Practicum in Singapore: ตลกร้าย (ปนเศร้า)


ไม่ปวดหรอก แต่ผมกลัวยาที่หมอให้มาเหลือเยอะเกินไป

    วันที่สองของ HCA hospice ได้ออกเยี่ยมบ้านร่วมกับ Dr.Richard yap และคุณพยาบาล ฉายา "mummy" เดาว่าเพราะความชำนาญมากประสบการณ์ ที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับหมอที่เริ่มงาน home hospice ได้อย่างดี เรียกว่า สบายใจได้ถ้ามี mummy ไปด้วย ช่วงเช้าระหว่างรอคุณพยาบาลเตรียมเคสนั้น คุณหมอ Richard ได้อธิบายถึงระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยแบบประคับประคองดังนี้

Hospital palliative : เป็นที่รับผู้ป่วย โดยหวังผลแก้ไข reversible course ของผู้ป่วย มักเป็น ผู้ป่วยมะเร็งที่ rapid detolerate กว่า expected trajectory of disease หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เกิด exacerbation.  ยกตัวอย่าง Department of Palliative Medicine ใน Singapore general hospital ซึ่งรับปรึกษาและทำงานร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ 

Inpatient hospice : รับดูแลแบบผู้ป่วยใน ที่เน้นการดูแล symptom คนมักเข้าใจผิดว่าเข้าไปใน hospice นั่นคือจุดจบ ซึ่งไม่จริงเสมอไป เมื่อ condition ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง inpatient hospice สามารถส่งผู้ป่วยเข้า hospital palliative  หรือ ส่งกลับบ้านรับ home care ได้แล้วแต่ความเหมาะสม 

Home hospice ก็คือ home visit นั่นเอง เป็นผู้ป่วยที่ประสงค์จะเสียชีวิตที่บ้าน หรือไม่ก็ condition และ family resource ดีเกินกว่าที่จะอยู่ใน inpatient hospice

Nursing home care: บ้านพักคนชราที่อยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองได้น้อย (frail)แล้ว บางทีก็ตั้งชิดกับ inpatient hospice เลย เช่นที่ St.Joseph อาจเป็นการช่วยให้สมาชิก nursing home ค่อยๆ ปรับใจให้เห็นสัจธรรม เมื่อถึงเวลาย้ายเข้าสู่ hospice

Day care : ทำให้คิดถึงสถานรับเลี้ยงเด็กยังไงยังงั้น แต่เป็นบริการสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่กับบ้านเฉยๆ  และยังมีสุขภาพค่อนข้างดี ให้มามีกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมกัน บริการนี้ไม่ฟรี เสียค่าเข้าร่วมกิจกรรมต่อครั้งนิดหน่อย

     รายประทับใจประจำวันนี้ ได้แก่ อากง S วินิจฉัย CA pancrease ที่แพร่กระจายไปปอดและสมอง ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการรับเคมีบำบัด ปัญหาก็คือ เมื่อโรงพยาบาลนัดไปติดตามอาการ แกมักจะอ้างติดโน่นติดนี่ เลื่อนนัดอยู่เรื่อยๆ
     เมื่อภรรยาของผู้ป่วย พาอากงออกจากห้องมาพบ.."ก็ปกติดี ไม่มีปัญหาอะไร" ขึ้นต้นมาก็เหมือนแกอยากจะปิดท้ายแล้ว ..อาการปวดมีบ้างไหม หมอ Richard ถาม "เล็กน้อยมาก" แกตอบ ..แล้วทำไมภรรยาคุณบอกว่าคุณกิน Codeine (30mg/tab) อย่างน้อยวันละ 3 เม็ดทุกวัน  mummy แย้ง "ไม่ปวดหรอก แต่ผมกลัวยาที่หมอให้มาเหลือเยอะเกินไป" แกตอบยิ้มๆ...คำตอบนี้เล่นเอาพวกเราไม่รู้จะหัวเราะหรืออึ้งดี..อากง รู้ถึงโรคที่เป็นไหมครับ หมอ Richard ชักไม่แน่ใจว่าคนไข้รู้ diagnosis หรือเปล่า "ไม่รู้..รู้แต่เป็นโรคที่ผ่าตัดไม่ได้อะไรนี่แหละ" อากงส่ายหัว...แล้วทราบถึงการรักษาที่รับอยู่ไหมครับ หมอ Richard กล่าวพร้อมมองไปที่ ศรีษะโล้นจากการรับเคมีบำบัดของผู้ป่วย "ก็เขานัดไป ก็ไป"..ที่โรงพยาบาล อากงทำอะไรบ้างครับ หมอ Richard ยังไม่ละความพยายามตะล่อมให้แกตระหนักถึงความจริง."นั่งรอกับภรรยา สามชั่วโมง 55" แกพูดก่อนหันไปหัวเราะกับภรรยา........
    ถึงตรงนี้ mummy จึงตัดบท พาผู้ป่วยแยกไปตรวจวัดความดันในอีกห้องหนึ่ง..ส่วนภรรยานั่งคุยกับหมอ Richard อีกห้องหนึ่ง... ตอนนี้อากงรู้สึกกับโรคที่เป็นยังไง...mummy ถาม...สิ่งที่ไม่คาดคิด ก็คือ อากงคนทียิ้มหัวเราะเมื่อสักครู่..เงียบ และมีน้ำตารื้นขึ้นมา..

    พวกเราจึงเข้าใจว่า ผู้ป่วยรู้และเข้าใจทุกอย่างเพียงแต่ "ไม่อยากคิดถึงมัน.".ทุกครั้งที่พบแพทย์ ทุกครั้งที่พูดถึงอาการ ล้วนทำให้แกเจ็บปวดมากขึ้น
     บางที การรับรู้ความจริงที่โหดร้ายอาจเป็นสิ่งยาก แต่การอยู่กับความจริง ยิ่งยากกว่า 
   

คำสำคัญ (Tags): #denial#palliative#้้hospice
หมายเลขบันทึก: 312515เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่อยากคิดถึงมัน

ผมคิดต่อ ว่า การที่เราชวนคุยเรื่องนี้ มันเป็นเสมือนกวนน้ำให้ขุ่นหรือไม่

โดยเฉพาะ การชวนคุยเพราะเราอยากรู้ ด้วยมุมมองของเรา แต่ไม่ได้ช่วยให้คนไข้มองเห็นทางออกจากการคุยกับเรา แต่วนเวียนเหมือนอยู่ในวังวน..น้ำขุ่น

ถ้าเราเปิดประเด็นเรื่องนี้ ก็ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องให้เขาสามารถมองเรื่องนี้ในมุมมองใหม่ เหมือนถ่ายตะกอนออกไปได้จากน้ำขุ่นๆได้บ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท