อีกครั้ง สวนผึ้ง ในดินแดนมนต์เสน่ห์ เพื่อการแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐ


เมื่อสามวันก่อน ได้ประสานงานทางโทรศัพท์ไปยังอาจารย์วุฒิ บุญเลิศ คนไทยเชื้อสายกระเหยี่ยง ผู้ได้รับการยกย่องในฐานะปราชญ์ของชุมชนกระเหรี่ยง ว่าจะเดินทางไปตั้งวงคุยกันกับผู้นำชุมชนเพื่อตระเตรียมการทำงานแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

               อีกครั้ง สวนผึ้ง ในดินแดนมนต์เสน่ห์ เพื่อการแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐ

            วันนี้ได้มีโอกาสเดินทางลงไปเตรียมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐและไร้สัญชาติ ซึ่งในฐานะที่เคยทำงานในพื้นที่สวนผึ้ง ก็เลยเลือกพื้นที่นี้ในการทำงาน
            เมื่อสามวันก่อน ได้ประสานงานทางโทรศัพท์ไปยังอาจารย์วุฒิ บุญเลิศ คนไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง ผู้ได้รับการยกย่องในฐานะปราชญ์ของชุมชนกระเหรี่ยง กะว่าจะเดินทางไปตั้งวงคุยกันกับผู้นำชุมชนเพื่อตระเตรียมการทำงานแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ  ดังนั้น ในวันนี้ (วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙) จึงต้องตื่นตั้งแต่เช้า (๐๗.๐๐ น.) เพื่อเดินทางไปให้ถึงบ้านของอาจารย์เจริญ ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนอีกคนหนึ่งที่หมู่บ้านห้วยแห้ง ไม่ไกลจากบ้านอาจารย์วุฒิเทาไหร่นัก
           ระหว่างทางได้แวะรับพี่หมอ ผู้ที่เข้ามาเป็นแพทย์ประจำสถานีอนามัยตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นต้นมา พี่หมอเป็นอีกคนหนึ่งที่จะต้องเข้ามาดูแลงานทะเบียนบุคคลในระบบของตัวเอง ทั้งการสอบประวัติและจดบันทึกด้วยวิธีการและการจับข้อเท็จจริงที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับการระบุตัวตนและสถานที่อยู่ รวมไปถึง การไปคัดสำเนาทะเบียนบัตรสีต่างๆ ทั้งบัตรเขียวขอบแดง บัตรฟ้า ไว้เพื่อเป็นหลักฐานในสถานีอนามัย เพื่อจะได้ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล
            ไปถึงบ้านอาจารย์เจริญประมาณเที่ยง (เพราะว่าหลงทาง) พบว่ามีผู้ใหญ่บ้านจาก หมู่บ้าน ห้วยน้ำหนัก และห้วยแห้ง นั่งอยู่ที่บ้านอาจารย์เจริญเรียบร้อยแล้ว อาจารย์วุฒิตามมาสมทบประมาณเที่ยงนิดๆ หลังจากนั้นวงสนทนาจึงเริ่มต้นขึ้น
             หัวข้อหลักของการสนทนา ก็คือ การสร้างเป้าหมายร่วมกันในงานที่จะทำ คราวนี้ เราตั้งเป้าหมายที่การสำรวจตัวบุคคลว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ??? อยู่ตรงไหน ??? และจัดทำเป็นประวัติบุคคลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักการปฐมพยาบาลโรคไร้สัญชาติเบื้องต้นได้ รวมไปถึง การวางยุทธศาสตร์ในการสื่อสารสาธารณะเพื่อให้คนในสังคมไทยรู้จักปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติในสวนผึ้ง หลังจากนั้น ก็จะเริ่มสำรวจแบบเคาะประตูบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก และ ตามด้วยกระบวนการในการจัดการปัญหา
              ประเด็นแรกที่วงสนทนา ตั้งประเด็นขึ้นมา ก็คือ ขนาดของพื้นที่ที่จะลงไปสำรวจ มีทางให้เลือกสองทาง ก็คือ ทำทีละหมู่บ้าน หรือ แสกนพื้นที่ในภาพรวม เพื่อป้องกันปัญหาการไหลทะลักเข้ามาจากนอกชายแดนไทย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะเกิดปัญหาในเรื่องตัวบุคคลทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาใหม่ และชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถระบุจุดเกาะเกี่ยวที่แน่นแฟ้นกับสังคมไทยได้
               ดังนั้น ทางชุมชนจะทำการสำรวจเบื้องต้น หรือ ที่เรียกว่า เช็คชื่อ โดยการเคาะประตูบ้าน และทำการเช็คข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการนับจำนวนและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรากฏตัวและมีถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้าน งานนี้ ชาวชุมชนอาสาเข้ามาทำงานเอง และยังมีภารกิจที่สำคัญก็คือ การทำความเข้าใจกับชุมชน ถึง เป้าหมายของการทำงาน เพื่อ สำรวจสถานะทางบุคคล และแก้ไขปัญหา ตามสถานะที่มี และที่สำคัญ เรากำลังหาทางปิดกั้นโอกาสในการเรียกเก็บเงิน เพราะงานนี้ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทั้งค่าคำร้อง ค่าเขียนคำร้อง
              มาถึงตรงนี้ อาจารย์วุฒิเสริมด้วยข้อเท็จจริงว่า ในสวนผึ้งมีหมู่บ้านอยู่ ๗ หมู่บ้าน หมู่บ้านที่มีปัญหามากที่สุดทั้งจำนวนและความรุนแรงของปัญหาก็คือ บริเวณตะนาวศรี ทุกคนก็เลยตกลงกันว่า ทำการสำรวจแบบสแกนพื้นที่ในรูปแบบของตลาดนัดสิทธิมนุษยชนที่เคยจัดที่แม่อายเพิ่มเติมด้วย
              ประเด็นต่อมาก็คือ การจัดกิจกรรมตลาดนัดสิทธิมนุษยชน เป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่วงทำงานเล็กๆนี้ได้สนทนากัน ถึง การจัดงานตลาดนัดเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะทำการสำรวจแบบสแกนในภาพกว้างถึงจำนวนคน แหล่งพื้นที่ของการอยู่อาศัย แล้วนำมาทำเป็นฐานข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
              นอกจากนั้นแล้ว ในงานตลาดนัด จะมีการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งวงสนทนาอยากให้เกิดภาพของการคุยกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและระหว่างชุมชน
               หลังจากเสร็จงานตลาดนัด เราจะเริ่มลงไปเคาะประตูบ้าน เพื่อสำรวจข้อมูลเชิงลึก แล้วก็จะเริ่มแยกแยะวิเคราะห์กลุ่มปัญหา เพื่อนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะเริ่มต้นจากการปฐมพยาบาล ไปจนถึง การผ่าตัด รักษาโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
             งานนี้ อาจารย์วุฒิ พี่หมอ ผู้ใหญ่บ้าน อาจารย์เจริญ บอกว่าสู้ไม่ถอย
             ในครั้งหน้า เราจะกลับมาเล่าความคืบหน้าในการยกร่างโครงการเพื่อเตรียมยกพลลงพื้นที่ทำงานเลยครับ


 

คำสำคัญ (Tags): #ไร้รัฐ
หมายเลขบันทึก: 30858เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
น่าจะต้องชวนคนที่ กทม. ประมาณท่านจิราพร ท่านจาตุรน ไปเยี่ยมผู้ว่าราชบุรีแล้วมังนะ

เส้นทางจากสวนผึ้งสู่แม่อาย และย้อนกลับสู่สวนผึ้ง ... อีกครั้ง เพื่อเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

โดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

โครงการเด็กไร้รัฐ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=277&d_id=276

ควรเอาบทความนี้มาใส่ไว้ในบล็อกนี้ด้วยซิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท