สำคัญที่จิต(3) จิตสร้างพฤติกรรม พฤติกรรมสร้างบรรยากาศ


เช้านี้ได้อ่านบันทึกของคุณ Thawat เรื่อง พฤติกรรม(13)สร้างบรรยากาศ ก็ทำให้นึกเรื่องที่ผมคอมเมนต์ในบันทึกของ อ.จรุวัจน์ แล้วไปสะกิดเรื่องสำคัญที่จิต และนึกถึงหะดีษหนึ่งที่ผมได้เคยเขียนไว้ใน intan.sci-yiu.net (ยังไม่ได้อัปลงใน www.almustofa.com)

อีกหะดีาหนึ่ง เป็นของมุสลิมเหมือนกันและมีบทที่คล้ายๆกัน ท่านนบีกล่าวว่า

‏ ‏إِنَّ اللَّهَ لَا يَنْظُرُ إِلَى صُوَرِكُمْ وَأَمْوَالِكُمْ وَلَكِنْ يَنْظُرُ إِلَى قُلُوبِكُمْ وَأَعْمَالِكُمْ ‏

ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงมองที่รูปทรงของพวกเจ้าและทรัพย์สินเงินทองของพวกเจ้า แต่อัลลอฮฺจะทรงมองที่จิตของพวกเจ้าและการกระทำของพวกเจ้า"

จากหะดีษนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า รูปร่างหน้าตา จะสวย หล่อ น่าเกรงขาม น่านับถือ อย่างไรนั้นไม่สำคัญ หรือว่าจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลก็ไม่สำคัญ เพราะที่สำคัญคือจิต เเพราะจิตเป็นบ่อเกิดของการกระทำ บ่อเกิดของพฤติกรรมของเราทุกวัน และสุดท้ายจิตที่ดีก็จะสร้างบรรยกาศที่ดี

อัลเบิรต แบนดูรา ได้ศึกษาตามแนวทางของท่านและได้ให้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง จิต พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม แบบกลับไปกลับมา กล่าวคือ คน(ภายในตัว คือ จิตและปัญญา) เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมก็จะกำเนิดจิตและสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นตัวกำเนิดจิตกับพฤติกรรม ผมจึงสรุปง่ายๆสำหรับคนที่เข้าใจชีวิตตามหลักอิสลามในแนวทฤษฎีของแบนดูราเป็นดังนี้

หลายคนถามผมว่า เรียนหรือทำงานที่ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แล้วได้อะไร

ผมก็กลับไปถามเขาว่า ชีวิตเราอยู่บนโลกนี้เพื่ออะไร ถ้าคุณมั่นใจว่าเป็นปลาเป็นที่มีชีวิตมั่นคงตลอด ไม่ว่าน้ำเค็มจะเค็มแค่ไหน เนื้อของมันก็ไม่มีผลกระทบอะไร

แต่ถ้าไม่มั่นใจ แม้ มอย. ไม่หรู่หร่า ไม่มีชื่อเสียงโดงดัง ไม่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยดังๆมี แต่ มอย. มีสิ่งที่ไม่มีที่อื่น คือ บรรยากาศที่จะฟื้นฟู ปรับปรุ่งในจิตเรามั่นคงในอิสลามมากยิ่งขึ้น



หมายเลขบันทึก: 307671เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อัสซาลามูอาลัยกุมค่ะอาจารย์

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนน่ะค่ะว่าดิฉันไม่เคยเรียนผ่านระบบปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนามาเลย เพียงแต่ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยนั้น ดิฉันมีโอกาสได้เข้าไปเป็นครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอยู่ 2 แห่ง เป็นเวลาประมาณ 7 ปี โดยสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพราะดิฉันจบทางวิทยาศาสตร์มาค่ะ ความคิดความอ่านอาจจะต่างจากคนที่ผ่านการเรียนทางด้านศาสนาโดยตรงค่ะ ดิฉันมีโอกาสศึกษาอิสลามเป็นจริงเป็นจังสักนิดก็ตั้งแต่เริ่มปิดเอารัตในช่วงที่เป็นนักศึกษา และได้เริ่มศึกษาในเรื่องของจิตใจมาเรื่อยๆ และยอมรับว่า "จิตต้องดูแล" และ "ต้องคอยเยียวยาอยู่เสมอๆ " เมื่อครั้งหนึ่งที่มีโอกาสเห็นหนังสือชื่อ "ฮากีกัต อิงซาน" (จริงๆ จะเขียนเป็นภาษารูมีแต่เกรงว่าจะสะกดผิดค่ะ) ก็ขอแสดงความเห็นตามที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ที่ว่า "แม้ มอย. ไม่หรู่หร่า ไม่มีชื่อเสียงโดงดัง ไม่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยดังๆมี แต่ มอย. มีสิ่งที่ไม่มีที่อื่น คือ บรรยากาศที่จะฟื้นฟู ปรับปรุ่งในจิตเรามั่นคงในอิสลามมากยิ่งขึ้น" นี้คือจุดท้าทายสำหรับบุคคลากรใน มอย. ทุกคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท