น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย ยังไม่สายสำหรับการเริ่มต้นทำน้ำให้อุ่น


บทเรียนชีวิต : การก้าวย่างที่ไม่ประมาท

                    มักเคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า"น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" ซึ่งหลายคนพยายามที่จะอธิบายว่าเขาคิดสุภาษิตนี้มาเพื่ออธิบายอะไร 
                   มีผู้รู้บอกว่า "
น้ำร้อนหมายถึงคนที่ปากร้ายแต่จิตใจไม่ร้ายย่อมไม่เป็นพิษภัย ส่วนน้ำเย็นหมายถึงคนปากหวานหลอกให้คนหลงเชื่อง่าย ๆ ย่อมมีอันตรายได้" ฟังดูแล้วสุภาษิตนี้สอนให้รู้จักการเปรียบเทียบถึงอุปนิสัยของมนุษย์

                  ในสังคมไทย มักจะมีคนประเภทนี้อยู่มาก หมายถึงแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ซึ่งเราอาจไม่ชอบหน้า ไม่ชอบคำพูดจา ไม่ชอบการกระทำ เรามองผิวเผินแล้วบุคคลนี้ไม่อยากคบหาสมาคมด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามเมือเข้ามาคบหา เข้ามาเป็นเพื่อนเรียนรู้กัน เรารู้ว่าบุคคลนั้นต่างจากสิ่งที่เห็น เขาเป็นคนดี อยู่ในกรอบของศีลธรรม มีเสหน่และควรแก่การคบหา

                  ในทางตรงกันข้าม คนที่รูปสวย หล่อ สมาร์ท กริยาไพเราะ จำนรรจาเก่ง แสดงเป็นพ่อพระ แม่พระ นักบุญแต่ในใจช่างโหดร้ายและร้อยเล่ห์นัก ไม่ควรแก่การคบหา และพาเราไปสู่ความแตกแยกในองค์กรหรือสังคมส่วนรวม

                  มีเรื่องเล่าว่า ยมฑูตมารับวิญญานของนักบวชและคนขับแท็กซี่ที่เสียชีวิตและให้ไปอยู่ในแดนที่ตัวเองต้องไปรับกรรม จากผลของการกระทำ เมื่อสอบสวนคนขับแท็กชีแล้ว หลังจากแท็กชี่เล่าให้ฟังถึงผลกรรมที่ทำในโลกมนุษย์ ยมฑูตก็ส่งให้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้น 5 และให้รางวัลมากมาย  ส่วนนักบวช ก็กระหยิ่มใจ คิดว่าขนาดคนขับรถแท็กซี่ได้ไปอยู่ชั้น 5 ตัวเองคงจะได้อยู่ชั้นสูงกว่าและได้รางวัลมากกว่า เมื่อยมฑูตสอบถามประวัติแล้ว ก็สั่งให้อยู่สวรรค์ชั้น 1 และให้แค่ไม้กวาดด้ามเดียว  นักบวชเลยถามว่าทำไม ตัวเองได้ปฏิบัติตนอยู่ในสมณเพศ ปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ไฉนได้รางวัลน้อยกว่าคนขับแท็กซี่

                 ยมฑูตอธิบายว่า เจ้าเป็นนักบวช เวลาเทศนาคนหลับทุกครั้ง ไม่ได้ผลบุญหรอก  ผิดกับคนขับรถแท็กซี่ เวลาขับรถบนท้องถนน คนนั่งทุกคนยกมือสวดมนต์ทุกครั้งและเกือบทุกเที่ยว ผลบุญของเขาจึงได้ดีกว่าท่าน..

                น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย จึงไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น วันนี้เราอยากให้น้ำอุ่นๆ เพื่อให้ปลาอยู่ได้โดยไม่ประมาท หมั่นทำตัวให้ปกติ ทำจิตให้เป็นกลาง และแสดงตัวที่เป็นตัวของตัวเองออกมา ยึดกรอบของความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนรอบข้าง และยุติธรรมต่อการกระทำของตนเอง ยุติธรรมที่จะอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้อื่น เฉกเช่นยมฑูตควรจะใช้เหตุและผลมากขึ้น 

คำสำคัญ (Tags): #ผลบุญ
หมายเลขบันทึก: 312792เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2009 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.

  • ครูอ้อยมาเยี่ยมเยือนด้วยความเคารพรักเสมอค่ะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะ...ท่าน

ขอเป็นน้ำอุ่นและใสด้วยค่ะท่าน

ใจใสเท่านั้นพอค่ะ

เก่งจริง จริงจ๊า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท