จิต : วิญญาณ


คำว่าจิตกับวิญญาณ บางคนไปตีความ คำว่าวิญญาณนั้นก็คือจิต แล้วบางคนไปก็ตีความหมายวิญญาณตรงกับภาษาอาหรับที่ว่า รูฮฺ(روح) และรูฮฺในอีกความหมายหนึ่งในอัลกุรอานได้บอกอย่างชัดเจนแก่ท่านนนบีและเราทุกคนว่า

وَيَسْأَلُونَكَ عَنِ الرُّوحِ قُلِ الرُّوحُ مِنْ أَمْرِ رَبِّي وَمَا أُوتِيتُم مِّن الْعِلْمِ إِلاَّ قَلِيلاً [الإسراء : 85

“พวกเขาจะถามเจ้า(โอ้มุฮัมมัด)เกี่ยวกับวิญญาณ จงกล่าวเถิด(ว่า)วิญญาณนั้นเป็นกิจการงานของพระเจ้าของฉัน และฉัน(อัลลอฮฺ)ไม่ได้ให้ความรู้แก่เจ้า เว้นแต่เล็กน้อยเท่านั้น” (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ 17/65)

ถ้าพูดถึงจิตที่หมายถึง รูฮฺ ในแง่นี้แล้วเราไม่ต้องไปพูดต่ออีก เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถขยายไปถึงความจริงได้

อิมาม อัลฆอซาลี ได้ให้ความหมายของคำว่า จิต วิญญาณ ใจ และปัญญา(النفس والروح و القلب والعقل)  ในความหมายที่คล้ายคลึงกัน จะมีความแตกต่างบ้างในรายละเอียด อย่างเช่น

ท่านกล่าวว่า รูฮฺ(ورح:วิญญาณ) เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน เกิดขึ้นจากหัวใจ แพร่กระจ่ายสู่สมองและทั่วร่างกาย โดยผ่านเส้นเลือด เพื่อทำให้เกิดความพร้อมในการเคลื่อนไหวและการทำงาน

ส่วนคำว่า นัฟสฺ(نفس:จิต) เป็นความรู้สึกในทางที่ไม่ดี ที่มีอยู่ในสัตว์และตรงกันข้ามกับความคิดหรือการใช้ปัญญา (บ้านเราเรียกว่า นัฟสู หรือที่ผมเรียกว่า จิตใฝ่ต่ำ)

โบราณจะไม่ใช้คำจิตวิทยา(Psychology) จะใช้คำว่า วิญญาณวิทยา กลุ่มคนที่พยายามแยกศาสนาออกจากหลักวิชาการ เพราะบางศาสนาได้ทำการตัดแปลงและปรุงแต่งศาสนาของตนเองตามที่ต้องการ ทำให้ในบางครั้งหลักวิชาการจึงเป็นเรื่องที่คัดค้านกับหลักศาสนา วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์นี้เห็นว่า คำว่าวิญญาณมีความเข้าใจใกล้ไปทางศาสนา กาลต่อมาจึงคำว่าจิตแทน

คุณสุภาพรรณ ณ บางช้าง(2526)  ได้ให้ความหมายของจิตตามแนวพุทธ ว่า จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รับรู้ อารมณ์ และ วิญญาณ หมายถึง สภาวะจิตที่เป็นการรับรู้ อารมณ์

มุฮำหมัด กุฏุบ (1981) ได้กล่าวว่า วิญญาณ (รูฮฺ : الروح) คืออีกส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งอยู่คู่กับร่างกาย กิจกรรมของรูฮฺได้แก่ อารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ และ ความดี ความชอบ ความเมตตา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเป็นพี่น้องกัน ความรัก ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม

บางคนเขาว่า วิญญาณ เป็นสิ่งหนึ่งที่สิงอยู่ภายในร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่บงการให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่างๆ

ปัจจุบัน จิตวิทยา หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจัดอยู่ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) อย่างที่ มอร์แกน (Morgan,1971:4) เขากล่าวว่า Psychology is the science of human and animal behavior

ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ ในอีกความเข้าใจหนึ่งมันมีส่วนเกี่ยวข้องกันและบางครั้งจะดูเหมือนว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สำคัญอยู่ที่ว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ทั้งภายนอกและภายใน และพฤติกรรมที่ว่านี้ เป็นตัวกำหนดให้ความสุขแก่เราทั้งโลกนี้และโลกหน้า

 

คำสำคัญ (Tags): #จิต#รูฮฺ#วิญญาณ
หมายเลขบันทึก: 308568เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณครับ เนื้อหาชัดเจนครับ

ได้ยินอาจารย์พูดเรื่อง ปรัชญาการศึกษาอิสลาม ผมก็เลยลองเสิรชจากกูเกิล ได้หนังสือเป็น pdf แต่พอพลิกอ่านดูแล้วจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการศึกษารวมถึงจิตวิญญาณด้วย หนังสือชื่อ مقدمة في فلسفة التربية الإسلامية

ขอบคุณครับอาจารย์ ต้องขออนุเคราะห์ไฟล์ด้วยครับ ฮิฮิ ให้ดีแปลได้ด้วยเลย

ตามมาเก็บเกี่ยวไม่ได้มาอ่านหลายวันเนื่องจากติดภารกิจที่ กทม. รู้สึกขาดๆๆครับ ัดเจนดีครับ น่าจะรวมเล่มอีกนะครับ อิอิ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ร่วมเล่มอีกเมื่อไร

อย่าลืมโฆษณาด้วย

เล่มแรกก้พลาดแล้ว

เล่มต่อไปไม่ขอพลาดนะคะ

ดิฉันสนใจเรื่องจิตใต้สำนึกค่ะ อ่านดูแล้วก็รู้สึกได้แนวคิดเพื่อหาข้อสรุปเล็กๆ สำหรับตนเองค่ะ จิตใต้สำนึกที่ดีย่อมสามารถระงับการกระทำที่ไม่ดีได้ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับ ทั้ง อ.

P
และ
P
และขอขอบคุณ คุณ
P
เรื่องจิตใต้สำนึกตามแนวคิดของ ซิกมอนต์ ฟรอยด์ นี้ ผมเองก็พยายามหาคำเปรียบเทียบที่ใช้ในอัลกุรอานหรือหะดีษเหมือนกัน แต่เท่าที่เจอมา อุลามาอฺ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของคนๆนี้

ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วได้รับความรู้มากๆครับ

ขอบคุณค่ะเนื้อหาเข้าใจง่ายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท