งานแต่งตามประเพณีจีน


แขกที่มาร่วมงานส่วนใหญ่จะเป็นแขกของพ่อแม่ที่ทำธุระกิจอยู่ในอำเภอ

      ก่อนจะถึงพิธีแต่งงานมักจะเริ่มต้นด้วย ความตกลงปลงใจระหว่างสองฝ่ายว่าจะร่วมชีวิตด้วยกัน  ต่อมาก็เป็นการเข้าสู่พิธีการสู่ขอ โดยผู้ใหญ่ฝ่ายชายเดินทางไปสู่ขอต่อผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง  อาจจะเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือ  กรณีของตนเองจำได้ว่าพ่อแม่และพี่ชายคนโตพร้อมผู้ใหญ่ เดินทางไปสู่ขอที่บ้านพักของญาติที่ฝ่ายหญิงเคยอยู่ด้วยและเคารพนับถือที่อยู่ในกรุงเทพฯ  หลังจากเป็นที่ตกลงกันแล้วก็เป็นการปรึกษาหาฤกษ์งามยามดี และเรื่องพิธีจัดงานหมั้นและงานแต่งต่อไป

        เนื่องจากบ้านเกิดที่พ่อแม่และญาติส่วนใหญ่อาศัยอยู่ อยู่ที่โคราช แต่เพื่อน ๆ ร่วมงานและผู้ที่เคารพนับถือ รวมทั้งผู้บังคับบัญชาอยู่ที่เชียงใหม่ จึงจำเป็นต้องจัดงานทั้งสองที่  เพราะการเดินทางไกลในสมัยโน้นค่อนข้างลำบากกว่าสมัยนี้มาก

        งานที่โคราชตามประเพณีจีน เริ่มตั้งแต่เช้ามืดตามปกติของแทบทุกคู่แต่งงาน  ขบวนของผู้ใหญ่และเจ้าบ่าวพร้อมสินสอดทองหมั้น และสิ่งของอื่น ๆ ตามประเพณี  ประกอยด้วยจำนวนคนที่มา รวมกันแล้วต้องเป็นจำนวนเลขคู่  เดินทางมายังที่พักของเจ้าสาว  (ลำดับขั้นตอนโดยละเอียด ที่ถูกต้อง ผมไม่แน่ใจครับ....ท่านใดทราบโปรดชี้แนะด้วย เท่าที่จำได้มีดังนี้)

        ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายนั่งพร้อมกัน ที่ชุดรับแขกที่เตรียมไว้  พูดคุยกันถึงเรื่องการมาขอหมั้นและแต่งงาน   มีการนำสินสอดทองหมั้นออกมาแสดง เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้เห็นและรับทราบ  แล้วพ่อเจ้าสาวไปรับเจ้าสาวที่รออยู่ในห้องพร้อมพี่เลี้ยงเพื่อออกมาทำพิธีหมั้น  เจ้าบ่าวสวมแหวนหมั้นให้เจ้าสาว  และแลกแหวนเกลี้ยง (ถ้ามี)  เสร็จแล้วเป็นการเลี้ยงรับรอง (น้ำชากาแฟและอาหารว่าง) ผู้ที่มาร่วมงาน   หลังจากนั้น พี่เลี้ยงเจ้าสาวพาเจ้าสาวขึ้นไปเปลี่ยนชุดที่บนห้อง เพื่อเดินทางไปบ้านเจ้าบ่าว  เมื่อพร้อมแล้วเจ้าบ่าวขึ้นไปรับเจ้าสาว ซึ่งจะต้องผ่านประตูเงิน ประตูทอง และประตูเพชร...สำหรับบางคน  (ขั้นตอนที่ต้องผ่านประตูต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่าอยู่ช่วงไหนแน่ครับ....ขออภัย)  เจ้าบ่าวนำช่อดอกไม้ไปมอบให้เจ้าสาว ติดช่อดอกไม้ผ้าสีชมพูให้เจ้าสาว มอบปิ่นทองปักผมให้เจ้าสาวพร้อมใบไม้โชคลาภ....เพื่อทัดที่หูตามประเพณีจีน  ก่อนพาเจ้าสาวลงไปขึ้นรถที่จอดรออยู่ด้านล่าง แล้วเดินทางไปยังบ้านเจ้าบ่าว

         เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว ก็จะพิธีไหว้ฟ้าดิน เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษ ก่อนที่จะขึ้นไปพักผ่อนบนห้องพัก  มีการรับประทานขนมบัวลอยไข่หวานในห้องพัก เป็นอาหารมงคล  ช่วงสาย ๆ จึงถึงการไหว้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่โดยการยกน้ำชา  พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ก็จะมอบสิ่งของหรือซองเงินเป็นของรับไหว้  เจ้าบ่าวเจ้าสาวมอบของที่ระลึกให้แทนคำขอบคุณ....เป็นการสิ้นสุดพิธี

          ช่วงเย็นก็จะเป็นการจัดเลี้ยงงานมงคลสมรส (โต๊ะจีน)  สถานที่จัดในสมัยนั้น ก็คือที่หอประชุมประจำอำเภอ ที่อยู่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ แขกที่มาร่วมงาน ก็เป็นญาติ ๆ และผู้ใหญ่ในอำเภอ เช่นนายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้กำกับสถานีตำรวจ  ศึกษาธิการอำเภอ ครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และแขกที่มาร่วมงานส่วนใหญ่จะเป็นแขกของพ่อแม่ที่ทำธุระกิจอยู่ในอำเภอนั่นเอง

           ใครมีประสบการณ์ในเรื่องนี้อย่างไร หรือมีข้อคิดเห็นอย่างไร  ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เชิญแลกเปลี่ยนครับ

หมายเลขบันทึก: 309645เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ..มีความหมาย..และเป็นศิริมงคลมากค่ะ...

ครับ เป็นวันเวลาที่มีความหมาย และเราต้องจดจำไปตลอดชีวิตครับ ท่าน P

ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ตอนนี้คิดว่า  หาให้เจอก่อนเหอะชาดา....555

พิธีแต่งงานท่าจะไม่สำคัญสำหรับชาดาแล้วล่ะค่ะ

แค่รู้ว่าเรารักกัน   มี แหวนวงเล็กๆ ไม่ต้องราคาแพงมาแลกกัน เพื่อเป็นสัญญาใจว่าเราจะมีกันและกันตลอดไป  แค่นี้ก็พอแล้วค่ะ หลังจากนั้นก็อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดไป  เป็นกำลังใจให้กันและกัน ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็ร่วมกันฟันฝ่าต่อไป...แค่นี้เองอะค่ะที่อยากมี...แต่หาไม่เจอสักที...(เศร้าไปเลยอะค่ะ....)

  • วันเวลาเปลี่ยน ความคิดและประเพณีหรือแนวปฏิบัติก็เปลี่ยนไปครับ น้องอิง
  • อะไรก็ไม่สำคัญเท่า "เป็นกำลังใจให้กันและกัน ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็ร่วมกันฟันฝ่าต่อไป" อย่างที่น้องอิงว่าครับ
  • ขอให้เจอเพื่อนที่รู้ใจกันเร็ว ๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท