วิจัย .. บันทึก ทางการพยาบาล


วิจัย .. บันทึกทางการพยาบาล
เปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลก่อนและหลัง  พัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
 บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 
1.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบสอบถามเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับพยาบาลตึกสูติกรรม จำนวน 30 ฉบับ และคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น 0.78   
2) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าสถิติพื้นฐาน และค่าที ( t-test ) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการศึกษา  พบว่า  
1.พยาบาลมีความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมากขึ้น2.พยาบาลมีทัศนคติต่อการใช้กระบวนการพยาบาล หลังการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมากขึ้นเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                บันทึกทางการพยาบาลมีความสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยของทีมสุขภาพ     เนื่องจากบันทึกทางการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าของอาการผู้ป่วย  จุดเริ่มต้นและความสำคัญของการบันทึกที่มีคุณภาพต้องได้จากกระบวนการบันทึกที่มีคุณภาพ คือต้องผ่านการวิเคราะห์   คิดเชื่อมโยง   สอดคล้องกับกระบวนการพยาบาล   บันทึกทางการพยาบาลพยาบาลที่ดีและมีคุณภาพจะสื่อให้เห็นถึงการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องของพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย  ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในทีมสหวิชาชีพ บันทึกทางการพยาบาลใช้เป็นหลักฐานที่อ้างอิงการปฏิบัติการพยาบาล        ดังนั้นถ้าพยาบาลสามารถบันทึกทางการพยาบาลได้เป็นอย่างดี  ครบถ้วน ย่อมสามารถบ่งบอกถึง   คุณภาพของพยาบาลได้  ( สุรีย์ , 2540  )  และบันทึกทางการพยาบาลยังเป็นเอกสารสำคัญของระบบมาตรฐานการทำงานบริการพยาบาล   ซึ่งเป็นเครื่องมือ    พื้นฐานชนิดหนึ่งที่แสดงถึงคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในประเทศไทย     นอกจากนี้บันทึกทางการพยาบาลยังเป็นบันทึกที่ต่างจากบันทึก         เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ เนื่องจากบันทึกทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญทางกฎหมาย จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พยาบาลจะต้องระมัดระวังในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล จะต้องเขียนตามที่เห็นจริง ไม่คาดเดาหรือสรุปเอาเอง เขียนอย่างเป็นกลางและต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณที่กฎหมายของวิชาชีพกำหนด การบันทึกทางการพยาบาลต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย      มีการกำหนดเกี่ยวกับข้อความที่นำมาบันทึก      บางข้อความต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย  ข้อความใดที่เป็นข้อมูลส่วนตัวควรได้รับความเห็นชอบจากผู้ป่วยก่อนว่าจะสามารถบันทึกได้หรือไม่   ( พิกุลทิพย์   และ ปราณี  ,2532)
         ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่าบันทึกทางการพยาบาลเป็นสิ่งที่ช่วยในการประเมินความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย ประเมินการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและสามารถประเมินความรู้และทักษะของพยาบาลได้   และด้วยเหตุผลที่ว่าการดูแลผู้ป่วยในทีมสุขภาพต้องใช้การดูแลแบบองค์รวม  โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง   ครอบคลุมการดูแลรักษาโรค   การป้องกันโรค   การส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย   ซึ่งจากการปฏิบัติงานพบว่าบันทึกทางการพยาบาลที่บันทึกอยู่    ยังไม่ครอบคลุมปัญหาของผู้ป่วย     ขาดความต่อเนื่อง    และยังไม่สามารถสื่อให้เห็นถึงการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล   กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหนองจิกจึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลขี้น และมีการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาบันทึกการพยาบาล  เพื่อนำสู่โอกาสในการพัฒนาการใช้กระบวนการพยาบาลในการบันทึกทางการพยาบาลที่ต่อเนื่องต่อไป 
วัสดุ และวิธีการ 
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา  ( Deacriptive research ) เพื่อศึกษาการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการศึกษา  เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 14 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1 ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบสอบถามเปรียบเทียบทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับพยาบาลตึกสูติกรรม จำนวน 30 ฉบับ และคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น 0.78   2) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าสถิติพื้นฐาน และค่าที ( t-test ) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี  2  ประเภท  ดังนี้                     
1.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล แบ่งเป็นก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการ-พยาบาล มี 2 ส่วน  คือ
ส่วนที่   1     สถานภาพส่วนบุคคลของพยาบาล
ส่วนที่   2     ความรู้และทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลประจำตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิก
2.1     ด้านความรู้    จำนวน   2   ข้อใหญ่  14   ข้อย่อย
2.2     ด้านทัศนคติ จำนวน    8  ข้อใหญ่   11   ข้อย่อย
ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราสัดส่วนประมาณค่า  5  ระดับ คือ
5        หมายถึง       เห็นด้วยมากที่สุด
4        หมายถึง       เห็นด้วยมาก
3        หมายถึง       เห็นด้วยปานกลาง
2        หมายถึง       เห็นด้วยน้อย
1        หมายถึง       เห็นด้วยน้อยที่สุด
ในการคำนวณหาค่าเฉลี่ยของคะแนน  เพื่อทราบระดับความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้  โดยกำหนดค่าเฉลี่ยสำหรับแปลความหมาย  ดังนี้
1.00 – 1.49    หมายถึง   มีความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ก่อน / หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมากที่สุด
1.50 – 2.49    หมายถึง   มีความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ก่อน / หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมาก
2.50 – 3.49    หมายถึง   มีความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ก่อน / หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลปานกลาง
3.50 – 4.49    หมายถึง   มีความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ก่อน / หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลน้อย
4.50 – 5.00    หมายถึง   มีความรู้และทัศนคติในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ก่อน / หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลน้อยที่สุด
2.   เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย  คือ กลวิธีในการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล   ซึ่งประกอบด้วย 4  ส่วน  ดังนี้
2.1     เสริมสร้างความพร้อมของบุคลากร
2.2     คู่มือการใช้กระบวนการพยาบาลสำหรับพยาบาล 
2.3     การนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ 
2.4      แบบประเมินการเขียนบันทึกทางการพยาบาล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
1.ขออนุญาตผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองจิก ในการทำวิจัย และขออนุญาตเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองจิก
2.ขอความร่วมมือพยาบาลในตึกผู้ป่วยใน  ในการตอบแบบสอบถาม
3.นำแบบสอบถามให้พยาบาลทั้งหมด14 คน โดยตอบแบบสอบถามก่อนและหลังการพัฒนาบันทึกทางการพยาบาล
4.รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1.ข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคล  นำมาแจกแจงความถี่  และคำนวณหาค่าร้อยละ
2.ทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล   ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ใช้สถิติค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.การเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาลก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  โดยการทดสอบค่าที   ( dependent  t – test )
ผลการศึกษา 
1พยาบาลทั้งหมด 14 คน เป็นพยาบาลที่มีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ28.57 และพยาบาลที่มีอายุอยู่ในช่วง 31-60 ปี จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 71.43 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี 12 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ระดับปริญญาโท 2 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลในช่วง 2- 10 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ  42.86  มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล 11- 20 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 42.86 และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล 21-30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29 
2.ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง คือ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00- 3.79 และความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.30
3. ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก  จำนวน 17 ข้อ ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คือมีจำนวน 14 ข้อ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 - 4.14  และพบว่าทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 3 ข้อ คือ ข้อมี่ 1 ไม่ชอบการใช้กระบวนการพยาบาลในการนำมาเขียนบันทึกทางการพยาบาลขั้นตอนการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.00  ข้อมี่ 4  รู้สึกว่าการเขียนบันทึกทางการ พยาบาลโดยการนำกระบวนการมาใช้ มีรูปแบบที่ชัดเจน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.93 และข้อ 5 รู้สึกว่าการเขียนบันทึกทางการพยาบาลโดยการนำกระบวนการมาใช้มีความ  กะทัดรัด / อ่านเข้าใจง่าย / มีความต่อเนื่องของปัญหา / การรักษาพยาบาล รวมถึงการแก้ปัญหาในแต่ละเวร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 และทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมอยู่ในระดับ น้อย มีค่าเฉลี่ย 3.71
4. ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก จำนวน 15 ข้อ ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือมีจำนวน 12 ข้อ มีค่าเฉลี่ย 1.86 – 2.36 และ 3.93 – 4.50 ( ในข้อคำถามเชิงบวก ) และพบว่าความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ข้อ คือ ข้อ 1 มีปัญหาในการนำกระบวน        การพยาบาลมาใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 และข้อ 2.1.1 ขาดความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลในขั้นตอนการประเมินภาวะสุขภาพ มีค่าเฉลี่ย 2.50 และพบว่าความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล  โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ คือ การเขียนบันทึกทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย ถ้ามีคดีฟ้องร้องเกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.50 และความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.15 และ 4.31 
5 ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก จำนวน 17 ข้อ ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือมีจำนวน 9 ข้อ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.79 –2.29 และ 3.71 – 4.07 ( ในข้อคำถามเชิงบวก) และพบว่า        ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 8 ข้อ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 – 3.00  และทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.40 และ 3.89 ( ในข้อคำถามเชิงบวก )
6 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ทั้งหมด 15 ข้อ พบว่าความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ ซึ่งหมายความว่า ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ทั้ง 15 ข้อ อยู่ในระดับมากกว่า ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล
7     เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึก ทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ทั้งหมด 17 ข้อ พบว่า ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ ซึ่งหมายความว่า ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก ทั้ง 17 ข้อ อยู่ในระดับมากกว่า ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล
การอภิปรายผล    จากการศึกษาทัศนคติและความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนและหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก มีประเด็นสำคัญที่จะนำมาอภิปรายดังนี้
1. ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาล   ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลหลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ข้อ 1 มีปัญหาในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ข้อ 2.2.1 ขาดความรู้ในการใช้กระบวนการพยาบาลในขั้นตอนการประเมินสุขภาพ ทั้งนี้อาจเกิดจาก  ปัญหาและอุปสรรคในการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล จากการศึกษาพบปัญหาคือ มีการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้น้อย ( ดวงใจ รัตนธัญญา ,2533 ) ใช้ได้ไม่ครบทุกขั้นตอน ( ดวงตา วัฒนะเสน , 2541 ) อุปสรรคด้านบุคลากร ที่ยังขาดความรู้ และทักษะในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ทุกขั้นตอน และมีทัศนคติในทางลบในขั้นตอนการประเมิน        ผู้รับบริการ ขาดทักษะในการสัมภาษณ์ พยาบาลระดับปฏิบัติการไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของการพยาบาลมาใช้ ( สุภา สุทัศนะจินดา , 2535. อ้างถึงใน ดวงเดือน ไชยน้อย ,2544 : 24 ) ดังที่        นิษฐิดา ลีนะชุนางกูร( 2529 ) ศึกษาวิเคราะห์การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ    การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลราชวิถี ผลการวิจัยสรุปว่า การใช้กระบวนการอยู่ในระดับ       ปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล พบว่ามีขั้นปฏิบัติการพยาบาลสูงสุด และใช้ขั้นประเมินปัญหาของผู้ป่วยต่ำสุด  และจากการศึกษาของดวงตา วัฒนะเสน ( 2541 ) พบว่าปัญหาการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะการอบรมที่ได้รับเป็นความรู้  พื้นฐานของกระบวนการพยาบาล ไม่ได้เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังในขั้นตอนที่สำคัญ เช่นการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เป็นต้น การจัดอัตรากำลังของพยาบาลวิชาชีพไม่เหมาะสมกับ    ผู้รับบริการ และไม่ได้สัดส่วนกับบุคลากรในแต่ละเวร หรือบางแห่งไม่มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ช.ม.  อาจเป็นสาเหตุให้การนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลขาดความต่อเนื่องหรือไม่ครบขั้นตอน   ( อวยพร ตันมุขยกูล และบุญทิพย์ สิริธรังศรี ,2537 ) และจากการศึกษาของ   สุภา สุทัศนะจินดา  ( 2535 ) พบว่าปัญหาและอุปสรรคของการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้   เนื่องจากแบบประเมินใช้เวลามาก ข้อความซ้ำซาก และการศึกษาของ ดวงตา วัฒนะเสน  ( 2541 ) พบว่าการบันทึกในการประเมินปัญหา มีความซ้ำซ้อนกับแบบบันทึกทางการพยาบาล และมีรายละเอียดมากเกินไป ต้องใช้เวลาในการบันทึก  ทำให้การปฏิบัติการพยาบาลกับ  ผู้ป่วยถูกละเลย เป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนพยาบาลมาใช้ให้ครบทุกขั้นตอน
2. ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล   ก่อนพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อต่อการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล มีจำนวน 14 ข้อใน 17 ข้อ คือ  ข้อ 1 ไม่ชอบการใช้กระบวนการพยาบาลในการนำมาเขียนบันทึกทางการพยาบาลขั้นตอนการประเมินสุขภาพ  การวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล อาจเกิดจากขาดทักษะในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในทุกขั้นตอน และมีทัศนคติในทางลบในขั้นตอนการประเมินผู้รับบริการ การวินิจฉัยการพยาบาล และการวางแผนการพยาบาล ( ดวงตา วัฒนะเสน ,2541 ) และพยาบาลมีความสามารถในการระบุข้อวินิจฉัยอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องการวินิจฉัยทางการพยาบาลมาใช้ และขาดทักษะในการสัมภาษณ์ พยาบาลระดับปฏิบัติการไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของการพยาบาลมาใช้ ไม่เห็นด้วยที่ต้องเขียนแผนการพยาบาล คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงานด้วยการเขียน และมีทัศนคติว่า กระบวนการพยาบาลเป็นสิ่งที่ฝึกหัดหรือปฏิบัติจริงเฉพาะสถานศึกษาเท่านั้น  ( สุภา สุทัศนะจินดา , 2535. อ้างถึงใน        ดวงเดือน ไชยน้อย ,2544 : 24 )  ข้อ 2 รู้สึกเป็นการเสียเวลาในการเขียน ซึ่งขณะเดียวกันเวลาที่เสียไปนั้นสามารถนำไปปฏิบัติการพยาบาลอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง  ข้อ 3 รู้สึกว่าจำนวนผู้ป่วย / ระดับ    ผู้ป่วย ซึ่งต้องดูแลแตกต่างกัน / อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ รวมถึงระยะเวลาที่มีอยู่ในแต้ละเวรเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลโดยที่ต้องนำกระบวนการพยาบาลมาใช้       ข้อ  6  รู้สึกไม่ดีต่อการเขียนบันทึกทางการพยาบาลจากเหตุผล นึกรูปแบบในการเขียนไม่ออก / เริ่มต้นไม่ถูกต้อง  , ผู้ป่วยมีหลายโรค ,ใช้เวลาในการเขียนนาน / น่าเบื่อ เจ้าหน้าที่แต่ละคนต่างเขียนกันคนละรูปแบบไม่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ , ช่วงแรกมักลืมข้อมูลสนับสนุน / ระดับผู้ป่วย ไม่มีมาตรฐานรูปแบบที่แน่นอน ข้อ 7 รู้สึกว่าการเขียนบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยน้อยมาก   ข้อ 8 รู้สึกว่าการเขียนบันทึกทางการพยาบาลในผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้ป่วยอาการคงเดิมเป็นการทำงานซ้ำซ้อน  ทัศนคติที่ไม่ดีอาจเกิดจากปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล  จากการ  ศึกษาของ ฮิลด์และเฟอร์กูสัน ( Hildman & Ferguson ,1992 ) พบว่าพยาบาลมีทัศนคติต่อกระบวนการพยาบาลในทางบวก แต่มีทัศนคติต่อการเขียนแผนการพยาบาลในทางลบ การจัดอัตรากำลังไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้รับบริการ / ภาระงาน ทำให้เป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัยต่อการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ปฏิบัติการพยาบาลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยหลักแต่    เจ้าหน้าที่น้อยไม่ได้สัดส่วนกัน ทำให้ไม่มีเวลาในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล  ( สุภา สุทัศนะ-จินดา , 2535. อ้างถึงใน ดวงเดือน ไชยน้อย ,2544 : 24 - 25 ) ส่งผลให้เกิดทัศนคติในทางลบ  นอกจากนี้พบว่า  แบบบันทึกทางการพยาบาลของแต่ละแผนกมีหลายรูปแบบ และมีความซ้ำซ้อน           ( Bartos & knight , 1987 ) และจากการศึกษาของสุภา สุทัศนจินดา ( 2535 ) พบว่าระบบการบันทึกมีความซ้ำซ้อนกัน ใช้เวลาในการเขียนมากไป ขาดเครื่องมือหรือแบบฟอร์มในการรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน  และการเก็บแบบฟอร์มรวมกับแพทย์ทำให้พยาบาลไม่มีอิสระในการคิดวางแผนหรือใช้ประวัติผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และจากการศึกษาของ  ดวงตา  วัฒนะเสน ( 2541)    พบว่าถึงแม้จะมีการปรับปรุงแบบบันทึกทางการพยาบาลแล้ว แต่ยังขาดการศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ใช้จึงทำให้แบบบันทึกข้อมูล และปัญหาต่างๆ ในลักษณะการเขียนบรรยาย ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ขาดข้อมูลสนับสนุน และเขียนซ้ำกับเวรก่อนๆ ไม่มีการเขียนการวางแผนการพยาบาลไว้ จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย ( สายสมร พลเชื่อ , ศิริพันธ์  เวชสิทธ์ , และวนิดา   หาญคุณากุล , 2542 ) นอกจากนี้ หนังสือและเอกสาร คู่มือในการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลไม่เพียงพอ ( ดวงตา  วัฒนะเสน , 2541) ไม่มีคู่มือการเขียน           ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล  การวางแผนการพยาบาลไว้ประจำหอผู้ป่วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนแผนการพยาบาล  ( สุภา สุทัศนะจินดา , 2535. อ้างถึงใน ดวงเดือน ไชยน้อย ,2544 : 26 ) ย่อมส่งผลให้เกิดทัศนคติในทางลบต่อการใช้กระบวนการพยาบาล และการเขียนบันทึกทางการพยาบาล    ทัศนคติในการใช้กระบวนการพยาบาล   หลังพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลหนองจิก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือมีทัศนคติที่ดีต่อต่อการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล มีจำนวน 8 ข้อ  และอยู่ในระดับปานกลาง 9 ข้อ จะเห็นได้ว่าทัศนคติสามารถเปลี่ยนแปลงได้อันสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของ         สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ และประสบการณ์ การพัฒนาความรู้ได้              
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้  และโอกาสในการพัฒนาในระยะต่อไป
1.1 หน่วยงานควรมีการประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาลในแต่ละขั้นตอน การเขียนบันทึกทางการพยาบาล  พร้อมทั้งฝึกทักษะปฏิบัติจริงให้แก่พยาบาลเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้  และส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นการพัฒนาตนเองของพยาบาล พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและการเขียนบันทึกทางการพยาบาลอีกด้วย
1.2 มีระบบการตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาลโดยการใช้กระบวนการพยาบาลในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมในองค์กร
1.3 มีการพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลเพื่อนำไปสู่การยอมรับของสหสาขาวีชาชีพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยได้ต่อเนื่องและครบองค์รวม
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป
ควรมีการศึกษาและพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลเพื่อการสื่อสารในทีมสหวิชาชีพ ให้มากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึก
หมายเลขบันทึก: 313890เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (58)

อ่านเรื่องการวิจัย........บันทึกทางการพยาบาลแล้วสนใจมากค่ะอยากได้การวิจัยฉบับเต็ม/แบบสอบถามไปใช้กับที่โรงพยาบาลบ้างค่ะแต่จะทำเป็น minireserch ค่ะ..............ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วยอดเยี่ยมในเรื่องของงานวิจัยถ้าเป็นไปได้ขอฉบับเต็มเพื่อนำมาเผยแพร่ในองค์กรพยาบาลโรงพยาบาลแหลมสิงห์

จังหวัดนันทบุรี เบอร์ติดต่อกลับ 089 831 3463 ขอบคุณค่ะ

ขอเป็น เบอร์ Mail ดีกว่าคะ ทั้งของคุณมังคุด และคุณ ลมัย

แล้วจะจัดส่งให้ ด้วยความยินดียิ่ง

ความจริงมันเป็นวิจัยเก่าแล้วคะ น่าจะประมาณ ปี 48 หรือ 49

หลายปีที่ผ่านมา เรายังพยายามเดินไปข้างหน้า แต่ดูเหมือนว่า มันไปไม่ถึงไหนเลย

มีการพัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ในเชิงปริมาณ และคุณภาพ มาหลายหลาย

อีกทั้ง การบันทึกเพื่อการสื่อสารในทีมสหวิชาชีพ มีกลยุทธมากมาย

เดินหน้าถอยหลังจนเหนื่อยพอสมควร

ปีนี้ จะลองนำมาปัดฝุ่น แล้ว ทำ เป็น CQI วงล้อที่ 3 หรือ 4 แล้วลองทบทวน

ส่งประกวด เป็น Best Practice ( พูดจริงแต่อาจทำไม่จริง ) อันนี้ต้องดูเวลา

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลมากค่ะ อยากได้ฉบับเต็ม ส่งมาทาง mail ได้ใหมค๊ะ

หลังจากได้อ่านแล้วน่าสนใจมาก แม้ว่างานวิจัยนี้จะผ่านมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังมีคุณค่า ถ้าหากไม่เป็นการรบกวนมากนักรพ.ของเราขอความกรุณาส่งงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อนำมาเผยแพร่ในหน่วยงานโรงพยาบาลแหลมสิ่งห์ จ.จันทบุรี ( WARD ) ส่งมาได้ที่ e-mail ( [email protected] ) ขอบคุณมากค่ะ

กำลังเรียน ป.โท ค่ะ สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลมากค่ะ อยากได้ฉบับเต็ม ส่งมาทาง mail ( [email protected]) ได้ไหมค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อัญชนา บุญนิธิพันธุ์

น่าสนใจมากค่ะเรื่องบันทึกการพยาบาล...เพราะที่รพ.ก็พัฒนามาเรื่อยๆ อยากได้ฉบับเต็มค่ะ...เพื่อมาเป็นแนวในการปรับใช้รบกวนส่งให้ทาง mail จะขอบคุณมากค่ะ ( [email protected]) รพ.แพร่ค่ะ

แสงเดือน เทพรักษ์

มีความสนใจงานวิจัยบันทึกทางการพยาบาล โรงพยาบาลกำลังพยายามจะพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาล อยากได้ฉบับเต็มคะ รบกวนอาจารย์ส่งให้ทาง mail ขอขอบพระคุณคะ ([email protected]) รพ นครนายกคะ

ที่ ร.พ.กำลังพัฒนาเรื่องบันทึกมางการพยาบาลอยู่พอดี อ่านแล้วสนใจมากอยากได้ฉบับเต็มเหมือนกันค่ะ รบกวนอาจารย์ส่งให้ทาง mail ([email protected]) ร.พ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ขอขอบพระคุณคะ

หลังจากได้อ่านแล้วน่าสนใจมาก ถ้าหากไม่เป็นการรบกวนทางรพ บางปะหันขอความกรุณาส่งงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อนำมาเผยแพร่ในหน่วยงานโรงพยาบาล( WARD ) ส่งมาได้ที่ e-mail [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

น่าสนใจค่ะ อยากจะทำและพัฒนางาน อยากรบกวนส่งณุปแบบเต็มทางอีเมลล์หน่อยค่ะ เพื่อเผยแพร่ที่ดรงพยาบาลราษีไศล

 

อ่านแล้วน่าสนใจมาก อยากจะพัฒนาการบันทึกให้มีคุณภาพ และกำลังจะทำminireserch รบกวนส่งแบบเต็มและแบบสอบถามมาทางอีเมลล์ หน่อยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้า ค่ะ

สนใจมากค่ะ รบกวนของานวิจัยแบบเต็มฉบับและแบบสอบถามด้วยนะคะ เพื่อจะได้นำไปพัฒนาต่อ ขอบคุณมากค่ะ

ทุกMail ได้ถุกส่งวิจัยฉบับเต็มให้แล้วคะ

อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ อยากได้งานวิจัยฉบับเต็มและแบบสอบถาม เพื่อนำมาพัฒนางานในเรื่องกระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลปักธงชัย กรุณาส่งตาม mail นี้ได้ค่ะ [email protected] ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

รับผิดชอบงานบันทึกทางการพยาบาลค่ะ อยากได้งานวิจัฉบับเต็มค่ะ ส่งตาม mail ข้างบนนะคะ ขอบคุณค่ะ

รบกวนขอFullText ฉบับเต็มค่ะ ขอบคุณมาก Mail [email protected]

อ่านแล้ว น่าสนใจมาก อยากได้ Full paper และเครื่องมือ กำลังทำ r2r อยู่ รบกวนส่งตาม mail ข้างบน ขอบคุณมากค่ะ

ขอ Full paper  ด้วยคน  นะคะโปรดส่งมา ที่  [email protected]  ขอบพระคุณยิ่ง 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ อยากลองศึกษาในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล รบกวนด้วยคน ขออนุญาตดูเครื่องมือด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อ่านแล้วสนใจ อยากได้ฉบับเต็ม มาพัฒนาในโรงพยาบาลบ้าง

ช่วยส่งผ่าน e-mail ด้วยนะค่ะ ขอบคุณคะ

จะรีบจัดส่งไปให้นะคะ

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลมากค่ะ ต้องการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาในงานพยาบาลของโรงพยาบาล รบกวนช่วยส่งฉบับเต็ม ให้ด้วย จักขอบพระคุณมากค่ะ ส่งทาง E Mail: [email protected]

สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับทางบริหารการพยาบาลค่ะ

ได้จัดส่งฉบับเต็มมาให้ แล้ว แต่เฉพาะที่มีที่อยู่ของ MAil คะ

ที่เป็น IP ส่งไม่ได้ ไม่รู้เพราะอะไร ต้งอเป็น MAil ชื่อเต็ม คะ

ได้อ่านแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆค่ะ ดิฉันขอความกรุณาส่งงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อนำมาเผยแพร่ในหน่วยงาน(ward)ของโรงพยาบาล ส่งมาที่ [email protected]  ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ได้อ่านแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆค่ะ ดิฉันขอความกรุณาส่งงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อนำมาประกอบการทำวิทยานิพนธ์ ส่งมาที่ [email protected] ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอโทษค่ะข้อมูลด้านบนผิด

ได้อ่านแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆค่ะ ดิฉันขอความกรุณาส่งงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบวิทยานิพนธ์ ส่งมาที่ [email protected] ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เป็นเรื่องที่สนใจมากค่ะ เป็นปัญหาการบันทึกในแเผนกผู้ป่วยใน ทั้งปรับแบบฟอร์มเพื่อชักนำการบันทึก ทั้งส่งไปอบรม จัดถ่ายทอดในหน่วยงาน ก็ยังไม่ดีขึ้น และเป็นการวิจัยที่อยากทำมากแต่ไม่ค่อยมีความรู้ รบกวนส่งฉบับเต็ม และข้อแนะนำต่างๆให้ทาง mailด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ [email protected]
กรรณิกา มานะดี หัวหน้างานผู้ป่วยใน รพ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 45230

ความจริง ที่ รพ.หนองจิก ก็ยังแย่คะ ทำไปหลายเรื่องเหลือเกินแล้ว สุดท้าย เหมือนกับจะ กลับมาวนอยู่เดิม

ส่งวิจัยฉบับสมบรูณ์ ให้กับ Mail ท่ี่ส่งมา ทั้งหมดแล้วคะ

คงจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะทำให้ บันทึกทางการพยาบาลใน วิชาชีพพยาบาลเห็นทางสว่างบ้างนะคะ

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลอยู่ค่ะ ต้องการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนางานบันทึกของโรงพยาบาล รบกวนช่วยส่งฉบับเต็ม ให้ด้วยได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง รบกวนส่งมาทาง E Mail: [email protected]

วรมน เดชเมธาวีพงศ์

บันทึกทางการพยาบาลยังคงเป็นเรื่องที่พยาบาลต้องร่วมกันวิเคราะห์และหาโอกาสพัฒนา ปัจจุบันมีแนวคิดการทำFocus charting มาใช้แต่ยังต้องมีการศึกษาและปรับให้เหาะสมกับบริบทของตนเอง ขอรบกวนช่วยส่งวิจัยฉบับเต็มให้ที่ email: [email protected] ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลอยู่ค่ะ ต้องการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนางานบันทึกของแผนกวิสัญญี  รบกวนช่วยส่งฉบับเต็ม ให้ด้วยได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง รบกวนส่งมาทาง E Mail   :  [email protected]

น่าสนใจมากที่ร.พ.มีปัญหาเหมือนกันรบกวนส่งฉบับเต็มทางE.mail :[email protected]

 ส่งวิจัย ฉบับสมบรูณ์มาให้ตามเมล์ที่ส่งมาแล้ว ๔ ท่าน

หวังว่า คงจะก่อให้เกิดประโยชน์  บ้างสำหรับ  วิชาชีพของคนชุดสีขาว ความภูมิใจที่สุดที่ ได้จากการตัดสินของแม่ 

[email protected]

  [email protected]

 [email protected] 

[email protected]


สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลอยู่ค่ะ ต้องการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนางานบันทึกของงานห้องคลอดและหลังคลอดคะ  รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มเพื่อศึกษาด้วยนะค่ะ  E-mail : [email protected]

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลอยู่ค่ะ ต้องการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนางานบันทึกของแผนกอุบัติเหตุ  รบกวนช่วยส่งฉบับเต็ม ให้ด้วยได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง รบกวนส่งมาทาง E Mail   :  [email protected]



 

เป็นวิจัยที่น่าสนใจมากค่ะ สนใจเรื่องบันทึกพยาบาลเพื่อนำมาพัฒนางานบันทึกพยาบาลของโรงพยาบาลพบพระจังหวัดตาก รบกวนส่งฉบับเต็มที่mail [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ส่ง เอกสาร วิจัย ฉบับ สมบรูณ์มาให้ ทั้ง ๔ ท่าน แล้ว คะ

[email protected]

[email protected]

[email protected]

<[email protected]>

หากลืมส่งของบางท่านทีขอมาทางEmail ต้องขอรบกวนส่ง เบอร์ Email มาทาง goto know อีกครั้งนะคะ เนื่องจากบางครั้ง พลาดไปบ้าง

สนใจเรื่องบันทึกทางการพยาบาลมาก ขอฉบับเต็มนะคะ เพื่อนำมาพัฒนาในโรงพยาบาล ขอบพระคุณอย่างยิ่ง Email :  [email protected]

 

นางพูนทรัพย์ พวงบุญ

สนใจเรื่องการบันทึกทางการพยาบาลมากค่ะ อยากได้ ฉบับเต็ม ขอบคุณค่ะ [email protected]

อยากได้ฉบับเต็มนำมาทำวิจัยใน รพ.บ้างค่ะ

ขอฉบับเต็มด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สุมิตรา แป้นคุ้มญาติ

รบกวนขอฉบับเต็มค่ะ กำลังเรียนปโทค่ะ ขอเอาไปทำอ้างอิง ในการทำรายงานค่ะ

ขอบคุณค่ะ

รบกวนขอฉบับเต็มได้ไหมคะ

รบกวนขอฉบับเต็มได้ไหมคะ [email protected]

ส่งวิจัยฉบับเต็มให้แล้วคะ เฉพาะที่มีเบอร์อีเมลล์ นะคะ 

ชนม์พรรษ์ ลิปิกรโกศล

รบกวนขอวิจัยฉบับเต็มด้วยคะ ขอบคุณคะ [email protected]

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มและแบบสอบถามด้วยนะคะ

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มและแบบสอบถามด้วยนะคะ

[email protected] ขอบุณค่ะ

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มด้วยค่ะ และอบบสอบถามด้วยค่ะขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ


จันทิรา เทพสุวรรณ [email protected]

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มด้วยค่ะ และแบบสอบถามด้วยค่ะขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากค่ะ รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มพร้อมกับแบบสอบถามด้วยคนน่ะค่ะ เพื่อจะได้นำมาพัฒนาในหน่วยงานได้บ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ

[email protected]

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มและแบบสอบถามด้วยนะคะ
-ขอบคุณมากเลยค่ะ

รบกวนของานวิจัยฉบับเต็มและแบบสอบถามด้วยนะคะ

-ขอบคุณมากเลยค่ะ

[email protected]

คุณ ปุ๋ย

ดิฉัน ได้ส่งข้อมูลวิจัยให้แล้วนะตะ

[email protected]

ดิฉัน ได้ส่งข้อมูลวิจัยให้แล้วนะตะ. ตามเมลล์ นี้

[email protected]


[email protected]


[email protected] 


[email protected]




พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท