ทำไมคนเราเมาค้างไม่เท่ากัน [EN]


เมื่อร่างกายได้รับแอลกอฮอล์, ตับจะหลั่งเอนไซม์ (น้ำย่อย) เพื่อทำลายแอลกอฮอล์ (alcohol dehydrogenase / AD) ทำให้เกิดสารอะเซทาลดีไฮด์ (acetaldehyde) ที่มีพิษน้อยลง และขับออกทางปัสสาวะ

การดื่มบ่อยมีส่วนกระตุ้นให้ตับสร้างเอนไซม์นี้มากขึ้น และทำลายแอลกอฮอล์ได้มากขึ้น ทำให้คนที่ดื่มบ่อยเมาช้าลง และมีแนวโน้มจะเมาค้าง (hangover) น้อยกว่าคนที่ดื่มนานๆ ครั้ง

...

อ.ดร.ราจีฟ จาลัน ผู้เชี่ยวชาญโรคตับ แพทย์ที่ปรึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน UK กล่าวว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เอนไซม์นี้มักจะมีปริมาณลดลง ทำให้ร่างกายจะทำลายแอลกอฮอล์ได้ช้าลง คนที่มีอายุมากขึ้นมักจะเมาเร็วขึ้น หรือเมาค้าง (hangover) มากขึ้น

อาการเมาค้างส่วนหนึ่งเกิดจากการทำลายเซลล์สมอง ทำให้สมองบวมขึ้น และแรงดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นชั่วคราว

...

คนสูงอายุและคนที่มีสมองฝ่อหรือเหี่ยว (เสื่อมสภาพ) เช่น คนที่ประวัติดมกาว ดื่มหนัก คนสูงอายุ ฯลฯ หลายๆ คนมีอาการปวดหัวเมาค้างลดลง

กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่สมองฝ่อหรือเหี่ยวมี "ที่ว่าง" สำรองในกะโหลกศีรษะมากขึ้น แม้สมองจะบวมบ้างก็ยังไม่ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ทำให้อาการปวดหัวเมาค้างลดลง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Medical miscellany: Why hangovers get worse with age' = "ปกิณกะ (เรื่องเบ็ดเตล็ด จิปาถะ) ทางการแพทย์: ทำไมอาการเมาค้างแย่ลงตามอายุ (ที่มากขึ้น)" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา 

@@ [ miscellany ] > [ มิส - เซอ - เล - หนี่ ] > noun = เรื่องเบ็ดเตล็ด ปกิณกะ จิปาถะ

@@ [ hangover ] > [ แฮ้ง - โอ - เหว่อ ] > noun = อาการเมาค้าง

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 11 พฤศจิกายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 312720เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2009 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์หมอ น่าจะอยู่ที่ปริมาณ กอฮอร์ นะท่าน

มีส่วนครับท่านอาจารย์ // ตำรา Physio. เล่มหนึ่งบอกว่า ฝรั่งมีแนวโน้มจะเมาช้ากว่าคนกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากมีเอนไซม์ทำลายแอลกอฮอล์ที่ผนังกระเพาะอาหารมากกว่า // คนแต่ละคนเมาเร็วช้าไม่เท่ากันครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท