ระบบสุขภาพแห่งชาติ บทบาทหน้าที่ในอนาคต (ที่ควรจะเป็น) ตอนที่ 2


เพื่อให้การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่และโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ควรจัดตั้ง “สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลง กระทรวงสาธารณสุข” ขึ้นเป็นองค์กรในกำกับกระทรวงสาธารณสุข

     ต่อจากตอนที่ 1 ก็จะกล่าวในประเด็นต่อมา ซึ่งเป็นข้อเสนอทิศทางการปรับเปลี่ยนสภาพสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐและการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยที่การปรับเปลี่ยนฯ ควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 9 ประการ ดังนี้ 
          1)  ประชาชนต้องได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่น้อยลง 
          2) มีความสอด! คล้องกับการปฏิรูปด้านต่าง ๆ 
          3) รัฐต้องมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาสถานบ ริการสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนสถานะในระยะยาว 
          4) การปรับเปลี่ยนสถานะของสถานบริการสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อการปฏิบัติภารกิจแห่งรัฐ  ไม่ใช่จัดภารกิจตามใจชอบของแต่ละสถานบริการฯ 
          5) ต้องมีความยืดหยุ่นด้านงบประมาณให้เหมาะสมกับวิวัฒนาการ ภูมิหลังและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน 
          6) ต้องมีทางเลือกให้กับข้าราชการเดิมที่ยังประสงค์เป็นข้าราชการเช่นเดิม หากไม่ประสงค์ปรับไปสู่สถานะใหม่ 
          7) ควรสร้างรูปแบบการบริหารแบบใหม่ที่เปิดให้มีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคม 
          8) ควรมีความหลากหลายของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลต่างระดับ
          9) ประสิทธิภาพ คุณภาพและความเป็นธรรมของระบบต้องดีขึ้น

    นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเพื่อให้การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่และโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ควรจัดตั้ง “สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลง กระทรวงสาธารณสุข” ขึ้นเป็นองค์กรในกำกับกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการออกพระราชกฤษฎีกาหรือระเบียบรองรับในรูปของกลไกถาวรที่ทำงานต่อเนื่อง 5-10 ปี มีคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบจากหลายฝ่าย ร่วมกันดูแลทิศทางการดำเนินงาน มีหน้าที่จัดทำข้อเสนอแผนและขั้นตอนการปรับเปลี่ยน สนับสนุนให้มีการทำงานทางวิชาการที่เพียงพอ สร้างความร่วมมือและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล

     ผมหยิบเรื่องนี้มา ลปรร.กัน ณ เวทีแห่งนี้ดูครับ หากสนใจรายงานวิจัยฉบับเต็มก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยครับ (แต่ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนนะครับที่ web สวรส.) รายงานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการโดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ และคณะ (2549) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนในการวิจัยจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

หมายเลขบันทึก: 31373เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท