการทำ สุนทรียสาธก จะเปิดโอกาสให้กับจินตนาการและนวัตกรรม แทนที่จะเป็นความคิดด้านลบ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ สุนทรียสาธก ยืนอยู่บนสมมติฐานที่ว่าในทุกระบบล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวด้านบวกที่สร้างแรงบันดาลใจที่ยังไม่มีใครนำมาขยายผล และมีมากพอ เราสามารถเชื่อมโยงการค้นพบด้านบวกนี้เข้ากับเรื่องใดก็ได้  วงจร Appreciative Inquiry สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการสนทนาแบบเร็วๆสั้นๆกับเพื่อน หรือนำมาใช้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กรก็ได้ วงจรสุนทรียสาธก จะเริ่มจากการค้นหาประสบการณ์ที่ดีที่สุด (Peak Experience) จากนั้นเอาประสบการณ์ที่ได้ไปสานต่อเป็นความฝัน หรือวิสัยทัศน์ (Dream) วางแผนทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง (Design) และเริ่มต้นทำ (Destiny)

 หลักการที่เป็นพื้นฐานของทฤษฎี Appreciative Inquiry 

สุนทรียสาธก ยืนอยู่บนหลักการห้าประการ  (Coopperrider D. L. and Whitney D., 1999) ดังนี้
The Constructionist Principle เป็นหลักการพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด Appreciative Inquiry ทั้งหมด หลักการคือ เรากำหนดชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วมสร้างหนทางใหม่ให้ตนเองได้
The Poetic Principle อดีต ปัจจุบัน อนาคตของเราเปิดกว้างต่อการตีความ และความเป็นไปได้ที่ไม่มีขีดจำกัดอะไรทั้งสิ้น เราสามารถพบสิ่งดีๆในตัวบุคคล ในตัวองค์กรใดๆก็ตาม ในใครก็ตาม สิ่งที่เราเลือกที่จะสนใจจะสร้างสิ่งที่เป็นจริงขึ้นมา ถ้าเราให้ความสนใจอะไรเป็นพิเศษมันจะเติบโตเป็นประสบการณ์จริงๆของเรามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
The Simulteneity Principle การเปลี่ยนแปงใดๆเริ่มต้นเมื่อเราถาม
The Anticipatory Principle ภาพในอนาคตที่เราสร้างขึ้นในใจ จะเป็นสิ่งนำทางเราในการแก้ปัญหาของเราในปัจจุบัน และสร้างสรรอนาคตแก่เรา ภาพมีความหมายมากกว่าคำพูด ยิ่งภาพท้าทาย และชัดเพียงใด เราก็มีแนวโน้มจะเติบโตไปเส้นทางนั้นมากยิ่งขึ้น
The Positive Principle การที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืนได้นั้น มีเงื่อนไขว่าต้องอยู่บนพื้นฐานของการคิดบวก อารมณ์ดี มีความสัมพันธ์ที่ดี มีความรู้สึกว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันก็มีความสนุกสนานอยู่ในตัว การมีอารมณ์ที่ดีมีส่วนสำคัญต่อการทำงานและการเติบโต กล่าวคือหากเรามีความสุข เราจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

 

มีการประยุกต์ใช้ Appreciative Inquiry ในสาขาใดบ้าง 

 

ผมตอบได้เลยครบว่าทุกสาขาครับ  โครงการในประเทศไทยที่ทำสำเร็จแล้วมีดังนี้ครับ
ด้านวิศวกรรม (Productivity) ด้านการศึกษา (วิชาฟิสิกส์)  การส่งเสริมสุขภาพ (โรงพยาบาลพล)  ความชรา  (ขอนแก่น) การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน (โรงพยาบาลพล)  การพยาบาลความเจ็บป่วย (โรงพยาบาลพล)  การบริหารประสบการณ์ลูกค้า กรณีศึกษาหอพัก (ขอนแก่น) ร้านแทรกเตอร์ (เพชรบูรณ์) ร้านขายเครื่องสำอางค์ (ขอนแก่น)  ร้านขายวัสดุก่อสร้าง (หนองบัวลำภู) ร้านอาหารไทย (ขอนแก่น)

ตัวอย่างในต่างประเทศลองดูจาก AI News ครับนี่คือตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ในด้านต่างๆ เช่นตอนนี้มีจดมหายข่าวเรื่อง Positive Aging เป็นแง่มุมการใช้ AI เรื่องผู้สูงอายุดูที่
http://www.taosinstitute.net/resources/pa/

ใครชอบด้านการประเมินผลทางการศึกษา นี่คือผลการวิจัยทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีการตั้งคำถามโดยใช้แนวทางของ AI แต่ทำเป็นการวิจัยเชิงปริมาณครับ http://www.kentschools.net/rhs/news/appin/data/student/s3b.htm

ปัจจุบันบริษัทที่ปรึกษาในต่างประเทศก็บรรจุให้มีบริการที่พัฒนาองค์กรด้วย Appreciative Inquiry เช่นที่ http://www.artofthefuture.com/ValueProp.html

บางเจ้าก็ใช้ Appreciative Inquiry เป็นตัวหลักก็มีเช่นที่ http://www.jemstoneconsultancy.co.uk/appreciative.htm

และโครงการที่มีการนำ  Appreciative Inquiry ในทางการเมือง การพัฒนาเมืองขนาดใหญ่มีคนร่วมกว่าล้านคนก็มีเช่นโครงการ Imagine Chicago ลองเข้าไปดูที่ http://www.imaginechicago.org/home.html

การพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนรู้ ที่ McMaster University ใช้ Appreciative Inquiry เป็นหนึ่งในเครื่องมือพัฒนาบุคลากร http://www.mcmaster.ca/cll/inquiry/inquiry.resources.htm#Appreciative

บริษัทให้คำปรึกษาด้านการตลาด การวางแผนกลยุทธ์ที่มีทีปรึกษาใช้ Appreciative Inquiry เป็นเครื่องมือหลักในการให้คำปรึกษาลูกค้า http://www.globalinsights.com/bio.asp#drstavros

ศาสตราจารย์ทันตแพทย์ใช้ Appreciative Inquiry ในการวางแผนกลยุทธ์ http://www.ijm.cgpublisher.com/product/pub.28/prod.433/index_html

การเรียนการสอนแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชศาสตร์โดยใช้ Appreciative Inquiry หรือ Appreciative Pedagogy http://repositories.cdlib.org/cgi/viewcontent.cgi?article=1016&context=clta/lta

การศึกษาหลังปริญญาของกองทัพเรือสหรัฐก็ใช้ AI พัฒนาภาวะผู้นำ ดูที่ http://appreciativeinquiry.case.edu/uploads/TheNewFrontier.pdf

 

Appreciative Inquiry มีกี่รูปแบบ

 ปัจจุบันมีการทำ Appreciative Inquiryในรูปแบบต่างๆดังนี้ (Whitney and Troston-Bloom, 2003)
1.Whole-system 4-D Dialogue: สมาชิกในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสีบบางราย เข้าร่วมกระบวนการ 4-D ซึ่งจะเกิดขึ้นในหลายๆสถานที่ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2.Appreciative Inquiry Summit: คนจำนวนมากเข้าร่วมในกระบวนการ 4-D พร้อมๆกัน ใช้เวลาสองถึงสี่วัน
3.Mass-mobilized Inquiry: มีการสัมภาษณ์คนจำนวนมาก (พันคนถึงล้านคน) ในหัวข้อเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ทั่วเมือง ทั่วชุมชน หรือทั่วโลก
4.Positive Change Consortium: องค์กรหลายองค์กรร่วมมือกันในกระบวนการ 4-D เพื่อสำรวจและพัฒนาเรื่องที่เป็นความสนใจร่วมกัน
5.Core group inquiry: กลุ่มคนจำนวนน้อยเลือกหัวข้อที่สนใจ ออกแบบสอบถาม และสัมภาษณ์
6.Positive change network: สมาชิกในองค์กรได้รับการฝึกอบรมเรื่อง AI พร้อมได้รับการสนับสนุนเรื่องทรัพยากรในการพัฒนาโครงการ และแบ่งปันเอกสาร เรื่องราว และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแก่กัน
7.AI Learning Teams: คนจำนวนไม่มาก ที่มีหัวข้อที่สนใจอยู่แล้ว เช่นทีมประเมิน ทีมพัฒนากระบวนการ ทีมศึกษาความต้องการผู้บริโภค ทีมพัฒนาระบบงาน หรือกลุ่มนักศึกษาที่ศึกษาและดำเนินโครงการตาม 4-D
8.Progressive AI Meetings: องค์กร หรือทีมงาน ดำเนินการประชุมตาม 4-D โดยใช้ระยะเวลาการประชุม 10-12 ครั้งแต่ละครั้งใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง


หมายเลขบันทึก: 314324เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สุนทรียสาธก เป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินบ่อยนัก

 แต่เป็นความรู้สุดยอดค่ะ ถ้าน้ำมาประยุกต์ใช้ให้ถูกต้อง

โดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์พัฒนาคน

พัฒนาประเทศได้อย่างยิ่งใหญ่ และที่สำคัญ

อ่านแล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยค่ะ

ขอบพระคุณครับ กระจ่างขึ้นครับ

อาจารย์ครับ ตัวหนังสือเล็กมากเลยครับ

ตอนแรกคิดว่า artificial intelligence

ทำให้เข้าใจความหมายของ AI มากขึ้นครับ

     อาจารย์ครับ ขออนุญาตเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

  Appreciative Inquiry  ที่ผมเคยศึกษามาบ้าง  ใช้คำว่า สุนทรียปรัศนีย์  ครับ   เป็นการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดในการทำงานจากบุคคลที่เราสนใจ  รวมทั้งการใช้คำถามเพื่อต่อยอดการทำงานของเขาให้สมบูรณ์

     จากประสบการณ์ของผมนะครับ  ผมทำงานในระบบราชการ  ยังไม่เคยพบAppreciative Inquiry ในระบบราชการที่ผมผ่านมาเลยครับ

     ผมลองนำไปใช้ดูบ้างตามที่ผมเข้าใจ  ก็โอเครับ  ได้คำตอบดีๆ จากคำถามสร้างสรรค์ที่เราถามไป

    ระบบราชการ มักจะถามเพิ่อจับผิดครับ    น่าจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมมาเป็นถามแบบ Appreciative Inquiry  เพื่อยกระดับการสร้างสรรค์และพัฒนางาน

    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะไม่ถูกต้อง ต้องขอคำชี้แนะด้วยครับ

                         ขอบคุณครับ

           

ยินดีครับ ลองค่อยๆทำดูครับ ให้กำลังใจ www.aithailand.org ผมเองยังถือว่าเริ่มต้นแต่สนใจและลองใช้เจอความท้าทายเยอะครับ

อ.โย

ถ้าสนใจลองดู case studies ที่พวกเราพัฒนาขึ้นมาครับ เหตุที่ต้องทำเพราะไม่มีตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ผมเองผมก็ใช้ Action Research พัฒนา AI ขึ้นมาโดยใช้องค์กรของผมเองคือ Thailand Appreciative Inquiruy Network ครับ ก็พบว่าในบริบทที่ผมทำอยู่ต้องปรับเปลี่ยนเยอะมากครับตั้งแต่การตั้งคำถาม เคยทำตามหนังสือฝรั่งที่ก็ล่มครับ ตามประสบการณ์ของผมเวลาทำ AI ไปต้อง AI ตนเองไปเรื่อยๆครับว่า Discovery แบบไหน work

Dream แบบไหน work

Design แบบไหน work

Destiny แบบไหน work ครับ

ผมจะค่อยเล่าใน Blog ขงอผมครับ

แต่ถ้าสนใจ case ที่พวกเราพัฒนาขึ้นมาผมแขวนไว้ที่ www.aithailand.org ครับ

และขอขอบพระคุณสำหรับความรู้ครับ

อ.โย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท