งานวิจัย เรื่องที่ 1


ชุมชนคนวิจัย

งานวิจัยเรื่อง   ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1                          

ผู้วิจัย            สุนทร   เพ็ชร์พราว

ปีที่วิจัย          2551                                                           

วัตถุประสงค์การวิจัย

      1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารงานของ  ผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต1                                

      2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนระหว่างครูชายกับครูหญิง                                             

     3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ระหว่างครูที่มีประสบการณ์การทำงาน มากกับครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อย                                                                                     

 วิธีดำเนินการวิจัย                                             

 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง   

     1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 จำนวน 1,479 คน จาก 99 โรงเรียน             

     2. กลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งมีขั้นตอนในการสุ่มดังนี้     

        2.1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยเปรียบเทียบจำนวนประชากรในข้อที่ 1 กับตารางขนาดประชากรและกลุ่มตัวอย่างของเครชซี่และมอร์แกน (Krejcie & morgan) ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนทั้งสิ้น 306 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling ) ได้ครูชาย 76 คน และครูหญิง 230 คน                 

        2.2 สุ่มตัวอย่างในแต่ละอำเภอของจังหวัดจันทบุรีอย่างเป็นสัดส่วน ระหว่างประชากรกับกลุ่มตัวอย่าง 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 ใน 4 ด้าน คือ

                                1.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ

                                1.2 ด้านการบริหารงบประมาณ

                                1.3 ด้านการบริหารงานบุคคล             

                                1.4 ด้านการบริหารงาน

     ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับ โดยกำหนดระดับความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 โดยให้คะแนนดังนี้

                                 พึงพอใจน้อยที่สุด               ได้   1  คะแนน

                                 พึงพอใจน้อย                      ได้  2  คะแนน

                                 พึงพอใจปานกลาง               ได้   3  คะแนน

                                 พึงพอใจมาก                      ได้   4  คะแนน

                                 พึงพอใจมากที่สุด                ได้  5  คะแนน

 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล                                 

     1. ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากหนังสือของ อุทุมพร จามรมาน วิเชียร  เกตุสิงห์ และจากเอกสารตำรา บทความเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating  Scale)           

     2.ศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างแบบสอบถาม     

     3. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์เสนอความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา                                                                                                             

    4. นำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนำเสนอคณะกรรมการควบคุมพิจารณาปรับปรุงเพื่อความสมบรูณ์และความถูกต้อง       

   5. นำแบบสอบถามที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงแล้วไปทดลองใช้กับครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 ที่มิใช่กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ จำนวน30 คน               

   6. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากการนำไปทดลองใช้ มาหาค่าอำนาจจำแนกด้วยการหาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยรายข้อกับค่าเฉลี่ยทั้งฉบับ ( Item-Total Correlation ) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .51-.80         

  7. นำแบบสอบถามไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับและรายด้านด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา   ( Coefficient Alpha ) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับ .97 และแต่ละด้านดังนี้

                - ค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงานวิชาการ    .92

                - ค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงบประมาณ     .80

                - ค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงานบุคลากร    .94

                - ค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงานทั่วไป        .97

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล           

     1. การวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ใช้ ค่าเฉลี่ย  และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD )                                

    2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนระหว่างครู ซึ่งมีเพศและประสบการณ์เท่านั้น โดยใช้การทดสอบค่าวิกฤติที (t-test)       

สรุปผลการวิจัย

     1. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 อยู่ในระดับมาก ซึ่งเรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไปและด้านการบริหารงบประมาณตามลำดับ                                                                                        

     2.ความพึงพอใจระหว่างครูชายกับครูหญิงที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 โดยรวมและด้านการบริหารงานวิชาการและด้านการบริหารงานทั่วไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูชายมีความพึงพอใจมากกว่าครูหญิง                                      

    3.ความพึงพอใจระหว่างครูที่มีประสบการณ์การทำงานมากกับครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อย ต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต1 โดยรวมและด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยมีความพึงพอใจมากกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานมาก

 

หมายเลขบันทึก: 312798เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2009 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่มาเยี่ยมชม

วีระยา ภูรุ่งเรือง

ขอความอนเคราะห์ต้วอย่างงานวิจัยเต็มรูปแบบเพราะกำลังเรียน ปใท ขอบตุณค่ะ

ลองค้นในเวปไซต์ ม.บูรพา นะคะ เพราะมีงานวิจัยเยอะมากๆๆ

มีรูปเล่มแต่เป็นเล่มที่ถ่ายเอกสารมาค่ะจากห้องสมุดม.บูรพาค่ะ

อยากได้วิจัยเต็มรูปแบบเพื่อนำไปอ้างอิงในการทำ ISค่ะ

อยากได้วิจัยเต็มรูปแบบเพื่อนำไปอ้างอิงในการทำ ISค่ะ

รบกวนหน่อยนะคะ เป็นหัวข้อที่ตรงกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท