โครงการเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้


เพื่อทำให้เกิด “พื้นที่”ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย จึงมีการจัดทำโครวการเวทีเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมขึ้น

โครงการเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

(๑)    ชื่อโครงการ

โครงการเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

(๒)  ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมจัดงาน

๒.๑      สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ผู้รับผิดชอบหลัก

๒.๒     สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ภาคีร่วมจัดงาน

๒.๓     มูลนิธิศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย ภาคีร่วมจัดงาน

(๓)   ความเป็นมา

หลังจากที่โครงการวิจัยและพัฒนากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในกลุ่มเด็ก เยาวชน รับผิดชอบโดย มูลนิธิศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย ได้หารือร่วมกับ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สบท และ ผอ.ชาญวิทย์ เกี่ยวกับการพัฒนา "องค์ความรู้ในการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม" ในการหารือ ข้อสรุปสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนากลไกในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมก็คือ การศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงาน นอกจากนั้นแล้วประเด็นของการถักทอ พัฒนาเครือข่ายในรูปของประชาคมคนทำงาน ทั้ง ประชาคมนักวิจัย ประชาคมนักพัฒนา ประชาคมเครือข่ายภาคีในภาคส่วนต่างๆล้วนเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

หลังจากการประชุมร่วมกัน เห็นตรงกันว่า ในเบื้องต้นหรือจุดเริ่มต้นของการทำงานเพื่อตอบสนองต่อการสร้าง พัฒนา องค์ความรู้และเครือข่ายในการทำงาน ก็คือ การตรวจสอบและสังเคราะห์ถึง “องค์ความรู้” ที่มีอยู่ว่ามีอะไรบ้าง เพียงพอหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดในการจัดทำกรอบหรือโจทย์ในการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจน การถักทอเครือข่ายประชาคมนักวิจัยและนักพัฒนาในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จนในที่สุด นำมาซึ่งการจัดเวทีเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

ประกอบกับหลังจากมีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกับอีกครั้งในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ จึงได้มีการกำหนดให้มีการจัดเวทีดังกล่าวขึ้นในวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

(๔)   หลักการและเหตุผล

ในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยหลัก ๓ ประการกล่าวคือ (๑) การศึกษาและพัฒนา “องค์ความรู้” ที่จำเป็นและเกี่ยวเนื่องในการทำงาน (๒) การสร้าง ถักทอ พัฒนาเครือข่าย ประชาคมคนทำงาน ทั้งเครือข่ายนักวิจัย เครือข่ายนักพัฒนา รวมทั้ง เครือข่ายภาคีทั้งจากภาคนโยบาย ภาคประชาชน ภาคเอกชน และ (๓) การบริหารจัดการความรู้และเครือข่าย เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนความรู้ไปสู่การปฏิบัติ

จุดเริ่มต้นในการสร้างกลไกของการพัฒนาปัจจัยหลักทั้ง ๓ ส่วนนั้น จำเป็นที่จะต้อง “สร้าง” พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักวิจัยและนักพัฒนาทั้งในรุ่นใหม่ รุ่นกลาง และ รุ่นใหญ่ ในการร่วมตรวจสอบองค์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ วิเคราะห์ถึงกรอบ หรือ โจทย์ในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ หรือ พัฒนาต่อยอดต่อยอดองค์ความรู้ ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกัน การสร้างพื้นที่ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการสร้างโจทย์ในการทำงาน “ร่วมกัน” อย่างรอบด้านระหว่างเครือข่าย ส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบต่อไป

                   ดังนั้น เพื่อทำให้เกิด “พื้นที่”ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย จึงมีการจัดทำโครวการเวทีเสวนาจุดประกายความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์ในการแสวงหาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมขึ้น

(๕)   เป้าหมายของการทำงาน

๕.๑      เพื่อทำให้เกิดการตรวจสอบสถานการณ์ด้านองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่มีอยู่ในประเทศไทย

๕.๒      เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา “กรอบ” หรือ “โจทย์” ในการทำงานเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในสังคมไทยต่อไป

๕.๓      เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายนักวิจัย นักพัฒนา ทั้งในระดับรุ่นใหม่ รุ่นกลาง และ รุ่นใหญ่

(๖)    ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

๖.๑      รายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่มีอยู่ในประเทศไทย

๖.๒      กรอบ หรือ โจทย์ อันเป็นแนวทางในการทำงานเพื่อการศึกษา พัฒนา หรือขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในสังคมไทยต่อ

๖.๓      เครือข่ายนักวิจัย นักพัฒนา ทั้งในระดับรุ่นใหม่ รุ่นกลาง และ รุ่นใหญ่

(๗)  วัน เวลา สถานที่กำหนดการ

วันที่  พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น – ๑๖.๓๐ น.

(๘)   กลุ่มเป้าหมาย

เครือข่ายนักวิจัย นักพัฒนา ทั้งจากภาคนโยบาย ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน จำนวน ๒๕ คน

(๙)   กำหนดการ

เวลา รายละเอียด
๑๓.๐๐ น. – ๑๓.๓๐ น ลงทะเบียนและรับเอกสาร
๑๓.๓๐ น. – ๑๓.๔๕ น กล่าวต้อนรับ และ ชี้แจงวัตถุประสงค์ความเป็นมาของเวที โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑๓.๔๕ น. – ๑๔.๔๕ น. เปิดประเด็นเพื่อจุดประกายความคิด โดย
(๑) ประเด็นที่ ๑ องค์ความรู้เกี่ยวกับ การกระทำของมนุษย์ในโลกไอซีที โดย (๑) นางสาวภัทราภรณ์ โกมลวัจนะ (๒) อาจารย์พลอยขวัญ เหล่าอมตะ (๓) อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา และ (๔) นางสาวปุณสิรีย์ ฉัตรจินดา (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
(๒) ประเด็นที่ ๒ องค์ความรู้เกี่ยวกับ ความมั่นคงของมนุษย์ในโลกไอซีที โดย (๕) อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ (๖) นางสาวสุดารัตน์ แก้วงาม จินดา (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
(๓) ประเด็นที่ ๓ โครงสร้างพื้นฐาน การจัดการทางเทคนิคไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคม โดย (๗) นายวีระ อยู่รัมย์ (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
ดำเนินรายการโดย นางสาว อารยา ชินวรโกมล
๑๔.๔๕ น. – ๑๖.๐๐ น.

แลกเปลี่ยนเพื่อจุดประกายแนวความคิด โดย ผู้เข้าร่วมเสวนา (อยู่ระหว่างการประสานงาน)

(๑) อ.ชวลิต อัตถศาสตร์ (๒) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร (๓) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (๔) คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ (๕) คุณชาญวิทย์ โวหาร (๖) พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน (๗) ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ (๘) คุณสุภิญญา กลางณรงค์ (๙) ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร (๑๐) คุณสุนิตย์ เชรษฐา (๑๑) คุณลัดดา ตั้งสุภาชัย (๑๒) คุณสุรางคณา วายุภาพ (๑๓) คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ (๑๔) คุณภูมิจิต (๑๕) คุณชาญวิทย์ (๑๖) คุณสฤณี อาชวนันทกุล (๑๗) คุณสารี อ๋องสมหวัง (๑๘) คุณพงษ์สุข หิรัญพฤกษ์ (๑๙) คุณสมา โกมลสิงห์  (๒๐) คุณไกลก้อง ไวทยากร (๒๑) คุณปรเมศร์ มินศิริ

ดำเนินการเสวนาโดย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์

๑๖.๐๐ น. – ๑๖.๑๕ น. สรุปการเสวนาจุดประกายความคิดโดย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ และ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
๑๖.๑๕ น. – ๑๖.๓๐ น. ปิดการเสวนาโดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
หมายเลขบันทึก: 310299เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท