วิธีลดการเล่นเกมของบุตร, วิธีการให้พระเรียน ม.ปลาย


ภัยคุกคามบนอินเตอร์เน็ตใดน่ากลัวที่สุด, หสม.อ.ผักไห่ “งามหน้า”, มติมหาเถรสมาคมเรื่องการให้พระเรียน ม.ปลาย

9 - 13  พฤศจิกายน  2552

 

         - สัปดาห์นี้ ขอนำการทำกิจกรรมท้ายบทในการอบรมทางไกล ( e-Training ) กับสถาบัน กศน.ภาคกลาง หลักสูตร “เรียนรู้เข้าใจทันภัยอินเตอร์เน็ต” มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่อบรมหลักสูตรเดียวกันหรือผู้สนใจทั่วไป ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วอีก 1 บท คือ บทที่ 4 เรื่องภัยแฝงอินเตอร์เน็ต   ดังนี้

         4.1  วิธีการลดหรือเลิกการเล่นเกมของบุตรหลาน

              1. ค่อย ๆ ชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของการเล่นเกม และผลกระทบจากการที่เล่นเกมมากเกินไป

            2. ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ส่วนรวมของบ้าน, ไม่ซื้อหนังสือเกมหรือแผ่นเกมพร่ำเพื่อ ไม่ให้เงินบุตรหลานใช้จ่ายมากเกินไป

            3. ตั้งกฎกติกาการเล่นเกม โดยพูดคุยให้เหตุผลว่าทำไมต้องมีกติกา และตั้งกฎกติกาที่ชัดเจนเป็นไปได้  ตั้งจากการหารือกันทั้งผู้ปกครองและบุตรหลาน

            4. ดูแลให้บุตรหลานทำตามกติกาที่กำหนดไว้ ให้รางวัลเมื่อบุตรหลานทำตามกฎกติกา

            5. จัดกิจกรรมทางเลือกให้บุตรหลาน เช่น ดนตรี กีฬา  จัดเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

         4.2  ความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสและติดสปายแวร์

              - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส อาจทำงานช้าลง มีข้อมูลถูกลบหรือเปลี่ยนแปลง อาจทำให้แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติ เครื่องบูทตัวเองโดยไม่ได้สั่ง

            - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดสปายแวร์ อาจแสดงหน้าจอของเว็บไซต์บางประเภทโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้เรียก เช่น เว็บลามก เว็บขายสินค้า เว็บการพนัน ฯลฯ   มีการแอบเก็บข้อมูลบางอย่าง เช่น เว็บไซต์ที่ผู้ใช้เคยเข้าใช้ รหัสผ่าน ข้อมูลส่วนตัว ฯลฯ ส่งไปให้เจ้าของโปรแกรมสปายแวร์ โดยไม่ได้สร้างปัญหาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก

         4.3  ภัยคุกคามบนอินเตอร์เน็ตใดน่ากลัวที่สุด เพราะเหตุใด

              ผมคิดว่า ภัยคุกคามบนอินเตอร์เน็ตที่น่ากลัวที่สุด ก็คือไวรัสคอมพิวเตอร์นี่แหละครับ เพราะสามารถแพร่กระจายไปทั่ว ไม่เลือกเจาะจงรายใหญ่หรือรายเล็กรายน้อย และทำให้ทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์เสียหายได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงเสียหายหนักมาก

            ถ้าเป็นการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต ก็เป็นการกระทำกับเพียงบางคน และถ้ามีสติปัญญาก็ไม่ถูกล่อลวง  พวกแฮ็กเกอร์ก็เลือกแฮกเฉพาะบางระบบ ไม่ได้แฮกทั่วไป  พวกสปายแวร์ก็ไม่ได้สร้างความเสียหายอะไรมากนัก

 

         - เนื่องจาก สพร. แจ้งในเว็บบอร์ด สพร. ว่า ห้องสมุดประชาชนอำเภอผักไห่ เป็นแห่งเดียวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ยังไม่ update ฐานข้อมูลห้องสมุดประชาชน   จึงถามเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ได้รับคำตอบว่า ได้บันทึกข้อมูล 2-3 ครั้งแล้ว   ข้าพเจ้าจึงลองช่วยกันบันทึกข้อมูล พบว่าปัญหาอาจเกิดจากไฟล์ภาพใหญ่เกิน 400 x 300 Pixel จึง update ไม่สำเร็จ  โดยเจ้าหน้าที่ห้องสมุดก็ไม่รู้ว่า update ไม่สำเร็จ
            วันที่ 13 พ.ย. 52 ได้ติดต่อประสานงานให้กรรมสถานศึกษา กศน.อ.ผักไห่ มาประชุมในวันจันทร์ที่ 16 พ.ย.52 เวลา 13:30 น.

 

         - สัปดาห์นี้ มีผู้ถามคำถามที่บางคนอาจสนใจ  จึงขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้
            1)  นิภาพร จาก กศน.อ.ลาดบัวหลวง ถามว่ามีผู้เรียนไม่จบในระบบ แต่เป็นหลักสูตรเก่าก่อนหลักสูตรปี 2544 ( ไม่รู้ว่าเป็นหลักสูตรปีใด ) มาสมัครเรียน  จะเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร กศน.ปี 2551 อย่างไร    ตอบว่า ปกติในใบ รบ.จะบอกว่าเป็นหลักสูตรปีใด   การเทียบโอนเป็นอำนาจของสถานศึกษา  มีหลักการที่สำคัญคือ ถ้าเนื้อหารายวิชาใดตรงกัน 60 % ขึ้นไป ก็เทียบโอนได้ ไม่ว่าจะเป็นจากหลักสูตรใด ๆ ก็ตาม   แต่ปัญหาคือ เรารู้แต่เนื้อหาของรายวิชาเรา ไม่รู้เนื้อหาของรายวิชาเขา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รายวิชาใดตรงกับรายวิชาของเราถึง 60 %   ถ้าจะให้ดีก็หาเอกสารคำอธิบายรายวิชาของเขามาดู

            2)  อ.ภาสกร จาก กศน.อ.นครหลวง  ถามว่า มีนักศึกษาหลักสูตรเก่า รหัสปี 46 กลับมาเรียนต่อ แต่จะต้องเรียนหลักสูตรเก่าอีก 1 ปี จึงจะจบ  จะมีปัญหาอะไรหรือไม่    ตอบว่า ไม่มีปัญหา เพราะขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดว่าจะให้ยกเลิกหลักสูตรเก่าเมื่อใด  ยังเรียนหลักสูตรเก่าต่อได้อีกไม่น้อยกว่า 2 ปี

            3)  ผอ. กศน.อ.วังน้อย ถามว่า พระภิกษุเรียนม.ปลาย ได้หรือไม่    ตอบว่า ตามหนังสือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 0210.04/5438 ลงวันที่ 26 ก.ย.48  กำหนดว่า  พระภิกษุสามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกวิธีเรียน ให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งพิเศษ 2/2540 ทั้ง 3 ข้อ อย่างเคร่งครัด เช่นเรียนโดยไม่รวมกับคฤหัสถ์

 


หมายเลขบันทึก: 313302เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท