ความหมายของหลักสูตร


หลักสูตรจะครอบคลุมถึงองค์ประกอบอะไรบ้าง

ปฏิรูปหลักสูตร : ที่สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

ที่มา : วารสารกองการศึกษาเพื่อคนพิการ ฉบับ ปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2542 – มีนาคม 2543(ปีการศึกษา 2542) หน้าที่ 29 – 32
โดย : สงบ ลักษณะ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ความหมายของหลักสูตร

          หลักสูตร คือ มวลประสอบการณ์ทั้งปวงชนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป
ในแนวทางที่พีงปรารถนาทั้งพฤติกรรมความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆ

          ตามความหมายนี้ หลักสูตร คือ การวางแผนเตรียมการเพื่อการจัดการเรียนการสอน การวางแผนเตรียมการนี้จะครอบคลุม
ถึงทุกสิ่งที่จะเป็นวิถีทางไปสู่ผลลัพธ์คือ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่พึงปรารถนา

โดยทั่วไปหลักสูตรจะครอบคลุมถึงองค์ประกอบต่างๆ คือ

  1. ผลการเรียนรู้ (Learning Outcome) ซึ่งนิยมเรียกว่า มาตรฐานคุณภาพ (Quality Standards) หรือ
    ที่เราคุ้นเคยว่า จุดประสงค์การเรียนรู้
  2. ขอบข่ายเนื้อหาวิชา (Content) ที่อาจเรียกว่าองค์ความรู้ (Body of Knowledge)
  3. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Learning Activities) ที่เราคุ้นเคยในชื่อแผนการสอน หรือ
    กระบวนการ เรียนรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดที่ครูจะคิดค้นกระบวนการที่ดีที่สุด (Best Practice)
    เพื่อรับประกันว่าผู้เรียนทุกคนจะบรรลุผลการเรียนรู้ได้ครบถ้วน

    กำหนดให้จัดหลักสูตรการศึกษาในส่วนสาระหลักที่เป็นแกนกลางของการศึกษาพื้นฐานเพื่อ
    การศึกษาต่อ การดำรงชีวิต ความเป็นคนไทย และความเป็นพลเมืองดีของชาติ ให้สถานศึกษา
    มีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญา
    ท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม

  4. แผนการใช้สื่อการเรียนการสอน (Learning Materials)
  5. แผนการวัดผลประเมินผล (Assessment) เพื่อแสดงหลักฐานการบรรลุผลการเรียนรู้ โดยหลักการที่
    เป็นสากล หลักสูตรที่แท้จริง คือ สิ่งที่ครูและปฏิบัติในโรงเรียนในองค์ประกอบ 5 ประกอบนี้ ความเป็นหลักสูตร
    จะหยุดอยู่ที่การคิด กำหนดเป็นแผนดำเนินงานใน 5 องค์ประกอบนี้ เมื่อใดที่ครูลงมือจัดการเรียนการสอน จะ
    เรียกว่าการนำหลักสูตรไปใช้ (Implementation) ซึ่งมักตามมาด้วยการประเมินผลการใช้สูตร (Evaluation)
    เพื่อให้มีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) สู่การปรับปรุงหลักสูตรใน 5 องค์ประกอบและปรับปรุงการนำหลักสูตรไปใช้

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

          คณะกรรมธิการของสภาผู้แทนราษฎร กำลังกำหนดสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ คาดว่าจะออกเป็น
กฎหมาย ประมาณมีนาคม 2542 นี้ ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิรูปหลักสูตรจำเป็นต้องทำให้สอดคล้องกับ
สาระสำคัญที่จะขอยกมากล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร คือ

1.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

          มาตรา 20 แนวการจัดการศึกษาเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ ครอบคลุมสิ่งสำคัญ คือ

1.1 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์กับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ สังคมโลก ประวัติศาสตร์
ความเป็นมาของสังคมไทย การเมืองการปกครอง
1.2 ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
1.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย
1.4 ความรู้และทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์
1.5 ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

          มาตรา 4 ทวิ กำหนดให้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและสติปัญญา ความรู้
คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการครองชีวิตและการงาน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          มาตรา 4 ตรี ระบุว่าต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาไว้และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักพึ่งตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อจะได้รู้เท่าทันโลก

          มาตรา 23 กำหนดให้จัดหลักสูตรการศึกษาในส่วนสาระหลักที่เป็นแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อ
การดำรงชีวิต ความเป็นคนไทยและความเป็นพลเมืองดีของชาติ ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับสภาพปัญญาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
และสังคม

          ในเมื่ออหลักสูตรที่แท้จริง อยู่ที่การคิดการวางแผนของครูที่โรงเรียน คำถามท้าทายประการแรก การกำหนดมาตรฐาน
คุณภาพการเรียนรู้หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะครอบคลุมช้อกำหนดของ พ.ร.บ. การศึกษา ประการ
ที่สอง ควรกำหนดขอบข่ายเนื้อหาอย่างไร จะนำมาจากไหน จะสอดแทรกเนื้อหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างไร ประการสุดท้าย
ที่หนักที่สุดคือ จะจัดระบบการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะรับประกันว่าผู้เรียนทุกคนต้องบรรลุผลการเรียนเหล่านี้

2.แนวการจัดการเรียนการสอน

          การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีปรากฎในร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ เช่น การ ศึกษาอบรมควร
ผสมผสานกันระหว่างการศึกษาในระบบศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย (มาตรา 10 ) จัดกิจกรรมสอดคล้องกับ
ความสนใจ ความถนัด คำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การประยุกต์ความรู้เพื่อป้องกัน
และแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนให้อำนวยความ
สะดวกต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
ประสานความร่วมมือ กับ บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (มาตรา 21)
ยึดหลัก 3 ประการ คือ การศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมจัดการศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่อง (มาตรา5 )

การพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ2 การพัฒนาหลักสูตร
ระดับ โรงเรียนให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

          แนวคิดเบื้องต้นที่ครูและผู้บริหาร โรงเรียนควรตระหนักและพัฒนาศักยภาพให้พร้อมต่อการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน คือ


1.ตอบคำถามว่า “เราจะจัดการศึกษาเพื่อให้บังเกิดผลอะไรที่ผู้เรียน ?” โดยการประมวลข้อมูล ความรู้ ความคิดจาก
แหล่งต่างๆ สร้างเป็นมาตรฐานคุณภาพการเรียนรู้โดยผสมผสานมาตรฐาน 3 ส่วนคือ

1.1มาตรฐานสากลที่ครอบคลุมวิทยาการ กระบวนการทักษะความสามารถเพื่อยกระดับคนไทยให้ทัดเทียม
นานาชาติ ในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยี ต่างๆ
1.2มาตรฐานชาติที่เป็นแกนร่วมที่คนไทยควรมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ จิตสำนึก ที่ดีงามเกี่ยวกับภาษาไทย
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง การปกครอง ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา ค่านิยม ที่พึงปรารถนา
1.3มาตรฐานระดับท้องถิ่นที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม วิถีวัฒนธรรม
ศิลปะ การสร้างความอบอุ่นเข้มแข็ง ครอบครัว และชุมชน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30843เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

หลักสูตรในปัจจุบันมีความหลากหลาย ดดยเฉพาะหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูผู้สอน ข้าพเจ้าคิดว่า ควรมีองค์ประกอบดังนี้

             1. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการเพื่อกำหนดโครงสร้างหลักสูตร

             2. สร้าง ประเมินผลหลักสูตร ปรับปรุง ใช้ โดยใช้รูปแบบ R&D

            3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้รับการอบรม เป็นระยะ

ไม่เห็นมีหลักสูตรเลย ตั๊วกันชัดๆ

คณะนี้มีผู้หญิงเรียนมั้ยค่ะ

เรียนเกี่ยวกับอะไรค่ะ

หางานอยากมั้ยค่ะ

หามาเพิ่มมากๆๆนะครับแล้วมาจอยกัน ของผมลงไว้นิเดียว รีบไปมีเวลาจะลงในบล็อกให้อ่านเพิ่มเดอ้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท