จากใยกล้วยสู่กระดาษหลากสีสัน


จากใยกล้วยสู่กระดาษหลากสีสัน จับปั้นแต่งเป็นตุ๊กตาเปื้อนรอยยิ้ม

              “ฉันเรียนศิลปะ และกลายเป็นนักเขียน วิถีชีวิตของฉันพัวพันอยู่กับกระดาษ แต่ฉันไม่รู้ ว่ากระดาษทำอย่างไร ฉันทดลองทำกระดาษด้วยความรู้ลึกถึงความน่าจะเป็นไปได้ฉันทำแล้ว ทำอีก สังเกตและทำความเข้าใจ และทำมันอย่างทำงานศิลปะ กระดาษของฉันจึงมีบุคลิกแตกต่าง และเป็นความภาคภูมิใจ ต่อมาฉันทำตุ๊กตาด้วยกระดาษที่ผลิตเอง ตัวแรกนั้นพิกลพิการ แต่เปี่ยมด้วยอารมณ์ขันแต่ยามนี้เป็นตุ๊กตาอย่างที่คุณเห็น เป็นตุ๊กตาที่ฉันทำขึ้นด้วยความรัก และความสุข...” นี่คงเป็นคำตอบของทั้งหมดของแรงบันดาลใจของทีมงานผู้ผลิตตุ๊กตาจากกระดาษใยกล้วยที่สร้างสรรค์ผลงานเปื้อนรอยยิ้มให้กับผู้พบเห็น

                                
นายเลิศชาย สินเสริฐ ผู้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปั้นธุรกิจ “ตุ๊กตากระดาษใยกล้วย” เล่าว่า ในช่วงแรกตนเองกับเพื่อนทำงานประจำ แต่มีแนวคิดที่จะทำกระดาษขึ้นเอง โดยอาศัยการลองผิดลองถูกไปเรื่อย โดยไม่ได้คิดทำออกเป็นธุรกิจอย่างในปัจจุบัน เพียงแต่ต้องการรู้วิธีการทำ และขั้นตอนต่างๆ จนเริ่มสนุกกับการทดลองนำใยพืชชนิดต่างๆ มาทำเป็นกระดาษขึ้น เช่น ใยของต้นสอยดาว ใยสับปะรด สุดท้ายจึงมาลงตัวที่กระดาษใยกล้วย เนื่องจากเมื่อนำใยกล้วยมาทำเป็นกระดาษแล้ว เส้นของกระดาษจะมีความคงทน มันเงา และมีความเหนียวกว่าพืชชนิดอื่น เพราะใบกล้วยจะมีลักษณะยาวทำให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพสูง
              “ตอนแรกเราแค่คิดอย่างทำกระดาษจากธรรมชาติขึ้นเอง ซึ่งเป็นเพียงความอยากรู้อยากลองเท่านั้น สุดท้ายจึงมาลงตัวที่กระดาษเส้นใยกล้วย โดยใช้เวลาคิดค้นเป็นปี ซึ่งเมื่อพวกเราทำกระดาษใยกล้วยได้แล้ว ก็ลองมาประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา และกระดาษห่อของขวัญสีสันสวยงาม และนำไปแจกเพื่อน ซึ่งเพื่อนๆ ก็ชื่นชอบ และสนใจสั่งไปจำหน่าย ทำให้เรามองเห็นลู่ทางทางการตลาดว่าตุ๊กตาจากกระดาษใยกล้วย หากศึกษาตลาด และศึกษากลุ่มผู้บริโภคอย่างจริงจัง น่าจะทำเป็นธุรกิจได้”

 

ในช่วงแรกได้เริ่มขายแต่กระดาษใยกล้วยเท่านั้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นผู้ที่ทำธุรกิจแพคเกจจิ้ง ต่อมาจึงได้เพิ่มการทำเป็นตุ๊กตาจากระดาษใยกล้วยเพิ่มขึ้นภายใต้แบรนด์ “Bana” เนื่องจากได้ราคาดีกว่า และเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
   
       ทั้งนี้ตุ๊กตาจากกระดาษใยกล้วยที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาขึ้นจากในช่วงแรกที่ทำเป็นพียงตุ๊กตาตั้งโชว์เท่านั้น แต่ปัจจุบันทางทีมงานได้ออกแบบให้ตุ๊กตาเป็นของประดับ โดยจับไปรวมกับเข้าของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่าง กล่องใส่กระดาษทิชชู กล่องใส่ของกระจุกกระจิกต่างๆ กล่องใส่นามบัตร ดอกไม้ และกล่องใส่ดินสอ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกด้วย
“การทำธุรกิจนี้ในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างลงตัว คือเราจะไม่กำหนดรูปแบบของตุ๊กตามากนัก อาศัยการดัดแปลงรูปแบบไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งคอนเซ็ปต์ตุ๊กตาที่มีรูปลักษณ์เหมือนตุ๊กตาในเทพนิยาย ซึ่งต้องใส่กระโปรงบานๆ ยาวๆ หรือแม้แต่ตุ๊กตาผู้ชาย เราก็จะเน้นการแต่งตัวที่ไมได้ทันสมัยมากนัก แต่ดูดี และมีรสนิยม ซึ่งเทื่อเราได้นำตุ๊กตาทั้งชายและหญิงมาจับคู่กัน ก็สามารถทำเป็นของขวัญสำหรับวันแต่งงานได้ โดยเป็นของขวัญที่แปลกและไม่เหมือนใคร”

                      
        
       ส่วนออเดอร์ในขณะนี้ เลิศชาย บอกว่า ยังไม่ถือว่าเยอะมาก เพราะยังอยู่ในช่วงศึกษาตลาด และหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ซึ่งถือเป็นข้อด้อยของผู้ที่เรียนจบมาทางด้านศิลปะ แต่ถึงแม้จะยังไม่เก่งเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจ สินค้าของ Bana ก็สามารถส่งออกไปทำตลาดต่างประเทศได้ เช่น ญี่ปุ่น และประเทศในแถบอเมริกาใต้ ส่วนการจำหน่ายในไทย จะเป็นการขายผ่านทางเว็บไซน์เป็นส่วนใหญ่

สำหรับกำลังการผลิตจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของตัวตุ๊กตาและออเดอร์จากลูกค้าที่สั่งเข้ามา แต่กำลังการผลิตที่เคยทำได้สูงสุดคือ 2,000 ตัว/เดือน ซึ่งขั้นตอนที่ทำยากและเสียเวลามากที่สุดคือการขึ้นโครงสร้างของตุ๊กตา จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และคิดอิริยาบทใหม่ๆ ให้กับตัวตุ๊กตา ซึ่งราคาขายจะเริ่มต้นที่ 300- 1,500 บาท

                                   
         
       
โดยในอนาคตทางทีมงานออกแบบของ Bana ได้วางแผนที่จะออกแบบตุ๊กตาจากกระดาษใยกล้วยให้เป็นเซ็ตมากขึ้น และสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ รวมถึงจะออกแบบเป็นแม่มดประเทศต่างๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติโดยเฉพาะ เพราะปัจจุบันสัดส่วนของการส่งออกจะอยู่ที่ 80% และจำหน่ายในประเทศประมาณ 20%

                                

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31005เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จากใยกล้วยสู่กระดาษหลากสีสัน จับปั้นแต่งเป็นตุ๊กตาเปื้อนรอยยิ้ม   แล้วออกแบบให้ตุ๊กตาเป็นของประดับ โดยจับไปรวมกับเข้าของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่าง กล่องใส่กระดาษทิชชู กล่องใส่ของกระจุกกระจิกต่างๆ กล่องใส่นามบัตร ดอกไม้ และกล่องใส่ดินสอ เป็นต้น  อ่านแล้วอยากจะทำให้เป็น

http://gotoknow.org/todsaporn

มาแวะชมบล็อกนี้แล้วพัฒนาไปเร็วจัง   มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจพัฒนาต่อไปนะคะ

http://gotoknow.org/wongpet2511

ดีมากครับพัฒนาไปเยอะ กรุณาทำลิงค์ถึงเพื่อน ๆ ด้วย และอย่าลืมแวะไปชมของคนอื่นเขา และนำมาพัฒนาของตนเองไปด้วย

  ขอคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยม  เมื่อไหร่จ๊ะจะอัพโหลดใหม่

ก็สวยดีนะครับ เเต่วิธีการทำน่าจะค่อยข้างจะอยากนิดหนึ่งแต่ยังก็ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

สวยมากค่ะ   ชอบงานฝีมือค่ะ   อยากเรียนกับอาจารย์จังเลยค่ะ

ไอเดียดีนะค่ะ...หนูชอบน่ารักดี

ตอนนี้อาจารย์สั่งให้หาทำโครงการเกี่ยวกับเส้นใย

แต่หนูยังไม่มีแนวคิดดีๆเลย

ถ้ามีแนวคิดดีๆๆ...ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ...อาจารย์

อยากรู้วิธีการทำกระดาษจากใยกล้วย คือจะเอาไปทำโครงงาน

หวัดดีครับ

ผมสนใจงานพี่มาก

ผมอยากจะรับงานพี่มาขายครับ

ติดต่อกลับด้วยครับ

0844318501 บูม

น่าสนใจมากเลยอยากทำมาก

เก่งจริง ๆเลยคะ

สนใจอยากสั่งซื้อ ตุ๊กตาใยกล้วยของคุณเลิศชาย สินเสริฐ สั่งซื้อได้ที่ไหนคะ

รบกวนตอบทาง e-mail ด้วยค่ะ

ใยกล้วยทำยังไงเหรอคะ สามารถทำเองได้มั้ยคะ ?? 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท