Learning by doing ในห้องสมุด มมส.


อยากทำเป็นบ้าง

เวลาที่นิสิตปริญญาโทภาคพิเศษ ต้องเข้ามาค้นหาข้อมูลในห้องสมุด ซึงนิสิตภาคพิเศษ หลายท่าน อายุมากกันทั้งนั้น เวลาค้นหาหนังสือ ต้องใช้เวลามากกว่านิสิตทั่วๆไป

หลายท่าน ไม่มีทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ web opac ที่ ห้องสมุด มมส. ตั้งไว้ให้บริการบางท่านหาเลขหมู่ไม่เจอบ้าง ไม่รู้จะไปหาหนังสือที่ตู้ไหน จะดูยังไง  เลยต้องขอความช่วยเหลือจากเด็กๆ ซึ่งจะคล่องแคล่วกว่ามาก

อันที่จริงห้องสมุด มีบริการมากมาย สารสนเทศหลากหลาย  นิสิตรุ่นใหญ่ก็อยากจะทำเป็นบ้าง เพราะมีโอกาสได้มาเรียนมหาวิทยาลัยแล้วนี่ แล้วทำอย่างไรถึงจะทำเป็น

ตอนที่เข้ามาเรียนใหม่ๆ ในช่วงปฐมนิเทศนิสิต หลายท่านมีโอกาสได้ฟังวิทยากรจากสำนักวิทยบริการ มมส.  มาแนะนำบริการและแจกเอกสารให้นิสิตรุ่นใหญ่ในระยะเวลา 1 ชั่วโมงนั้น  เมื่อเข้ามาเรียนแล้ว ส่วนใหญ่ หลายคนเรียนเสาร์ อาทิตย์ เรียนเสร็จ เดินทางกลับ ถ้ามีการทำรายงานกลุ่ม ก็จะแบ่งหน้าที่กันทำ ใครที่มีโอกาสได้ลงมือทำ ก็จะได้โอกสฝึก- เรียนรู้ทักษะต่างๆไปด้วย

แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำวิจัย วิทยานิพนธ์ คราวนี้ ตัวใครตัวมันแล้วครับ จากที่เคยได้ฟังการแนะนำบริการห้องสมุด เมื่อวันปฐมนิเทศวันแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย... ใครจะไปจำได้ล่ะครับ เพราะไม่มีโอกาสมาใช้บริการห้องสมุด ... ก็เลยทำไม่เป็นสิครับ

เอกสารแนะนำการใช้บริการ ซึ่งจะมีรูปภาพแสดงขั้นตอนอย่างชัดเจน ที่แจกไป ก็ไม่รู้ไปเก็บไว้ที่ไหนแล้ว

มีนิสิตรุ่นใหญ่ท่านหนึ่ง ได้เสนอแนวคิดที่ฟังดูเข้าท่าว่า เนื่องจากนิสิตภาคพิเศษมีเวลาน้อยในการเข้าใช้บริการห้องสมุด น่าจะมีโอกาสได้ learning by doing จากทางห้องสมุดบ้าง ซึ่งในช่วงที่เข้ามาเรียนใหม่ๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมห้องสมุด โดยเจ้าหน้าที่จะพาเดินชมและแนะนำบริการต่างๆทั่วห้องสมุด

ได้มีโอกาสเห็นของจริง ก็ประทับใจ แต่ไม่ค่อยได้มีโอกาสมาใช้บริการ เลยนึกไม่ออกว่า มีอะไรบ้าง!!!!!

นิสิตรุ่นใหญ่ท่านเสนอแนวคิดว่า น่าจะจัด workshop ง่ายๆ เป็นการฝึกทักษะการใช้บริการต่างๆภายในห้องสมุด จะจัดในรูปแบบเกมเสริมทักษะก็ย่อมได้

อันที่จริง ทางห้องสมุด ได้จัดทำข้อมูล เอกสารแนะนำบริการต่างๆ พิมพ์ใส่ไว้ในตู้ชั้นต่างๆ ให้หยิบไปอ่านฟรี และในเวบไซต์ก็บรรจุข้อมูลแนะนำบริการที่หลากหลาย แต่นิสิตรุ่นใหญ่ก็ยังใช้ไม่ค่อยเป็นอยู่ดีเพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้มาใช้ บางท่าน แค่การเดินหาหนังสือที่อยู่ตามตู้ต่างๆ ยังหาไม่พบ เพราะหาเลขหมู่ที่ติดอยู่บนชั้นหนังสือไม่เจอสักที เห็นมีตัวเลขเยอะๆหลายตัว ไม่รู้มีวิธีการดูยังไงถึงค้นหาหนังสือที่ต้องการได้เจอ สุดท้ายก็ต้องไหว้วาน้องๆที่อยู่ใกล้ๆ หรือบรรณารักษ์ให่ช่วยที

แต่เค้าก็อยากมีทักษะด้านนี้ครับ

พูดมาแบบนี้ นายบอนก็คงแจ้งให้ทราบว่า เค้ามีบริการที่น่าสนใจมากมาย แค่เดินไปสอบถามบรรณารักษ์ ก็จะได้ learning by doing ที่ต้องการสมใจอยากแล้วล่ะครับ

หรือว่า ข้อมูลแนะนำบริการที่นำเสนอมานั้น เผยแพร่และนำเสนอในแบบที่นิสิตรุ่นใหญ่หาไม่เจอ .. (เพราะสารสนเทศที่หลากหลาย)  หรือ เป็นเพราะตัวนิสิตรุ่นใหญ่ที่เข้าไม่ถึงข้อมูลเหล่านั้นกันแน่??

หมายเลขบันทึก: 28729เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปกติห้องสมุดส่วนใหญ่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อยู่แล้ว บรรณารักษ์จะเหนื่อยมาก แต่ยังงัยคณะวิชา ภาควิชา และตัวนิสิตก็ต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยนะคะ..เพราะห้องสมุดกับบรรณารักษ์มีหน้าที่หลักที่ต้องดูแลนักศึกษาอยู่แล้ว ลองสิคะ..อย่างที่คุณ bon บอก เพราะมีสมการที่ว่า Learning & Doing=output

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท