ตามรอย reticulocyte....วันนำเสนอโครงการ Patho Otop2


การจัดสรรเวลาและการวางแผนดำเนินงานเป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนให้งานคืบหน้า

         เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมาทีมงานได้มีโอกาสนำเสนอโครงการพัฒนางาน Patho Otop2 เรื่อง "ตามรอย reticulocyte" เสนอตามหัวข้อที่คณะทำงาน Patho Otop กำหนด สถานที่นำเสนอในครั้งนี้เหมาะสมเป็นอย่างมาก(M103)  ตาคิดว่าคณะทำงาน Patho Otop2 คงให้พวกเรา...เรา...ๆๆ(อาจจะเป็นตาคนเดียวก็ได้น๊ะ) ชินกับเวที แต่ยังไง๊...ยังไง ก็ยังตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้รู้สึกว่าดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาและในระหว่างที่รอนำเสนอก็รู้สึกอบอุ่นบรรยากาศเต็มไปด้วยความเป็นกันเองรู้สึกดีมากจริงๆ ค่ะ 

        การนำเสนอในครั้งนี้ทีมงานมีเวลาเตรียมตัวน้อยมากเนื่องจากพึ่งสมัครเข้าโครงการฉะนั้นการจัดสรรเวลาในการดำเนินงานรวมทั้งการวางแผนดำเนินงานเป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนให้งานคืบหน้า สำหรับตนเองในฐานะที่เป็นหัวหน้าทีมได้วางแผนการดำเนินงานออกเป็น 4 หมวด และได้ดำเนินงานไปพร้อมๆ กันดังนี้

    หมวดที่ 1 เป็นหน้างานหลัก

      -มีการรวมกลุ่มปรึกษาวางแผนการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA ที่ให้ผลสอดคล้องกับระบบบ ISO 15189 โดยเริ่มตั้งแต่  Pre analytical process คือ การเลือกวิธีที่จะทำการทดสอบ ทีมงานได้นำวิธีใหม่ที่ 37 องศา 15 นาที ซึ่งเป็นวิธีเทียบเท่าวิธีมาตรฐานมาทำการทดสอบเนื่องจากคุณภาพสเมียร์ reticulocyte ดีกว่าวิธีมาตรฐาน(26 องศา 30 นาที) ทำให้เก็บสเมียร์ reticulocyte ได้นานกว่า , มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีทั้งค่าตำ ค่ากลาง และค่าสูงมาทำการทดสอบ และในขั้นตอน Analytical process ทีมงานได้นำตัวอย่างเลือดในแต่ละรายมาทำการทดสอบเปรียบเทียบถึง 4 ครั้ง ในเวลา 48 ชั่วโมง ทีมงานขอเรียนอีกครั้งว่า ในการทดสอบที่ 24 และ 48 ชั่วโมงทีมงานได้จัดเก็บตัวอย่างเลือดไว้ในตู้เย็นที่ 4 องศา ซึ่งทีมงานได้ยึดแนวทางการปฏิบัติงานจริงภายในหน่วยงาน คือ คิดว่าการเก็บในตู้เย็นที่ 4 องศา คงรักษาสภาพตัวอย่างตรวจได้ดีกว่าที่อุณหภูมิห้อง และเพื่อนำตัวอย่างเลือดที่แพทย์ได้สั่งทำการทดสอบ reticulocyte count พร้อมกับ CBC และส่งตรวจที่ ER Lab เท่านั้นมาทำการทดสอบในวันรุ่งขึ้นที่หน่วยโลหิวิทยา และในขั้นตอน Post analytical process ทีมงานได้นำผลการนับค่าร้อยละ reticulocyte มาเทียบดูซึ่งเป็นการทบทวนดูผลหลังการดำเนินงาน(AAR :หรือเปล่าไม่มั่นใจ) จนได้วิธีปรับการนับค่าร้อยละ reticulocyte ให้ไปด้วยกัน

        หมวดที่ 2 เขียนรายงาน

        หมวดที่ 3 จัดทำ Power Point

        หมวดที่ 4 เล่าเรื่องผ่านบล็อก

       

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31339เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อย่างนี้เขาเรียกว่ามืออาชีพเลยค่ะ ขอชื่นชมมากและเป็นกำลังใจให้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท