หนึ่งปีที่หายไป กับการเริ่มต้นใหม่


รู้แล้วไงต่อ?

เมื่อวานกลับมาเขียนเรื่องราวใน gotoknow ใหม่ หนึ่งปีทีเดียวหรือที่หายไป ทั้งที่รู้สึกว่าแวบเดียวเอง เกือบสามร้อยหกสิบห้าวันหรือนี่

เมื่อมาใหม่ อะไรๆ หลายอย่างแปลกใหม่สำหรับตัวเอง ทำให้ต้องกลับไปอ่านคู่มือการใช้งานฯ ที่ต้องขอบคุณคุณเขียนที่เขียนไว้อย่างละเอียดละออ จึงอ่านทบทวนความจำ และปรับแต่งหน้าตาของตัวเองให้มีสีสันขึ้นมาบ้าง ส่วนสวยๆ แบบการใช้ css ขอเก็บไว้ที่หลังก่อน

เมื่อทำให้แบบนี้ จึงนึกถึงเรื่องการพัฒนาบุคลากรที่ตัวเองหน้าที่รับผิดชอบอยู่บ้าง และคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่นี่

โดยในปีที่ผ่านมาเมื่อจะ "พัฒนา" เรื่องอะไร จะบอกรายละเอียดให้อ่านหรือหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ไหน และควรลองปฏิบัติก่อนเข้าร่วมกิจกรรม เพราะไม่ต้องการให้เข้ามาเป็นนักเรียนที่เรียนจบ แล้วไม่รู้ว่าจะมีผลอย่างไร ทำต่อหรือไม่ หรือยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เหมือนเมื่อครั้งยังไม่ได้เรียน เพราะหน่วยงานไม่ได้ตามไปสอบ ไม่มีคะแนน มีแต่ผู้เกี่ยวข้องและผู้บริหารตามไปบ่นๆ แทน

การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แทนการนั่งฟังวิทยากร หรือคุณครูจำเป็นร่ายยาว แบบมีกรณีศึกษา มีปัญหาให้มาช่วยกัน จะทำให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นแบบแตกแขนง และมีคู่มือที่ใช้ได้จริงๆ และยิ่งช่วยกันเขียน ช่วยกันเติมเต็มคู่มือนั้นให้สมบูรณ์ ทั้งจากคนที่ไม่รู้อะไรเลย ไปจนถึงคนที่รู้เยอะๆ จากคนที่เคยทำงานแบบนี้ ไปใช้แบบนั้น ก็น่าจะดีกว่าคู่มือที่มีคนเดียวเขียน ในมุมเดียว รวมทั้งการตัดต่อ ตัดตอนมาให้รู้เป็นบางส่วน เฉพาะในสิ่งที่คิดว่าคนเข้ามาเรียนควรรู้แค่นั่น แค่นี้ ฯลฯ

"คู่มือ" แบบช่วยกันเขียน เป็นในลักษณะคู่มือของ "พวกเรา" ส่วนใครจะนำคู่มือนั้นไปเขียนให้ลึกซื้ง ต่อยอดในมุมของงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งสร้างผลงานขึ้นมาใหม่ก็น่าจะดีกว่า เขียนคู่มือการใช้งานแบบทั่วๆไป ที่หาอ่านได้ง่ายและมากมายในโลกของอินเทอร์เน็ต

เรื่องๆ หนึ่ง สายตาของคนทำงานบริการ กับคนทำงานธุรการ หรืองานซ่อมหนังสือ หรือบรรณารักษ์แต่ละคนมองต่างกัน หากเราใช้ต่างกัน สร้างชิ้นงานต่างกัน แล้วมาหาคำตอบในคำถามที่ว่า รู้แล้วไงต่อ? จะดีกว่าไหม? 

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ต่อยอดมากๆ ขึ้นจะเพิ่มพูนความรู้และสติปัญญาให้กับพวกเรา เป็นรากแก้วที่แข็งแรงและรากฝอยที่มั่นคง 

บทบาทของคนทำงานในห้องสมุดคือประสงค์ให้ผู้ใช้บริการมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สารพัดกลยุทธ์ที่ห้องสมุดสร้างกิจกรรม information literacy แต่บางครั้งดูไปดูมาเราลืมพวกเรากันเอง

หากไม่มี information literacy ในตัวเองแล้ว การทำงานหรือจูงใจผู้อืน เป็นเรื่องยากยิ่งนัก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 309890เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • หายไปนานมากๆๆ
  • น้องจิเคยเล่าให้ฟัง
  • แต่ไม่เคยพบตัวเป็นๆๆ
  • ขอนำเสนอพี่ดาวครับ
  • เผื่อจะได้เป็นเครือข่ายในการทำงาน
  • พี่ดาวลูกไก่
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ไม่พบน้องจินานแล้วเหมือนกันค่ะ จนนึกว่าจบไปแล้วค่ะ

คุยกับพี่ดาวลูกไก่แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ทักทาย ต่อไปจะเข้ามาทุกวันแล้ว เพราะที่นี่เพื่อนเยอะดีค่ะ

ไมยอมเป็นพี่นะคะ...คลับคล้ายคลับคลาว่าจะคุ้นเคยมานาน (สมัย Pulinet ออกสตาร์ท ^^) ตอนนี้ขอความช่วยเหลือ(นอก G2K) ค่ะ  เจียดเวลาไปทำฟาร์มกันนะคะ (ออกอาการเสพย์ติดค่ะ)

555 หลังจากที่เขียนไปแล้วกลับไปดูอีกครั้งอ้าวววว...ไล่ๆ เลี่ยๆ กันนี่หว่า แต่โพสต์ไปแร้ววว...หวังจะเลยตามเลยนะเนี่ย...ดังนั้นครั้งต่อไปเรามาเป็นเพื่อนกันดีกว่า... เหนื่อยเนอะกับงานที่ต้องคอยบิ้วท์อยู่ตลอดเวลา..สู้ๆบอกตัวเองน่ะ แต่เสียงเริ่มแผ่วๆ ค่ะ

สวัสดีคะ แวะมาเยี่ยม สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท