การให้การศึกษาพลเมืองโลก (Educating the World Citizens)


วันนี้ผมได้ forward mail เนื้อหาน่าสนใจ อยู่ในคอลัมภ์จิตวิวัฒน์ อยากเก็บไว้ด้วย เลยเอามาแปะไว้ดื้อๆตรงนี้ครับ 

 

 

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์311009  

  โดย อนุชาติ พวงสำลี www.thaissf.org, http://twitter.com/jitwiwat แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

เมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม ..2552 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเข้าร่วมประชุมเรื่อง "การให้การศึกษาพลเมืองโลกสำหรับศตวรรษที่ 21 (Educating the World Citizens for the 21st Century)" ที่ DAR Constitution Hall กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา 

การประชุมครั้งนี้จัดโดย Mind & Life Institute และมีองค์กรร่วมจัดเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก อาทิ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สแตนฟอร์ด เพนซิลวาเนีย วิสเคาซิล-แมดิสัน จอร์จ วอชิงตัน มิชิแกน และสมาคมจิตวิทยาอเมริกา เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2 พันคน 
 
การจัดประชุมเป็นไปอย่างเรียบง่าย แบ่งเป็นการสนทนาในภาคเช้าและภาคบ่าย รวมเป็น 4 ช่วง 
 
แต่ความสำคัญของการประชุมครั้งนี้ นอกจาก องค์ดาไล ลามะ ซึ่งเข้าร่วมประชุมและเป็นผู้ร่วมสนทนาตลอดการประชุมแล้ว ผู้เข้าร่วมสนทนาในแต่ละช่วง ยังประกอบด้วย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา นักบวช นักพัฒนา และครูอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานระดับโลก ซึ่งมีความร่วมมือกันในทางวิชาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน 

 

คำถาม สำคัญของการประชุมในครั้งนี้คือ ข้อท้าทายที่ว่าระบบการศึกษาหรือระบบการเรียนรู้ในปัจจุบันจะสามารถตอบสนอง ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร?

 

เรา จะสามารถจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความ เมตตากรุณา (Compassion) มีสมรรถนะ (Competent) มีจริยธรรม (Ethic) และเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม (Engaged Citizens) ในท่ามกลางพัฒนาการของโลกและสังคมที่มีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงไร้ พรมแดนกันได้อย่างไร? 

 

 ฐานคิดและความเชื่อของการประชุมนี้ เล็งเห็นว่าการสร้างพลเมืองแห่งอนาคตนั้น มิสามารถวัดได้ด้วยความรู้และทักษะ (Cognitive Skills and Knowledge) เพียงเท่านั้น แต่เราต้องสร้างเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ทั้งกาย ใจ และสมอง ให้เพียบพร้อมด้วยทักษะเชิงอารมณ์ สังคม และความมีคุณธรรม 
 
ซึ่งโดยรวมๆ เรียกว่า กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญศึกษา (Contemplative Practices) 
 
การสนทนาในช่วงแรก เริ่มจากวิสัยทัศน์หรือมุมมองต่อการพัฒนาพลเมืองของโลก ซึ่งผู้เข้าร่วมสนทนาต่างเห็นพ้องกันว่า เยาวชนพลเมืองของโลกกำลังตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายจากสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ปัญหาความรุนแรง สงคราม ความขัดแย้ง ระบบการแข่งขันที่เร่งเร้าความแตกแยกทั้งในด้านเชื้อชาติ สีผิว และฐานะทางเศรษฐกิจ 
 
ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาเอง พบว่าความรุนแรงต่อเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า 
 
เยาวชนในสหรัฐอเมริกากว่าร้อยละ 60 กำลังตกอยู่ในสถานะล่อแหลมต่อความรุนแรง ปัญหาดังกล่าวจึงนับเป็นความน่าห่วงใยในอนาคตของสังคมโลกเป็นอย่างมาก 
 
องค์ดาไล ลามะ แสดงทรรศนะในเรื่องนี้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความหวังและความรับผิดชอบต่อสังคม 

 

เรา ต้องสร้างระบบการศึกษาที่เติมเต็มด้วยความเมตตากรุณา (Education with Compassion) การศึกษาต้องสร้างให้คนมีความสุขด้านในอย่างแท้จริง (Truly Inner Happiness)

 

ดังนั้น ในการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ ครู-อาจารย์จึงมีบทบาทที่สำคัญมาก ครู-อาจารย์ต้องมีสติ (Mindfulness) มีความเมตตากรุณา (Compassion) ในการพัฒนาปัญญา ในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูและนักเรียนต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยนัยนี้ การเตรียมความพร้อมของครู-อาจารย์ จึงนับเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาเพื่ออนาคต 

 

ในช่วงที่สอง ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่อง ความจดจ่อ (Attention) การควบคุมอารมณ์ (Emotion Regulation) และการเรียนรู้ (Learning)

วิทยากรซึ่งเป็นจิตแพทย์ชี้ให้เห็นว่า ความมุ่งมั่นและการควบคุมอารมณ์มีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก หากเด็กมีภาวะอารมณ์ที่เป็นเชิงลบ มีอารมณ์โกรธที่มากเกินไป จะทำลายศักยภาพและความเมตตากรุณาในตน การสอนเยาวชนให้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งในเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงพัฒนาการของมนุษย์ ที่จะทำให้เข้าใจว่าพัฒนาการของร่างกายและสมองในช่วงใด ควรใส่การเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาอย่างไรที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเยาวชน 

 

นอกจากในเรื่องพัฒนาการของร่างกายและสมองของเด็กแล้ว นักการศึกษาอีกท่านยังชี้ให้เห็นว่า ความมั่นคง (Security) และความสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้ (Relationship in Learning) ก็นับว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน

 

หน้าที่ ของครู คือการสร้างสำนึกของความรับผิดชอบ ความครุ่นคำนึง การเปิดใจ ความอดทน อุดมคติ เป้าหมายเชิงบวก และแรงจูงใจ เด็กจึงเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการการบ่มเพาะ รดน้ำพรวนดินอย่างดี 

 

ความรู้ ว่าด้วยพัฒนาการของเด็ก (Child Development) จึงมีความสำคัญในการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ (มิใช่เพียงคำนึงถึงแต่เนื้อหาทางวิชาการ - ผู้เขียน

เช่น เดียวกับความร่วมมือและทำงานร่วมกับชุมชน มีตัวอย่างที่ถูกหยิบยกมากมายของการจัดการศึกษาในแนวใหม่นี้ เช่น การนำโยคะ ห้องเงียบ สมาธิภาวนา มุมส่วนตัว การฝึกสติ การฝึกความเมตตากรุณา เข้าไปสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่างๆ เป็นต้น 

 

ในช่วงที่สาม ลงลึกในส่วนของความเมตตากรุณา (Compassion) และความเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) 

 

วิทยากร ในช่วงนี้อธิบายว่า แนวทางจิตตปัญญา (Contemplative Practices) มีความสำคัญต่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของพลเมืองและสังคม กระบวนการศึกษาต้องสร้างความเอาใจเขามาใส่ใจเราให้เกิดขึ้นในหัวใจของคน ซึ่งจะนำไปสู่ความเห็นอกเห็นใจ (Sympathy) ในเพื่อนมนุษย์ 

 

การทำงาน ในเรื่องนี้จำต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างเป็นระบบถึงปัจจัยแวดล้อมของ แต่ละคน (Personal Environment) ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ (Emotion Regulation) พันธุกรรม (Genetics) ตลอดจนอารมณ์ทางสังคม (Social Emotion) 

นอกจาก นี้ วิทยากรยังได้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาครู-อาจารย์อย่างมาก ปัจจุบัน ครู-อาจารย์อยู่ในภาวะที่เครียดเกินไปที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เรียกร้อง ได้ ครู-อาจารย์ไม่สามารถจัดการสมดุลต่างๆ ได้อย่างดี 

 

ครู-อาจารย์ ต้องได้รับการพัฒนาชีวิตด้านใน (Inner Life) ให้เข้มแข็งทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ การปฏิบัติภาวนาและการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Practices) จึงมีบทบาทที่สำคัญมากในการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งของครู-อาจารย์

 

อย่างไร ก็ตาม ท่านมาติเยอ ริการ์ นักบวชสายทิเบตชาวฝรั่งเศส ซึ่งร่วมอยู่ในวงสนทนาด้วย ก็ได้ตอกย้ำไว้อย่างน่าสนใจว่า หากเราสนใจเรื่องความเมตตากรุณาและความรัก (Compassion and Love) ที่อยู่ในระดับชีววิทยาหรือร่างกายเท่านั้น คงจะไม่เพียงพอและยั่งยืน แต่เราต้องสนใจในการสร้างความเมตตากรุณาและความรักที่มาและเกิดขึ้นจากด้าน ในของมนุษย์อย่างแท้จริงด้วย 

 

ในช่วง สุดท้าย เป็นบทบูรณาการและการมองทิศทางในอนาคต ศาสตราจารย์ลินดา คณบดีวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กล่าวว่า เราคงไม่สามารถทำเพียงแค่นำเรื่องปฏิบัติภาวนาหรือการนั่งสมาธิเข้าไปในระบบ การศึกษาเฉยๆ

หมายเลขบันทึก: 310304เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับ ขอบคุณที่นำข้อคิดดี ๆ มาฝาก

ผมเคยมีโอกาสอ่านหนังสือที่ท่านมาติยอร์ ริการ์ เขียน ชื่อ happiness เข้าใจว่า จะเป็นคนเดียวกับที่อาจารย์กล่าวถึงใช่ไหมครับ

ยังจำที่อาจารย์พูดตอนเป็นวิทยากร "หยั่งราก ผลิใบ" ที่เชียงใหม่

ว่า การที่นักศึกษาแพทย์ตัวเล็กๆ โดนอาจารย์ผู้ใหญ่ตำหนิต่อหน้าคนไข้นั้น

มันเป็นความเจ็บที่ฝังลึก กว่าที่ตัวอาจารย์คิดหลายเท่า

...

ชอบประโยคนี้คะ

" หากครู-อาจารย์ของเรายังอยู่ในภาวะ เครียดและสับสน

มุ่งถ่ายทอดความรู้จากเพียงตำราและเนื้อหาโดยไม่สนใจชีวิตของผู้เรียน

แล้วเราจะสร้างเยาวชนในอนาคตที่มีความสุข มีความรักความเมตตา

เป็นเยาวชนที่รู้จักการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติสุข ได้อย่างไร "

โห...อาจารย์ อยากจะอ่านแต่ขอผ่าน คือยังไม่แก่แต่ตัวขนาดเท่าขี้มดแบบนี้ก็ไม่ไหว ตอนนี้เที่ยงคืนแล้ว ทรมานสายตาค่ะ ; P สงสัยว่ามันติด format มาจากที่ copy มา เลยตัวจิ๋ว ไว้กลางวันไม่ง่วงจะมาอ่านใหม่

นับเป็นเรื่องที่ท้าทายกับทิศทางในการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาบ้านเรา แต่ทว่าสังคมนั้นมีความเป็นระบบและมีความเกี่ยวเนื่องกัน หากว่าสถาบันการศึกษาขยับเพียงอย่างเดียวก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ยังต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรและสถาบันต่างๆทางสังคมทำให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งระบบ ปัญหาก็คือเราจะเริ่มต้นตรงไหนก่อนดี จะจัดการกับคนที่ติดกรอบปิดหูปิดตาไม่ยอมเปิดตาเปิดหูเปิดใจในสังคมบ้านเราอย่างไรดี นับเป็นปัญหาเร่งด่วนที่เราต้องร่วมคิดร่วมทำ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญามีคุณธรรมจริยธรรมมีความสงบสุขต่อไปครับ ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่อาจารย์เก็บมาให้พวกเราได้อ่านครับ

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมและอ่านบันทึกดี ๆ ครับ

เป็นข้อเสนอที่ท้าทายมากครับ...

สวัสดีค่ะ

หนูอ่านแล้ว แนวคิดคล้ายกับโรงเรียนสัตยาไสย ของดร.อาจองเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท