นกแอ่นกินรัง บันทึกหน้าที่ 12


วีรกรรมทำเพื่อเธอ ตอน 2

บ้นทึกหน้าที่ 12

แจกแจงหน้าที่ของพ่อแม่นกอีแอ่นว่า พวกเขาทำหน้าที่กันอย่างไรเมื่อต้องเลี้ยงลูก

สำหรับคนแล้ว พ่อบ้านบางคนอาจมีหน้าที่ทำงาน หาปัจจัยสี่ ห้า หก +7 ให้กับครอบครัว

(ปัจจัยสี่คืออาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ปัจจัยห้า คือเงินตรา ปัจจัยหกคือยานพาหนะ และปัจจัยเจ็ดคือตำแหน่งอันสูงส่งของเมียคือ.....)

สำหรับศรีภรรยา ในอดีตก็มีหน้าที่ดูแลทุกอย่างภายในบ้าน และปัจจุบันก็ต้องเพิ่มนอกบ้านด้วย ไม่ใช่แค่ทิ้งขยะเท่านั้น แต่ต้องทำสวนและล้างรถด้วย ฮา...

นี่คือการแบ่งหน้าที่ภายในครอบครัวของคนอย่างยุติธรรมที่ซูดด เรียกว่าต่างมีหน้าที่เป็นเรื่องๆ ไป

สำหรับนกอีแจว (นกน้ำชนิดหนึ่ง) เมื่อเธอได้รับความรักจากหลายๆ ชายแล้ว เธอก็ยังคงแจว(จรรี)ต่อไป เธอ"ปล่อยวาง"แล้ว (วางไข่ laying น่ะ ไม่ใช่ปลงอะไรประมาณนั้น) แล้วให้ตัวผู้กกไข่และเลี้ยงลูกไป

(สตรีร้อยทั้งร้อยอยากให้มนุษย์มีวิถีชีวิตแบบนกอีแจวบ้าง) นั่นก็เป็น วิถีชีวิตที่นกอีแจว ได้เลือกแล้ว ยุติธรรมที่ซู้ด เช่นกัน ไม่มีโวย แบบนี้เรียกว่า polydandry(หมายถึงหนึ่งหญิงหลายชาย)

แล้วนกอีแอ่นละ ? เรารู้ว่านกอีแอ่นเลือกวิถีชีวิตแบบรักเดียวใจเดียว (monogamy) เหมือนกับนกอื่นๆ ที่มีสีเหมือนกันทั้งพ่อและแม่ เช่นปรอดสวน ปรอดหัวสีเขม่า สีของนกทั้งสองเพศเหมือนกัน

แต่คุณรู้หรือไม่ ในความที่"สองเราเป็นหนึ่ง"นี้ คุณปรอดสวนก็ยังนั่งกกไข่ตัวเดียวยามค่ำคืน

นกอีแอ่นก็สีเดียวกันทั้งพ่อและแม่ หรืออาจจะเหมารวมว่าสีเดียวกันทั้งฝูงนั่นแหละ ปานว่า พ่อแกกะแม่ฉันมันต่างกันตรงไหนเนี่ย ? มีอะไรต่างกันมั่งมีไหม ไม่มี แยกยากมาก

แม่และพ่อนกเลี้ยงลูกอย่างไร?

คำตอบคือ เขาแบ่งหน้าที่อย่างเท่ากันเป๊ะ เป๊ะ แทบจะใช้ไม้บันทัดวัดแล้วไม่มีใคร

เหนือยมากกว่าใครเลย

อย่างนี้จริงๆ

ก็จากการติดเครื่องหมายที่ตัวนกนั่นแหละ เรารู้ว่าใครมา ใครไป เวลาใดบ้าง ใครป้อนลูก

ใครกกลูก

คิดเฉลี่ยเปอร์เซ็นแล้ว การทำหน้าที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เลยทีเดียวเชียว

เวลาฟ้องหย่า จะต้องหารความดีความชอบแล้วได้สิทธิเท่ากันพอที่จะให้อีกฝ่ายเป็นผู้เลี้ยงดูลูกอย่างเป็นเอกฉันท์ ...แบบไม่ต้องสงสัยต้องตรวจดีเอ็นเอกันสองรอบสามรอบ!

ล้อเล่น...

พ่อแม่นกไม่มีวันทิ้งลูก มันเทียวไป(หาอาหาร)เทียวกลับ(มาป้อนอาหาร)

และดูเหมือนมันไม่มีวันที่จะทิ้งกัน

สัตว์แทบทุกชนิดไม่มีวันทิ้งลูกกลางคัน ถ้าไม่มีเหตุอื่น

นกอีแอ่นก็เช่นกัน มันทำงานเรื่องกกไข่และป้อนอาหารลูกเท่ากัน 50-50

และทำด้วยจิตวิญญาณของความเป็นแม่(parental care) ทุกตัวไม่ว่าจะเป็นเพศผู้ก็ตาม

บอกแล้วว่า ดวงตากลมใสทำขนฟูยามนั่งกกไข่ และอาการค่อยๆ เข้าป้อนอาหารให้ลูกน้อย การเข้ากกทดแทนกันชนิดก้นทับก้นเลยทีเดียว (ไข่หรือลูกเปลือยนั้นไม่มีช่วงให้นอนหนาวสักครา) อย่างนี้ไม่เรียกว่า วี-ระ -กำ ทำเพื่อเธอ แล้วจะเรียกว่าอะไรอีก

มีแต่ลูกนั่นแหละ ไปไม่บอกสักคำ(ติดตามอ่านได้จากบันทึกหน้าต่อไป)

ครูเล็ก

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31194เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูเล็ก อยู่บ้านหลังใหม่แล้ว ออกจะเงียบเหงานะครับ ผมเห็นด้วยเรื่องการช่วยกันเลี้ยงลูกของนกแอ่นครับเพราะก็เฝ้าดูอยู่เหมือนกัน เห็นแล้วนึกถึงมนุษย์เราที่เรียกตัวเองว่าสัคว์ประเสริฐแต่ยังไม่เท่านกแอ่นเลยในเรื่องนี้  ครูเล็กครับผมอยากถามหน่อยครับว่าเคยพบกรณีการเลี้ยงนกแอ่นในบ้านนก แล้วผู้อาศัยในบ้านนกเจอปํญหาเรื่องสุขภาพบ้างมั๊ยครับ และลูกนกที่นได้แล้วจำเป็นมั้ยต้องกลับมาอู่ที่บ้านหลังเดิมเสมอไป  ขอคุณล่วงหน้าครับ ขอให้ครูเล็กสุขภพแข็งแรงเหมือนนกแอ่นครับ

 

คุณสะโตย

ขอโทษด้วยที่ไม่ได้เชคmailเสียนาน

เรื่องที่คุณถามนั้น ข้อมูลที่เรามี เป็นเพียง"เขาเล่าว่า" ทั้งนั้น

เขาบอกว่าที่ปากพนัง ญาติ หรือว่าคนเลี้ยงนกที่มีนกอาศัยอยู่ในบ้านเป็นโรคตายไปบ้าง

แต่ข่าวนี้ไม่ยืนยัน คนที่อยู่ใกล้พื้นที่เลี้ยงนกทราบดีที่สุดเลย  คงต้องสอบถามกัน หรือไม่ก็บอกกันหน่อย 

บังเอิญเราอยู่ไกลกว่ามาก จึงไม่ทราบข่าวนะ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมและหวังว่าจะตามงานกันก่อไป

ครูเล็ก

http://www.youtube.com/watch?v=azV_5p30j_4&feature=player_embedded

วิดีโอที่ ดูนกทำรังและเลี้ยงลูกอย่างใกล้ชิดที่สุด ที่เคยเห็นมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท