การใช้มิติคุณภาพ ( Rubrics ) ในการประเมิน


ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 มีเจตนาที่จะให้ผู้ประเมินนำเอาผลงานที่เกิดขึ้นจริงในการเรียนรู้มาใช้เป็นหลักฐาน ร่องรอยในการบอกฝีมือ สมรรถนะ และความรู้ของผู้เรียน ซึ่งเรียกว่า การประเมินตามสภาพจริง และการประเมินในแบบดังกล่าวนี้ ผู้ประเมินต้องมีคำอธิบายคุณภาพ กำหนดมิติที่จะประเมินอย่างชัดเจน เรียกว่า มิติคุณภาพหรือ Rubrics

ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 มีเจตนาที่จะให้ผู้ประเมินนำเอาผลงานที่เกิดขึ้นจริงในการเรียนรู้มาใช้เป็นหลักฐาน ร่องรอยในการบอกฝีมือ สมรรถนะ และความรู้ของผู้เรียน ซึ่งเรียกว่า การประเมินตามสภาพจริง และการประเมินในแบบดังกล่าวนี้ ผู้ประเมินต้องมีคำอธิบายคุณภาพ กำหนดมิติที่จะประเมินอย่างชัดเจน เรียกว่า มิติคุณภาพหรือ Rubrics และในงานชิ้นเดียวกันก็สามารถประเมินได้หลายมิติหลายแง่ หลายมุม และหลายสาระการเรียนรู้ การประเมินดังกล่าวนี้ มิใช่การประเมินโดยแบบทดสอบข้อเขียนที่ต้องจัดทำพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ทุกคนต้องสอบด้วยเครื่องมือเดียวกัน แต่จะเป็นการประเมินโดยใช้งานปกติที่สอนในหน่วยการเรียนเป็นสิ่งที่ใช้ประเมินได้เลย ผู้เรียนบางคนอาจแสดงคุณภาพในงานชิ้นที่ 1 ตามแผนการสอนหน่วยที่ 1 บางคนก็แสดงในงานชิ้นที่ 2 ตามแผนการสอนหน่วยที่ 2 เป็นต้น แต่เมื่อเขาแสดงออกในคุณภาพระดับใดระดับหนึ่งแล้วผู้สอนก็จะเฝ้าระวังและคอยสังเกตดูว่าเขาจะพัฒนาสูงขึ้นอีกเมื่อใด ก็นำงานที่เขาทำได้ดีขึ้นอีกระดับหนึ่งนั้นมาเสนอเป็นคุณภาพที่พัฒนาขึ้น ผู้สอนจึงต้องชำนาญในเรื่องมิติคุณภาพหรือ Rubrics ในงานที่จะสอน เวลามอบหมายงานก็จะต้องอธิบายคุณภาพไปในตัว ผู้เรียนก็จะเห็นชัดเจนว่าต้องทำงานแบบใด เนื่องจากการประเมินโดยใช้มิติคุณภาพเป็นการอธิบายระดับคุณภาพของงานในทิศทางที่ไม่ตรงกันในวิชาการวัดผล นักวัดผลถือว่าปริมาณเหล่านี้ไม่สามารถรวมกันได้โดยตรง เพราะหน่วยของการประเมินไม่ใช่มาตรฐานเดียวกัน เช่น ในการประเมินโครงงาน ผู้ประเมินอาจแยกมิติเป็นการคิด การลงมือทำ การแก้ปัญหา การนำเสนอและผลงานแต่ละมิติก็จะมีคุณค่าต่างกัน จึงไม่สามารถมารวมกันได้ การประเมินโดยใช้มิติคุณภาพนี้ ต้องการเน้นว่าความสามารถด้านใดของผู้เรียนยังบกพร่องต่ำอยู่ ก็จะได้เร่งรัดในด้านนั้นๆ เพื่อให้มีคุณภาพโดยรวมดียิ่งขึ้นอันเป็นการประเมินแบบวินิจฉัย จำแนกแยกแยะไปด้วยในตัว ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเพิ่มเติมการประเมินตามสภาพจริง หรือการประเมินด้วย Rubrics จึงไม่นิยมจัดทำเป็นคะแนนรวม แต่จะกำหนดเป็นจุดต่ำสุดในแต่ละด้านๆ ว่าควรได้เท่าใดเป็นอย่างน้อยจึงจะทำให้คุณภาพรวมดีขึ้น เป็นที่ยอมรับได้เช่น เรื่องค่านิยม คุณธรรม ถ้าอธิบายได้มีเหตุผลอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลงมือปฏิบัติแสดงจริงด้วยระดับใดดีแสดงอย่างเต็มใจก็พอแต่ถ้าแสดงอย่างชื่นชมด้วยก็ยิ่งดี แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์ที่สุดก็จะต้องแสดงจนเป็นอัตโนมัติ ด้วยความภาคภูมิใจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยรวมอย่างเสมอหน้ากัน ถ้าเรามองภาพเช่นนี้การพัฒนาก็จะต้องเพิ่มพูนทั้งการแสดง(มิติที่ 1) การมีเหตุผลเพื่อปวงชน(มิติที่ 2) และความภาคภูมิใจ (มิติที่ 3) เราก็จะได้ค่านิยมที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ครูและนักวัดผลที่ยังติดอยู่กับวิธีเก่า มีความต้องการที่จะรวมคะแนนให้เป็นคะแนนเดียวก็จะต้องตอบคำถามข้อแรกให้ได้เสียก่อน คือ ค่านิยม ประกอบด้วยการแสดง การคิด และความภูมิใจใช่หรือไม่ จะมีอะไรอีกแต่ละด้านเมื่อจะมารวมกันจะให้น้ำหนักเท่าใดจึงจะเป็นค่านิยมที่สมบูรณ์เรียกว่า การกำหนดองค์ประกอบและน้ำหนัก การทำเช่นนี้ผู้ประเมินก็จะได้ Analytic Rubrics ที่มีการอธิบายเป็นมิติละเอียด และการให้น้ำหนักในการนำมารวมกัน เมื่อมีการกำหนดค่าน้ำหนักและมิติคุณภาพแบบละเอียดแล้ว ก็นำเอามิติคุณภาพไปประเมินผู้เรียนในด้านต่างๆ หลังจากนั้นก็นำคะแนนมาคำนวณให้เป็นคะแนนรวม

คำสำคัญ (Tags): #edkm#erkm#สพท.สน.2
หมายเลขบันทึก: 309907เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้วความภูมิใจนี่วัดยังไงครับ มันวัดแล้ว นำมาคิดเป็นคะแนน ได้ด้วยเหรอครับ

เยี่ยมชมแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท