เรื่องราวของ วันที่ 26 ต.ค.52


สิ่งที่ทำ

- ทำทางลบต่อสังคม
- กดกรุงศรี 10,000 จ่ายค่ารถ  น้ำมัน 300  ค่าซ่อม TV 450
- เขียนผลงานประจำสัปดาห์
- พี่สราวุธ เอามาให้

ชื่อผลงาน   รายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้าน การเกษตร  ปี 2549  จังหวัดลำพูน

ความรู้ทางวิชาการหรือแนวคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

 1. ความรู้ คืออะไร วิจารณ์  พานิช (2548) ได้กล่าวไว้ว่า เป็นการยากมากที่จะให้คำนิยาม คำว่า ความรู้คือถ้อยคำสั้นๆ ยิ่งในความหมายที่ใช้ในศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ คำว่า “ความรู้” ยิ่งมีความหมายหลายนัยและหลายมิติ
 ความรู้คือ สิ่งที่เมื่อนำไปใช้จะไม่หมดหรือไม่สึกหรอแต่จะยิ่งงอกเงยหรืองอกงามขึ้นเป็นสารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ  ความรู้เกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้นและเป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบทและกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยความต้องการ
 ในยุคแรกๆ ของการพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการความรู้  มองว่าความรู้มาจากการจัดระบบและตีความสารสนเทศ (Information) ตามบริบท และสารสนเทศก็มาจากการประมวลข้อมูล (data) ความรู้จะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่นำไปสู่การกระทำหรือการตัดสินใจ ในการจัดการสมัยใหม่ มองความรู้ว่าเป็นทุนทางปัญญา หรือทุนความรู้สำหรับการใช้สร้างคุณค่าและมูลค่า (value) เพื่อความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ความรู้” จึงเสนอความรู้ 4 ระดับ คือ  
  1) Know-what เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วนๆ เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาตรีมาหมาดๆ เมื่อนำความรู้เหล่านี้มาใช้งาน ก็จะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง
  2)  Know-how เป็นความรู้ที่มีทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงบริบท เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาตรีและมีประสบการณ์การทำงานระยะหนึ่ง เช่น 2-3 ปี ก็จะมีความรู้ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท
3) Know-why เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้ ว่าทำไมความรู้นั้นๆ จึงใช้ได้ผล
ในบริบทหนึ่ง แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง
4) Care-why เป็นความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ ซึ่งจะเป็นแรงขับดันมาจากภายใน
จิตใจให้ต้องกระทำในสิ่งนั้นๆ เมื่อเผชิญสถานการณ์
การจัดการความรู้คืออะไร วิจารณ์ พานิช สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ (Knowledge Management Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร     เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ และการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายคือการพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ดังนั้นการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย
2.  การจัดการความรู้ในองค์กร  สำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548 )
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด   โดยที่ความรู้มี  2 ประเภท คือ
         1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ   เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
       2)  ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

 

 

 

 

 

 


3. กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 

 

ที่มา : คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้  สำนักงาน ก.พ.ร.

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะ
ช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) การบ่งชี้ความรู้  เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง  อยู่ในรูปแบบใด  อยู่ที่ใคร
2) การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่นการสร้างความรู้ใหม่  แสวงหาความรู้จาก
ภายนอก  รักษาความรู้เก่า  กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อม
สำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน
ใช้ภาษาเดียวกัน  ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5) การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและ
สะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   Web board   บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge
อาจจัดทำเป็น เอกสาร  ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำ
เป็นระบบ  ทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง 
การสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7) การเรียนรู้  ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้
จาก  สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
4.     กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
 

         ที่มา : Robert Osterhoff   คู่มือการจัดการความรู้ สำนักงาน ก.พ.ร.

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) เป็นกรอบ
ความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กร   ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1) การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมและ
สนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น)  โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร  ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีระบบการติดตามและประเมินผล  กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
2) การสื่อสาร เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ  ประโยชน์ที่จะ
เกิดขึ้นกับทุกคน  แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
3) กระบวนการและเครื่องมือ   ช่วยให้การค้นหา  เข้าถึง  ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยน
ความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ ขึ้นกับชนิดของความรู้  ลักษณะขององค์กร (ขนาด  สถานที่ตั้ง ฯลฯ)  ลักษณะการทำงาน  วัฒนธรรมองค์กร  ทรัพยากร
4) การเรียนรู้  เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการ
จัดการความรู้ โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา  กลุ่มเป้าหมาย  วิธีการ  การประเมินผลและปรับปรุง
5) การวัดผล  เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่  มีการ
นำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น  มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้  และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหนได้แก่ วัดระบบ (System)  วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out come)
6) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล   เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณาได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร  แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว  บูรณาการกับระบบที่มีอยู่  ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา
5.  ผู้จัดระบบความรู้หรือ CKO (Chief knowledge officer) เป็นผู้มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานภายใต้วิธีคิดแบบ KM (Knowledge Management) ขึ้นในองค์กร มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในทุกองค์ประกอบ สรุปได้ดังนี้
1)   ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้าน KM เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องทิศทาง การ
วางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์หลักขององค์กร มีการสร้างและใช้ตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (KPI) เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีการจัดการระบบการให้รางวัล และให้การยกย่องที่สอดคล้องกับสมรรถนะการทำงาน
2)   ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมการสร้าง
วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นในทุกช่วงการทำงาน ทั้งก่อนเริ่มงาน ระหว่างการทำงานและเมื่อจบการทำงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนเริ่มงานอาจอยู่ในรูปของการขอคำแนะนำ ขอคำปรึกษาหารือผู้ที่เคยผ่านงานในทำนองเดียวกันมาก่อน เรียกกันว่าเป็นการ ช่วยกันฉันท์เพื่อน(Peer Assist) หรืออาจเป็นการแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติงานที่เห็นว่าดี (Best Practice) ก็ได้ ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพบปะพูดคุยกันเมื่อทำงานเสร็จเป็นช่วงหนึ่งๆ โดยมารวมกันสรุปบทเรียนว่า เท่าที่ผ่านมามีอะไรบ้างที่ถือว่าทำได้ดี และมีอะไรบ้างที่ถือว่ายังบกพร่อง ต้องปรับปรุงแก้ไข ที่เรียกกันทั่วไปว่า “After Action Review”  หรือ “AAR” ซึ่งเมื่องานทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ต้องมีการทำ  AAR ครั้งใหญ่ปิดท้าย เพื่อใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการทำงาน เก็บไว้เป็นบทเรียน เป็นขุมความรู้ สำหรับใช้ประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า
3)  จัดระบบและโครงสร้างสำหรับใช้ “ดักจับ” ความรู้ การดักจับ หรือ “คว้า” ความรู้
จากภายนอกเข้ามาใช้ในองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ CKO จะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการวางระบบ และการจัดโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการหยิบความรู้จากที่อื่นมาใช้และทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับคนในองค์กร
4)  จัดให้มีการสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets) ขึ้นสำหรับภายในองค์กร คือ
นอกจากจะ “คว้า” ความรู้จากที่อื่นมาใช้โดยสะดวกแล้ว ยังต้องมีการจัดระบบภายในเพื่อให้คนในองค์กรสามารถ “ควัก” เอาความรู้ที่มีอยู่มาใช้ได้โดยสะดวกด้วย
5) ส่งเสริมพัฒนาให้เกิด “บุคคลใฝ่รู้” ในองค์กรขึ้นมามากๆ ควบคู่ไปกับการสร้าง
วัฒนธรรมองค์กรให้เป็น “วัฒนธรรมการเรียนรู้” โดยตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ผู้จัดการระบบความรู้นอกจากจะต้องรับผิดชอบในเรื่องทิศทางและการวางกลยุทธ์ KM แล้วยังมีหน้าที่หลักในการจัดโครงสร้างและวางระบบการจัดความรู้ที่ต้องครอบคลุมกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้สองแบบด้วยกัน แบบแรกเป็นการจัดการที่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ คือมองความรู้ในลักษณะเป็น “Stocks of knowledge” ส่วนแบบที่สอง เป็นการจัดการที่มอง กระบวนการ คือเน้นไปที่การไหลเวียนของความรู้ หรือ “Flows of knowledge”
นอกจากนี้ผู้จัดการระบบความรู้ ยังต้องเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการยกระดับความรู้ เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ สามารถสร้างบรรยากาศแห่งการไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นผู้ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของคน เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง ICT อยู่บ้างเพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือ ICT ได้อย่างเหมาะสม และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็น CKO หรือผู้จัดการระบบความรู้ก็คือจะต้องสามารถทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ทั้งนี้เพื่อจะได้ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ในที่สุด
6. การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร ปี 2549 จังหวัดลำพูน
ในปี 2549 จังหวัดลำพูนได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการโดยยึดแนววิสัยทัศน์และ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดลำพูน รวมทั้งนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีเป็นหลักในการวัดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการรวม 4 มิติ 35 ตัวชี้วัด และได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัด สำหรับมิติที่ 4   ด้านการพัฒนาองค์กร น้ำหนักร้อยละ 30 ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด  สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตัวชี้วัดด้าน การจัดการความรู้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาคบังคับ โดยวัดระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ น้ำหนักร้อยละ 8 และจากผลการจัดทำคำรับรองตามประเด็นดังกล่าว จังหวัดลำพูนได้คะแนน 4.974 และได้รับการพิจารณาให้รับเงินรางวัล เป็นเงินจำนวน  177,144.77 บาท รายละเอียด
คำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดลำพูน ในมิติที่ 4   ประกอบด้วย  4  ตัวชี้วัด ดังนี้

มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร  (น้ำหนัก 30 คะแนน)
ตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ ปี 2549 น้ำหนัก
(ร้อยละ) หน่วยงานเจ้าภาพหลัก
ที่รับผิดชอบ คะแนน
ที่ได้
ตัวชี้วัดที่ 1  ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์  8 สำนักงานเกษตรจังหวัด 4.9732
ตัวชี้วัดที่ 1.1 ระยะเวลาของการส่งมอบแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ (1.5) สำนักงานเกษตรจังหวัด 4.8571
ตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับคุณภาพแผนการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ (2.5) สำนักงานเกษตรจังหวัด 5
ตัวชี้วัดที่ 1.3 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์   (4) สำนักงานเกษตรจังหวัด 5
ตัวชี้วัดที่ 2  ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศของจังหวัด 8 กลุ่มงานข้อมูลารสนเทศและการสื่อสาร จังหวัด 4.475
ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนและนำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ 10 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯจังหวัด  4.8132
ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของจังหวัด   (5) กลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯจังหวัดสำนักงานจังหวัด 4.6886
ตัวชี้วัดที่ 3.2  ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จของการดำเนินการตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของจังหวัด   (5) กลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ จังหวัด 4.575
ตัวชี้วัดที่ 4  ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ 4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 5
ที่มา : คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 ด้านการพัฒนาการจัดการความรู้ใน
           องค์กร จังหวัดลำพูน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)
สาระและขั้นตอนการดำเนินการ
หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากพระราชพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์  และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
 จังหวัดลำพูน ได้ดำเนินการจัดการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2549 (2549) ระหว่าง นายสุวัจน์  ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับติดตาม
การปฏิบัติราชการในภูมิภาค พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย
ผู้รับคำรับรอง และ นายอุดม พัวสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้ทำคำรับรองในมิติที่ 4 มติด้านการพัฒนาองค์กร ในประเด็นระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร น้ำหนักร้อยละ 8  ซึ่งได้มอบหมายใน สำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดการความรู้ให้เป็นไปตาม ขั้นตอนที่ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า จังหวัดมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อรายงานผลการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการในประเด็นการจัดการความรู้เพื่อ
สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรปี 2549 ของจังหวัดลำพูน
2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการใน
ประเด็นการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรปี 2549 ของจังหวัดลำพูน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.   จัดตั้งทีมงานการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร ปี 2549
จำนวน  23 คน ประกอบด้วย นายสุรงค์  ปราบโรค รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธาน CKO นายสิทธิพร เภาอ่อน เกษตรจังหวัดลำพูน เป็นหัวหน้าทีมงาน มีหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมร่วมเป็นคณะทำงาน และมีนางจำเนียร แสนราชา เป็นเลขานุการ ตามประกาศ จังหวัดลำพูนเรื่อง แต่งตั้งทีมงานการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ปี  2549  ลงวันที่  31 มกราคม   2549   ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้
            1)  จัดทำแผนการจัดการความรู้ในองค์กร
2)  รายงานผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าในที่ประชุม
3)  ผลักดัน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข
4)  ประสานงานกับคณะที่ปรึกษาและคณะทีมงาน
5)  ดำเนินการตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย
            6)  จัดทำรายงานความคืบหน้าของงานในส่วนรับผิดชอบ
            7)   เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการจัดการความรู้
              8)  เป็นวิทยากรหลักในการจัดการความรู้            
2.  มีการดำเนินการประชุมทีมงานการจัดการความรู้เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ รวมทั้งหมดจำนวน 4 ครั้งเพื่อร่วมกันพิจารณาและวางแผนการดำเนินงาน ตามขั้นตอนและรูปแบบที่สำนักงาน ก.พ.ร.และสถบันเพิ่มผลผลิตได้กำหนดไว้ ผลที่ได้จากการประชุม ปรากฎดังนี้
2.1 คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดขอบเขต KM และเป้าหมาย KM   เพื่อต้องการ
จัดการความรู้ทีจำเป็นต้องมีในกระบวนงาน (Work Process)   เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน   ที่องค์กรได้จัดทำขึ้นไว้ในข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) งบประมาณประจำปี 2548 ซึ่งจังหวัดลำพูนได้จัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตรและได้กำหนดเป้าหมาย ดังนี้

เป้าหมาย KM  (Desired State) หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม
เป้าหมาย KM ที่องค์กรต้องการทำคือ เป้าหมาย KMที่
จังหวัดสามารถจัดการความรู้ เพื่อให้บริหารจัดการ
สินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและปลอดภัยเพื่อการ
บริโภคและส่งออก                  ข้าราชการในสังกัดได้นำความรู้ไปบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและปลอดภัยเพื่อการบริโภคและส่งออก
ในปี 2549 อย่างน้อย 1 ชนิด
ที่มา : คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 ด้านการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร จังหวัดลำพูน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)


2.2 คณะทำงานได้ร่วมกันประเมินองค์กรตนเอง  เรื่องการจัดการความรู้
 (KM Assessment Tool: KMAT) หรือวิธีการประเมินองค์กรตนเองแบบใดก็ได้ที่นอกเหนือจาก KMAT ก่อนที่จะมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ เพื่อทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต้องปรับปรุง รักษาไว้ พัฒนาให้การจัดการความรู้บรรลุผลตามเป้าหมาย KM และจังหวัดลำพูนได้สรุปเป็นภาพรวมของจังหวัดทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้
การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  หมวด 1 – กระบวนการจัดการความรู้
เกณฑ์การประเมินว่าองค์กรของจังหวัด  มีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก   1 – มีน้อย    2 - มีระดับปานกลาง   3 - มีในระดับที่ดี   4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 1 กระบวนการจัดการความรู้ สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 1.1.องค์กรมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องการจัดการความรู้  เพื่อปรับปรุงในเรื่องความรู้   เช่นองค์กรยังขาดความรู้ที่จำเป็นต้องมี หรือองค์กรไม่ได้รวบรวมความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ไม่ทราบว่าคนไหนเก่งเรื่องอะไร ฯลฯ และมีวิธีการที่ชัดเจนในการแก้ไข ปรับปรุง องค์กรมีการวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร แต่ยังไม่ได้เชื่อมโยงถึงการจัดการความรู้    (4)

 1.2.องค์กรมีการแสวงหาข้อมูล/ความรู้จากแหล่งต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรที่มีการให้บริการคล้ายคลึงกัน (ถ้ามี)  อย่างเป็นระบบและมีจริยธรรม องค์กรมีการแสวงหาความรู้/ข้อมูลจากแหล่งต่างๆเมื่อจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่เป็นระบบ ต่างคน ต่างทำ    (4)
 1.3  ทุกคนในองค์กร มีส่วนร่วมในการแสวงหาความคิดใหม่ ๆ  ระดับเทียบเคียง (Benchmarks) และ Best Practices จากองค์กรอื่นๆ   ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และจากองค์กรอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง องค์กรมีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ บ้าง แต่ไม่เป็นระบบ และทำกันเฉพาะกลุ่มงาน  และยังไม่ครอบคลุมทุกคน   (4)
 1.4  องค์กรมีการถ่ายทอด Best Practices อย่างเป็นระบบ  ซึ่งรวมถึงการเขียน Best Practices ออกมาเป็นเอกสาร  และการจัดทำข้อสรุปบทเรียนที่ได้รับ (Lessons Learned) องค์กรมีการจัดทำวารสารความรู้เพื่อเผยแพร่ในบางเรื่อง แต่ยังไม่เป็นระบบ ใครอยากทำก็ทำ   (4)
 1.5  องค์กรเห็นคุณค่า “Tacit Knowledge” หรือ ความรู้และทักษะ ที่อยู่ในตัวบุคลากร ซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน และให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะนั้น ๆ ทั่วทั้งองค์กร องค์กรเห็นคุณค่าของ Tacit Knowledge และพยายามกระตุ้นให้มีการถ่ายทอดความรู้ แต่ไม่ได้ทำเป็นระบบ ส่วนใหญ่ มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เป็นกลุ่มย่อยๆ แต่ไม่มีรูปแบบชัดเจน  (4)

การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  หมวด 2 - ภาวะผู้นำ
เกณฑ์การประเมินว่าองค์กรของจังหวัด  มีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก   1 – มีน้อย    2 - มีระดับปานกลาง    3 - มีในระดับที่ดี     4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 2  ภาวะผู้นำ สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 2.1 ผู้บริหารกำหนดให้การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในองค์กร  ผู้บริหารกำหนดให้การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในองค์กร   (4)
 2.2  ผู้บริหารตระหนักว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Asset)  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้  และมีการจัดทำกลยุทธ์ที่ชัดเจน  เพื่อนำสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ (เช่น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น  ให้บริการได้รวดเร็วและตรงตามความต้องการ  สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น) ผู้บริหารตระหนักว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Asset)  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้  แต่ยังไม่มีการจัดทำกลยุทธ์ที่ชัดเจน  เพื่อนำสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร 
(3)
 2.3 องค์กรเน้นเรื่องการเรียนรู้ของบุคลากร   เพื่อส่งเสริม Core Competencies เดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น และพัฒนา Core Competencies ใหม่ๆ  (Core Competencies หมายถึง ความเก่งหรือความสามารถเฉพาะทางขององค์กร) องค์กรเน้นเรื่องการเรียนรู้ของบุคลากร   เพื่อส่งเสริม Core Competencies เดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น และพัฒนา Core Competencies ใหม่ๆ    (4)
 2.4 การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กร  เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ที่องค์กรใช้ประกอบในการพิจารณาในการ ประเมินผล  และให้ผลตอบแทนบุคลากร การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กร ยังไม่มีการนำไปใช้ในการประกอบการพิจารณาในการ ประเมินผล  และให้ผลตอบแทนบุคลากรเท่าที่ควร (3)

 

 

 

 


การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ หมวด 3 - วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้
เกณฑ์การประเมินว่าองค์กรของจังหวัด  มีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก   1 – มีน้อย   2 - มีระดับปานกลาง   3 - มีในระดับที่ดี    4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 3  วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 3.1 องค์กรส่งเสริมและให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร  องค์กรส่งเสริมและให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร แต่ยังไม่เน้นหนักเท่าที่ควร (3)
 3.2 พนักงานในองค์กรทำงาน  โดยเปิดเผยข้อมูลและมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน พนักงานในองค์กรส่วนใหญ่ทำงานโดยเปิดเผยข้อมูลและมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน  (3)
 3.3 องค์กรตระหนักว่า  วัตถุประสงค์หลักของการจัดการความรู้  คือ การสร้าง หรือเพิ่มพูนคุณค่าให้แก่ผู้ใช้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรตระหนักว่า  วัตถุประสงค์หลักของการจัดการความรู้  คือ การสร้าง หรือเพิ่มพูนคุณค่าให้แก่ผู้ใช้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    (4)
 3.4 องค์กรส่งเสริมให้บุคลากร เกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทำงาน รวมทั้งกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ องค์กรส่งเสริมให้บุคลากร เกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทำงาน รวมทั้งกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ     (4)
 3.5 ทุกคนในองค์กรถือว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน  ทุกคนในองค์กรถือว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน
  (3)

 

 

 


การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ หมวด 4 – เทคโนโลยีการจัดการความรู้
เกณฑ์การประเมินว่าองค์กรของจังหวัด  มีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก    1 – มีน้อย   2 - มีระดับปานกลาง    3 - มีในระดับที่ดี      4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 4 – เทคโนโลยีการจัดการความรู้ สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
4.1.เทคโนโลยีที่ใช้ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภายในองค์กรและกับองค์กรภายนอก    เทคโนโลยีที่ใช้ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภายในองค์กรและกับองค์กรภายนอก   
 (4)
 4.2.เทคโนโลยีที่ใช้ก่อให้เกิดคลังความรู้ขององค์กร  ( An Institutional Memory )  ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ .เทคโนโลยีที่ใช้ก่อให้เกิดคลังความรู้ขององค์กร  ( An Institutional Memory )  ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้    (4)
 4.3 เทคโนโลยีที่ใช้ทำให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจและใกล้ชิดผู้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น ความต้องการและความคาดหวัง พฤติกรรมและความคิด เป็นต้น  เทคโนโลยีที่ใช้ทำให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจและใกล้ชิดผู้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น ความต้องการและความคาดหวัง พฤติกรรมและความคิด เป็นต้น   (4)
 4.4 องค์กรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเน้นความต้องการของผู้ใช้  องค์กรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเน้นความต้องการของผู้ใช้   (4)
 4.5 องค์กรกระตือรือร้นที่จะนำเท

หมายเลขบันทึก: 308769เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท