สวัสดิการของท่าพริก


สัมมนาหลักสูตรต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน ระหว่าง 27-31 ตุลาคม 52 ที่ผ่านมา ประทับใจการลงพื้นที่ 2 แห่ง

กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต หมู่ 5 ตำบลท่าพริก จังหวัดตราด กลุ่มนี้อยู่ในเครือข่ายกลุ่มสัจจะฯตราด

คุณจำรัส สมจิตร์ กรุณาถ่ายทอดความรู้ให้ฟังว่า เริ่มแรกพัฒนาชุมชนชักชวนตั้งกลุ่ม ผ่านไป 1 ปี กิจกรรมไม่เกิด ไม่มีข้อมูลทำงาน กลุ่มล้ม กระทั่ง วันที่ 26 เมษายน 2541 จึงได้ตั้งกลุ่มขึ้นอีกครั้ง โดยการนำของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต และทีมงานอดีตผู้ใหญ่บุญมี เป็นแกนนำในการจัดตั้ง มีสมาชิกแรกเข้าจำนวนประมาณ 253 คน เงินหุ้นแรกเข้า 13,420 บาท เงินค่าธรรมเนียม 2,530 บาท  ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก 430 คน(ประชากรประมาณ 1,300 คน) เงินกองทุนกว่า 4.5 ล้านบาท

และก่อตั้งกองบุญ“วันละบาท” มีสมาชิก 268 คน เป็น กิจกรรมที่ผนวกเข้ากับกองทุนสวัสดิการ เป็นการเพิ่มทุนให้กองทุนสวัสดิการ กองทุนนี้จะจ่ายเมื่อเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล แต่เรื่องตายให้เบิกกับกองทุนสวัสดิการ

 

            ความโดดเด่นของที่นี่คือหลักการบริหารจัดการเน้นคุณธรรมเป็นหลัก

1.       หลักธรรม ใช้ธรรมะนำการเงิน ให้เงินเป็นเครื่องมือ อุดมการณ์ ใฝ่ดี สัมมาทิฐิ

2.       กฎกติกาที่สอดคล้องกับหลักธรรม “เพื่อบังคับให้คนทำดี”

3.       ระบบบัญชี แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ หุ้นหมุนเวียน และ สวัสดิการ

4.       มีสวัสดิการช่วยเหลือกลุ่ม

เน้นการบริหารจัดการเงินทุนที่รวมจากคนในหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป้าหมายเพื่อปลดหนี้นอกหมู่บ้าน พยายามควบคุมเงินให้เข้าออกทางเดียว คือ กองทุนสวัสดิการ เป็นตัวปล่อยกู้ เก็บเงิน เป็นหลัก

 

 

การบริหารจัดการเงิน(รายรับ) กลุ่มระดมเงินทุนด้วยวิธีการ

1.       เงินสะสมสมาชิก 10-100 บาท/คน/เดือน

2.       กู้ประกอบอาชีพ ไม่เกิน 50,000 บาท/คน ค่าบำรุงร้อยละ 2 ต่อเดือน

3.       ปลดหนี้นอกระบบ ค่าบำรุงร้อยละ 0.50 ต่อเดือน

4.       ไฟแนนซ์คุณธรรม ประเภท รถยนต์ จักรยานยนต์ บ้านและที่ดิน ค่าบำรุงร้อยละ 6 ต่อปี

5.       ทุนการศึกษาเด็ก ค่าบำรุงร้อยละ 1 ต่อปี และร้อยละ 0.50 บาทต่อปี

6.       กิจกรรมรวมซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค(ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา น้ำมันฯ)

7.       ตัวแทนบริษัททำประกันภัยรถยนต์และจักรยานยนต์

8.       กิจกรรมขยะ

9.       กองบุญวันละหนึ่งบาท

10.   ซื้อที่ดินของสมาชิก(กรณีต้องขาย) ไม่ให้ทรัพย์สินตกเป็นของบุคคลภายนอกหมู่บ้าน ปัจจุบันกลุ่มซื้อที่ดินไว้ 7 ไร่ ปลูกข่า เมื่อมีรายได้นำเข้ากองทุนสวัสดิการ (ช่วงฤดูแล้ง ราคา 80 บาท/กก. ช่วงฤดูฝน ราคา 30 บาท/กก.)

  

สวัสดิการตอบแทนสมาชิก

1.       รักษาพยาบาล

2.       เสียชีวิต

3.       พักฟื้น กรณีผ่าตัดใหญ่ จ่าย 10,000 บาท

4.   ปุ๋ยฟรี ไม่เกิน 60,000 บาท/คน/ปี (ขอสมทบงบประมาณจาก อบต.ร่วมด้วย)

กิจกรรมสอน “สมาชิกเป็นผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี”

            กลุ่มเน้นการจัดการเพื่อให้สมาชิกถูกพัฒนาให้สามารถร่วมบริหารจัดการทุนตนเอง ทุนส่วนรวม และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสภายนอก มีหลักที่ต้องถือปฏิบัติ 5 ข้อคือ

1.       ส่งตัวแทนในครัวเรือนร่วมประชุมที่กลุ่มทุกเดือน

2.       ร่วมในกิจกรรมรวมซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค

3.       ร่วมทำ พรบ.รถยนต์ และจักรยานยนต์กับกลุ่ม

4.       บริจาคขยะให้กลุ่ม

5.       ทำบัญชีครัวเรือน: แจกแจงเรื่องค่าใช้จ่ายอบายมุข ข้าวสาร น้ำปลา น้ำตาล น้ำมันฯ ข้อนี้เริ่มทำมาประมาณ 2 ปี มีสมาชิกทำบัญชีครัวเรือน 52 ครัวเรือน เป้าหมายของการทำบัญชีครัวเรือนในระยะแรกคือต้องการฝึกให้ผู้สูงอายุที่เรียนหนังสือน้อยฝึกเขียนหนังสือ เกิดความภูมิใจและสามารถสอนลูกหลานได้

 

เมื่อสมาชิกทำความดีมีส่วนร่วมกับกลุ่มตาม 5 ข้อข้างต้น กลุ่มจัดสรรสวัสดิการที่แตกต่างออกไปคือ

 

เงื่อนไข

รักษาพยาบาล(บาท)

เสียชีวิต(บาท)

ทั่วไป

200 บาท/คืน

3,000

ร่วมกิจกรรมกลุ่มทุกเดือน

รับเพิ่มจากปกติ 100 บาท/คืน

เพิ่มจากปกติ 1,500

ร่วมกิจกรรมซื้อสินค้า

รับเพิ่มจากปกติ 40 บาท/คืน

 

เป็นสมาชิกกองบุญหนึ่งบาท

รับเพิ่มจากปกติ 100 บาท/คืน

สมทบอีกจำนวนหนึ่ง

 

เป้าหมายของกองทุนสวัสดิการไม่ได้ตั้งเพื่อการช่วยเหลือทั่วไป แต่ต้องการให้คนถูกพัฒนาดังนั้นคนที่จะได้รับสวัสดิการจากกลุ่มต้องเข้ามาร่วมกิจกรรมคือต้องเป็นสมาชิกกลุ่มนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 310619เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวอย่างการบริหารจัดการที่ทำแล้วมีไม่จนได้ดีทีเดียวค่ะ ^_^ ว่าแต่ว่ากิจกรรมขยะทำอย่างไรค่ะ แยกประเภทขยะเพื่อขาย?หรือมีการรีไซเคิล การประดิษฐ์ดอกไม้ เครื่องใช้ ต่าง ๆ จากขยะ เพื่อก่อให้เกิดรายได้อีกทางหรือเปล่าค่ะ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมีรายได้แถมยังลดขยะได้อีกด้วยค่ะ

หวัดดีจ้า น้องรัช น้องแหม่ม มาทักทาย งานนี้ ฟังพี่จำรัส จนเพลินเลยแหละ

ที่ประทับใจ เรื่องปลดหนี้ ดีมากๆเลย อยากมาทำที่ สำโรง สุรินทร์บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท