ย้อนรอย Patho OTOP


เราได้สร้างโอกาสและเวทีให้คนหน้างาน แสดงศักยภาพออกมา

ขณะนี้ ภาควิชาพยาธิวิทยา กำลังมีการนำเสนอร่างโครงการพัฒนางานของทีมต่างๆ ในโครงการ พยาธิ 1 ทีม 1 โครงการ ปี2 (Patho OTOP2)  ซึ่งหลายท่านคงได้อ่านความคืบหน้าจากบันทึกของพี่เม่ยแล้ว (1, 2)  เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการปีที่ 2  ผู้อ่าน blog หลายท่าน อาจจะยังไม่ทราบที่มาที่ไปของโครงการนี้มาก่อน จึงขอนำมาทบทวน Patho OTOP1 โดยย่ออีกครั้งในบันทึกนี้

ที่มาและแนวคิด
โครงการนี้ เกิดขึ้นจากความต้องการในการพัฒนางานบริการของภาควิชา โดยนำแนวคิดการจัดการความรู้มาบูรณาการกับกระบวนการ CQI   จุดเน้นของโครงการ คือการพัฒนาศักยภาพของคนหน้างาน  โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม และไม่ปล่อยให้ทีมโดดเดี่ยว โดยให้มีพี่เลี้ยงทีมงานเพื่อค่อยให้การช่วยเหลือสนับสนุน และมีที่ปรึกษาจากต่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความคิดหลากหลาย รวมทั้งจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ และสร้างแรงจูงใจต่อความทุ่มเท และความสำเร็จโดยการให้รางวัล

วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพิ่มคุณภาพ  ประสิทธิภาพ ของงานบริการ
2. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
3. ส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ในการพัฒนางาน
4. ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ และ การปฏิบัติอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อันเป็นสมรรถนะหลักของภาควิชาพยาธิวิทยา
5. เพิ่มศักยภาพบุคคล

การดำเนินการ
โครงการ Patho OTOP1 ใช้เวลาในการดำเนินการ 6 เดือน (มิ.ย.-ธ.ค. 48) โดยจัดให้มีการรับสมัครทำโครงการพัฒนางานเป็นทีม ทีมละ 3-5 คน ซึ่งสมาชิกอาจเป็นหน่วยเดียวกัน หรือต่างหน่วย แต่ละทีมเลือกพี่เลี้ยง 1 คน และที่ปรึกษาจากต่างหน่วย 1 คน  โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 ครั้ง  และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโดยการนำเสนอผลงาน ทั้งการเสนอร่างโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ  และจัดให้มีรางวัลแห่งความทุ่มเท

ความสำเร็จของ Patho OTOP1
เราได้โครงการที่ทำสำเร็จ 19 โครงการจากทั้งหมด 21 โครงการ
เราได้การพัฒนางาน ที่สนับสนุนมาตรฐาน ISO 15189 เป้าหมายที่เราจะไปให้ถึงในปลายปีนี้
เราได้ผลงานที่เป็น R to R คือผลงานวิจัย จาก งานประจำ
เราได้สร้างโอกาสให้ “คุณอำนวย” หลายคนแสดงตัวตนและความสามารถออกมาเป็นที่ปรากฏ
เราได้สร้างโอกาสและเวทีให้คนหน้างาน แสดงศักยภาพออกมา
เราได้แสดงให้เห็นถึง พลังของการทำงานเป็นทีม
เราได้สร้างความเข้าใจต่อแนวคิด “การจัดการความรู้” ผ่านการปฏิบัติจริง
เราได้สร้างวัฒนธรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ให้เกิดขึ้นในภาควิชา
เราได้รางวัลยอดเยี่ยม ดีเด่น และ ดี จากการประกวด ส’6 (สร้างสรรค์ ของคณะฯ)

ผลงานของ Patho OTOP1 ทำให้ สคส.  คณะฯ และมหาวิทยาลัย เห็นคุณค่าและศักยภาพของภาควิชาพยาธิวิทยาแห่งนี้

ความสำเร็จ และ ความภาคภูมิใจเหล่านี้ ทำให้เราเดินหน้าสู่ Patho Otop ปี 2...


หมายเลขบันทึก: 31164เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

"ยาม"...ค่ะ ยาม อาจารย์ลบคห.นี้เลย หลังจากแก้ไขแล้วดีกว่านะคะ @๐@

ความรู้มาบูรณาการกับกระบวนการ
ระหว่างทีมตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ
สมรรถนะหลักของภาควิชาพยาธิวิทยา

รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกของภาควิชาพยา-ธิมากๆค่ะ

ขอชื่นชมผู้ริเริ่มโครงการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในองค์กรของเราค่ะ จะทุ่มเทกำลังใจกำลังกายเต็มที่เพื่องานต่อๆไปค่ะ พยา-ธิ...จงเจริญ!!!!

ขอบคุณ คุณโอ๋ในทุกๆ เรื่องค่ะ  คุณโอ๋เป็นกำลังใจที่ดีมากๆ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท