เกณฑ์เดิมคัดแอดมิชชั่นปี 53-54


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

          ได้อ่านข่าวไทยรัฐ ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 2552 ระบุว่า ทปอ. ยัน ใช้เกณฑ์เดิมคัดแอดมิชชั่นปี 53-54 ไฟเขียวเฉพาะนักเรียน ม.6 สอบ GAT-PAT ปีละ 3 หน โดยให้สอบเดือน ก.ค. หวังช่วยมหาวิทยาลัยภูมิภาครับตรง ลดภาระเด็ก ...

          ทั้งนี้จากการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย วันนี้ (31 ต.ค.52) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธาน ทปอ. เผย ภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติให้ใช้หลักเกณฑ์เดิมในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในนระบบแอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2553 และ 2554 เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรหรือจีพีเอเอ็กซ์ 20% คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต 30% คะแนนแบบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT จำนวน 10-50% คะแนนแบบวัดความถนัดวิชาการ/วิชาชีพหรือ PAT จำนวน 0-40% โดยจะไม่เพ่ิมการสอบ PAT ใดๆ ทั้ง PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ และ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ 

           ส่วนการสอบ GAT-PAT มีมติให้นักเรียน ม.6 เท่านั้นที่จะสอบได้ และ สอบได้ปีละ 3 ครั้ง คือ เดือน ก.ค. ต.ค.และ มี.ค. ในปีถัดไป และเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี ส่วนข้อเสนอให้ใช้คะแนนดิบหรือคะแนนมาตรฐานนั้น ในปี 2553 จะใช้คะแนนดิบตามเดิม ส่วนปี  2554 ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง

           ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะรองประธาน ทปอ. กล่าวว่า ที่ประชุม ทปอ. หารือกันมากถึงข้อเสนอของกลุ่มคณะวิชาต่างๆ ที่เสนอให้มีการเพ่ิม  PAT ต่างๆ  แต่สุดท้าย ก็มีมติไม่เพ่ิม PAT เพื่อไม่ให้เด็กต้องสอบมากเกินไป ทั้งเห็นว่าปัญหาของคณะวิทยาศาสตร์ ไม่ได้อยู่ที่การสอบคัดเลือก แต่อยู่ที่ค่านิยมของเด็กที่ไม่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายพยายามแก้ไข โดยจะต้องจูงใจให้เด็กมาเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น ให้ทุนเรียนถึงปริญญาเอก และ วางเส้นทางการพัฒนาอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กเห็นเส้นทางของอาชีพนี้

          ด้าน รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่น กล่าวว่า เดิมคณะทำงานเสนอให้สอบ GAT-PAT ปีละ 2 ครั้ง คือ เดือน ต.ค.และ มี.ค.ในปีถัดไป แต่ที่ต้องเพ่ิมการสอบเดือน ก.ค. เพื่อรองรับระบบการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ซึ่งเราไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยออกข้อสอบเอง และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับเด็กและผู้ปกครอง

          คงเป็นข่าวที่ดีสำหรับนักเรียน ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยครับ

หมายเลขบันทึก: 309998เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อันนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ดี...แต่ที่น่าเป็นห่วงคือหลายโรงเรียนและผู้สอนไม่เข้าใจระบบใหม่ในการสอบ เลยสอนไปแบบตามมีตามเกิด

การจัดโครงการก็ไม่ได้มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ผมอยากให้มีโครงการของสามจังหวัดฯที่ตอบโจทย์การศึกษาในระบบสอบใหม่อย่างจริงจัง แล้วยินดีที่จะ่ช่วยครับ ผมมองว่าตอนนี้ที่ทำได้ดีและเห็นผลชัดมากกว่าหน่วยงานของรัฐ คือ ของ อบจ.ปัตตานี ครับ ด้วยวความเคารพ

เรื่องนี้ต้องพูดกันอีกนานค่ะ

การสอบ GAT, PAT นับว่าดี ตัดสินใจถูกแล้ว เพราะว่า โดยหลักการแล้ว :

(๑) ทั้ง GAT,PAT นั้น ล้วนแต่เป็นข้อสอบ (หรืองานชุดหนึ่ง) ที่วัด "ความสามารถด้านปัญญา" ประเภท "ความสามารถพหุคูณ" หรือ Multiple Factor ที่เรารู้กันแล้ว โดยใช้ "สิ่งเร้า"(ข้อสอบ)ที่เด็กเคยพบมาแล้วที่โรงเรียน (เช่น +,- , x, หาร, ยกกำลัง, ฯลฯ) "เสมอกันทุกคน" อาจจะลำเอียงอยู่บ้าง แต่ถ้าผู้ออกข้อสอบกวดขันเรื่องหลักวิชาการสร้างข้อสอบและการวิจัยข้อสอบแล้ว ความลำเอียงเหล่านี้จะถูกขจัดออกไปได้ส่วนหนึ่ง

(๒) จะขจัดความลำเอียงจากการกวดวิชาได้ส่วนหนึ่ง เพราะว่า ถ้าเป็นข้อบวัดความถนัด "แท้จริง" แล้ว ความลำเอียงนี้จะถูกขจัดออกไปได้ "ส่วนหนึ่ง" อาจจะทำให้ "ช้างเผือกในป่า" มาโผล่ที่ "มหาวิทยาลัยหัวแถว"ได้บ้างก็ได้

อนึ่ง เหตการณ์ที่เปนจริง อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยนั้น "ไม่ได้เรียรู้หลักวิชาการเขียนข้อสอบ" มาทุกคน ถ้าอาจารย์เหล่านนั้นเขียนข้อสอบ "คัดเลือกคนฉลาด" หรือ "ความถนัด" เข้าเรียนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ก็จะ "เสี่ยงต่อความลำเอียง" และได้คนที่ไม่เก่งจริง เขาสอบได้เพราะกวดวิชาเข้ามา เคยทำข้อสอบนับหมื่นๆข้อ สอบปีนี้ไม่ได้สอบใหม่ปีหน้า ชนิดที่ว่า เปิดข้อสอบก็ได้คำตอบ เมื่อเข้าเรียน ก็พบว่า ถูกรีไทร์เป็นแถว มีหรือที่เด็กฉลาดจะถูกรีไทร์ เปรียบเหมือนได้เหล็กน้ำพี้มาแล้ว ทำไปทำมา เหล็กน้ำพี้จะกลายเป็นเหล็กเหลว มหาวิทยาลัยน่าจะเหลียวมองเรื่องนี้นานมาแล้ว

เพื่อที่จะคัดเลือกได้คนเก่งจริงไว้ใช้พัฒนาสังคมของเรา ใช้ GAT นั่นแหละดีแล้ว พร้อมกับกวดขันให้ผู้สร้างแบบทดสอบเหล่านั้นพัฒนาให้ดีที่สุดก็แล้วกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท