วิจัย : โรงเรียนพ่อแม่


ประสิทธิผลของโปรแกรมโรงเรียนพ่อแม่ต่อสภาวะสุขภาพมารดาและเด็ก 0-1 ปี

     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

                                                                    ปิยวรรณ สุวัฒนรัตน์ 

                                                                    ศศิชล     หงษ์ไทย    

                                                                    สุจิตรา    บางสมบุญ  

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ของหญิงตั้งครรภ์ ต่อสภาวะสุขภาพของมารดาและทารกหลังคลอด และติดตามจนถึงเด็กอายุ 1 ปี เป็นการศึกษาแบบ Retrospective study กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และทารกหลังคลอดที่คลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2550 และเด็กที่กลับมารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี อายุ 0-1 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนทั้งสิ้น 1,726 ราย เก็บข้อมูลจากโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์ ศึกษาความสัมพันธ์ โดยใช้ค่า Chi-square แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ต่อสภาวะสุขภาพของมารดาและทารกหลังคลอด โดยแบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนครบหลักสูตร กลุ่มที่เรียนไม่ครบตามหลักสูตร และกลุ่มที่ไม่ได้เรียน ส่วนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ต่อสภาวะสุขภาพของเด็กอายุ 0-1 ปี      ที่มารดาเข้าร่วมโครงการแบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนครบหลักสูตร และกลุ่มที่เรียนไม่ครบตามหลักสูตร

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั้ง 3 กลุ่มมีอายุเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน คือ ร้อยละ 26.5, 26.3 และ 27.2 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและเป็นการตั้งครรภ์แรก สภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดส่วนใหญ่ปฏิบัติตนเองถูกต้องมากกว่าร้อยละ 99  มีการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพตนเองไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่พบปัญหาสุขภาพช่องปากของทั้งสามกลุ่มมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-valve < 0.05 สภาวะสุขภาพของทารกหลังคลอดทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่น้ำหนักทารกแรกคลอดปกติ (ระหว่าง 3,000 – 3,499 กรัม) ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลเด็กได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด แต่พบอัตราทารกขาดออกซิเจนในขณะคลอด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-valve < 0.05 ส่วนสภาวะสุขภาพของเด็กอายุ 0-1 ปี ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนพ่อแม่ ในทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างในด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สรุปผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมโรงเรียนพ่อแม่ต่อสภาวะสุขภาพของมารดาและเด็กอายุ 0-1 ปี ไม่แตกต่างกันยกเว้นเรื่องปัญหาสุขภาพช่องปาก อาจเนื่องมาจากกิจกรรมการทบทวนของงานฝากครรภ์ และในกรณีที่พบว่าหญิงตั้งครรภ์ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด การเสี่ยงอุบัติการณ์  จะได้รับการสอนเสริมเป็นรายบุคคลตามหลักสูตรของโรงเรียนพ่อแม่ ในแต่ระยะเวลาของการมารับบริการฝากครรภ์ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษา อาชีพ รายได้ การมีส่วนร่วมของครอบครัว เพื่อที่จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาพัฒนาการเด็กในแต่ละกลุ่มอายุ เพื่อให้มีพัฒนาการสมวัยเป็นเด็กเก่ง ดี มีสุข ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 311100เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ

ดิฉันได้อ่านบทความวิจัยเรื่องนี้แล้ว ชื่นชมและสนใจมากคะ และเนื่องจากได้ทำงานด้านนี้ในหน่วยงานฝากครรภ์ จึงมีความสนใจอยากได้ ฉบับเต็มของวิจัยเรื่องนี้ไม่ทราบ จะรบกวนขอฉบับเต็มได้มั้ยคะ หากไม่รบกวนเกินไปกรุณาส่งเมล์ฉบับเต็มมาให้ได้มั้ยคะ จะได้นำมาปรับใช้พัฒนาในงาน เพื่อเป็นวิทยาทานคะ ด้วยความเคารพ ชนกพร [email protected]

มาติดตามกิจกรรมดีๆ ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กค่ะ วัยทำงานแม่ไม่มีเวลาให้นมลูกเพราะต้องไปทำงาน ปัญหาที่พบเจอในชุมชนส่วนใหญ่ จึงใช้นมสำเร็จรูปตามสื่อ เรื่องการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ จึงต้องส่งเสริมกันต่อไป ขอบคุณค่ะ

  • คุณชนกพร ค่ะ ต้องขอไปสอบถามจากพี่ปิยวรรณก่อนนะคะว่ายังเก็บ file ไว้หรือเปล่า เพราะเป็นวิจัยตั้งแต่ปี 2550 แล้วนะ
  • คุณ poo ขาเราก็ช่วยกันสู้ๆ ค่ะ

file พี่ปิยวรรณไม่ได้เก็บต้นฉบับไว้ค่ะ ขออภัยด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท