Day 5 : Hesitation


hesitation

ไม่น่าเชื่อว่าพวกเราจะอยู่ที่บ้านไร่มาได้ เกือบ 1 สัปดาห์แล้ว
รู้สึกว่าเวลาผ่านไปแป๊บเดียว...

วันนี้หลายๆ คน เริ่มบ่นคิดถึงบ้าน แต่ทำอย่างไรได้ เพราะงานยังเหลืออีกเยอะ เสาร์อาทิตย์นี้ก็คงทำงานกันอย่างต่อเนื่อง สู้ๆนะเพื่อนๆ


เมื่อคืนที่ผ่านมา(15 ต.ค. 52) หลังจากกลับจากประชุมวิชาการเรื่องของ Flu 2009 ที่ รพ.พระปกเกล้า - ได้ความรู้ใหม่ๆกลับมาเยอะเลยทีเดียวค่ะ ^ ^ 

พวกเราก็กลับมาประชุมกัน ในเรื่องของปัญหาของชุมชนที่เราจะทำกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ดูเหมือนจะลงตัวในตอนแรก ตอนนี้ดูไม่ค่อยโอเคเสียแล้ว

ในตอนแรกคิดถึงเรื่องของ metabolic syndrome แต่ตาม IDF Criteria for Central Adipositya  อ้างอิงจาก Harrison 17th Ed
ต้องมีเรื่องของการเจาะ lab มา ร่วมในการ Dx ด้วย คือ การเจาะพวก lipid profile ซึ่งคิดว่ามีราคาแพง และไม่จำเป็น

ดังนั้นถ้าหากเราจะค้นหากลุ่มเสี่ยง โดยที่ไม่ดู lipid profile คิดว่าคงพลาด ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงไปหลายคน

ก็เลยกลับมาคิดถึงเรื่องของหัวข้อ DM, HT กันอีกครั้ง

จริงๆ แล้วคือพวกเราคิด process ของการทำไว้คร่าวๆ แล้ว ว่าจะทำเรื่องของการออกกำลังกาย และเรื่องของอาหาร  คือจริงๆ ต้องบอกว่า เป็นการคิด project ไว้มากมาย ล้านแปด

เพียงแต่ว่า เรายังสรุปกันไม่ได้เกี่ยวกับ การเลือกกลุ่มประชากลุ่มเสี่ยง แล้วก็ปัญหาเรื่องของการวัด outcome

สรุปกัน คุยกันหลายชั่วโมงก็ยังงงๆ คือเหมือนกับว่าพวกเราได้ process ของการทำงานแล้ว เพียงแต่ว่า ยังเลือกหัวข้อที่แน่นอนไม่ได้ และปัญหาเรื่องการวัด outcome

 

แต่ปัญหาเรื่องการเลือกหัวข้อของเราก็ดูเหมือนจะยังไม่จบเพียงเท่านี้

เมื่อมีหัวข้อใหม่ถูกเสนอขึ้นมา
ร่วมกับการที่พวกเราไปลงชุมชนและเจอผู้ป่วยเป็นโรคของไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิกุนคุนย่า นอกจากนี้ยังได้ไปดูงานมหกรรมชุบเสื้อป้องกันไข้ปวดข้อยุงลาย ที่ต.บ้านนา อ.แกลง ทำให้พวกเราค่อนข้างตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้พอสมควร แต่ข้อมูลต่างๆ ข้างต้นก็ยังไม่ทำให้พวกเราตกใจได้เท่ากับการที่ทราบข่าวว่า มีน้องบ้านๆ ข้างๆ (ห่างไปไม่ถึง 100 เมตร) มีอาการและผลตรวจเลือด CBC เข้าได้กับโรคชิกุนคุนย่า

100 เมตร ก็รัศมียุงลายบ้านบินน่ะสิ
เอ๊ะ แล้ว 1 สัปดาห์ที่พวกเรามาอยู่ที่นี่ ก็ถูกยุงกัดกันแทบจะทุกวัน
ถ้ายุงไปกัดน้อง แล้วมากัดเรา อีกไม่กี่วันพวกเราก็ต้องมีไข้ ปวดข้อ แน่นอน (พวกเราก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหมือนกันสินะ 555)

ขนาดที่พวกเรามีความรู้(พอประมาณ) ยังหลีกเลี่ยงยุงลายไม่ได้ แล้วประชาชนที่ไม่เคยได้ยินชื่อชิคุนกุนย่ามาก่อนล่ะ มันต้องเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตแน่นอน


จริงๆ แล้ว เรื่องหัวข้อของ DM&HT ก็ยังเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจอยู่ เพราะเป็นเรื่องที่ชุมชน concern มาก ชุมชนคงจะให้ความร่วมมือกับเราได้ง่ายและพวกเราคิด process กันมาจนเห็นเป็นรูปร่างบ้างแล้ว

แต่เรื่องของ ชิคุนกุนย่า ขอบอกว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่ค่อยมีความรู้ ตระหนักถึงความอันตราย หรือความสำคัญของโรค และเรื่องสำคัญอีกเรื่องก็คือความรู้ของพวกเราเป็น 0 ค่ะ เพราะที่เรียนมา 5 ปี ไม่มีหลักสูตรของชิคุนกุนย่าถูกบรรจุไว้ เนื่องจากไม่ใช่โรค common และที่จันทบุรีก็มีเคสน้อยมากๆ  เพื่อนๆ ส่วนใหญ่มาเห็นเคสจริงๆ ตอนที่มาเหยียบ จ.ระยองนี้เท่านั้น


ดังนั้นในเมื่อประเด็นของชิคุนกุนย่าถูก raise ขึ้นมา และเป็นที่สนใจพอสมควร พวกเราจึงทำการบ้าน หาข้อมูลของชิคุนกุนย่าเพิ่มเติม จากทั้งเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์ของ WHO หรือองค์การอนามัยโลก และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็ถือว่าค่อนข้างครบถ้วน รวมถึงเราให้พวกเราได้เห็นถึงภาพรวมของ
การเกิดโรคนี้และเกิดความตระหนักเล็งเห็นถึงความสำคัญของการระบาดของโรคชิคุนกุนย่ากันมากขึ้นเลยทีเดียวค่ะ
ประกอบกับการได้รู้ว่าพวกเราถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนกัน จึงได้มีมาตรการแนวทางการป้องกันเกิดขึ้นภายในกลุ่มพวกเราค่ะ : พวกเราช่วยกันขุดๆๆค้นๆๆ เอาโลชั่นทากันยุงมาทากันใหญ่ หวังว่าจะช่วยป้องกันได้นะคะ

เนื่องจากวันนี้เป็นวันศุกร์ ข้อมูลทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนย่าของอ.แกลง พี่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการสรุปผล ซึ่งก็หมายความว่ากว่าที่พวกเราจะได้ข้อมูลนี้ เป็นตัวเลขจริงๆ คงจะต้องเป็นวันอังคาร
 
สำหรับงานของพรุ่งนี้คิดว่าจะลงไปทำการสอบสวนโรค  ^0^ บริเวณบ้านที่มีผู้ป่วยโรค chikungunya
และช่วงบ่ายจะปั่นจักรยานกับพี่ๆ อสม.ไปทะเลกัน แล้วก็กลับมาประชุมสรุปปัญหากับพี่ๆ อสม.และผู้นำในชุมชน อีกครั้ง

หวังว่าจะได้คำตอบเสียที โครงการของเราก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างแล้วค่ะ

 


ปล. วันนี้คิดถึงอาจารย์ epidemiology ของพวกเราจริงๆ ค่ะ 
ปล.again : วันนี้ในช่วงเที่ยงๆ อาจารย์ผู้ที่ดูแลพวกเรา ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียน และมาพูดคุยกับพวกเราเรื่องการทำงานค่ะ ทำให้พวกเราได้เล็งเห็นถึงประเด็นต่างๆที่ความสำคัญหลายประเด็นเลยทีเดียวค่ะ
ซึ่งจัดว่าเป็นประโยชน์กับพวกเรามากๆค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ^ ^ แต่หลังจากที่ท่านอาจารย์ได้เดินทางกลับไป ฝนยังตกอยู่ปรอยๆ พวกเราเลยไม่อยากออกไปกินข้าวกันนอกบ้าน
เลยถือเป็นโชคดีที่พวกเราจะได้กินอาหารญี่ปุ่นกัน ว๊าว!!!! แต่อย่าเพิ่งตื่นเต้นตกใจไปค่ะ พวกเราต้มมาม่ากินกัน เหอๆๆ อร่อยมากๆ กินกันไปคุยกันไปเรื่องงาน แต่หลังจากนั้นไม่นาน
สภาพของพวกเราก็เป็นอย่างนี้ค่ะ 555

 

พวกเราจึงทำการสอบสวนโรค คิดว่าต้องเกิดจาก มาม่าเป็นพิษ หรือไม่ก็กินกันมากไป แน่ๆเลยค่ะ ^ ^

 


 

คำสำคัญ (Tags): #d5
หมายเลขบันทึก: 306491เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คงจะกินกันมากเกินนะผมว่า ดูแต่ละคนอืดกันหมดเลย ^^ ล้อเล่นนะ

สู้ สู้ จ้า

ชิกันกุนย่าก็ดีนะ

ได้ลองวิชาสอบสวนโรค

ได้รณรงค์ป้องกัน

ปีหน้าไม่มีก็ยังใช้ได้กับไข้เลือดออก

เริ่มต้นตั้งแต่เป็นกันไม่กี่คนดูฝีมือกันซิว่าเอาอยู่หรือเปล่า

อีกประเด็นก็คือ

early+proper Dx and proper supportive Rx

โจทย์ตัวนี้ขบคิดกันอย่างไร

ได้ข่าวว่าทวงหนี้ไม่สำเร็จเหรอ ถึงหมดแรงขนาดนั้น อิ อิ

อ้อ! พวกหนูลืมบอกอาจารย์ไปค่ะ ว่า พวกหนูคิดดอกเบี้ยด้วย 555 (ดอกเบี้ยแพงด้วยนะคะ ^ ^ )

วันนี้พวกเราเดินทางลงบ้านไปสอบสวนโรคมาค่ะ ได้รับประสบการณ์ต่างๆเพิ่มขึ้นมากเลย จะเป็นยังไง ขอให้ทุกๆท่านติดตามต่อใน blog ของเรานะค๊า

ส่วนแผนการปั่นจักรยานกับชาวบ้านในตอนเย็นของเราไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง เนื่องจากตอนนี้ฝนยังตกอยู่เลยค่ะ ว๊า แย่จัง

มาส่งกำลังใจ

  • สุดยอด รู้จัก break through กรอบความคิดเดิมๆออกมาได้
  • แต่ต้องเหนื่อยหน่อยนะ ทำการบ้านมากๆไว้
  • นอนพักก่อนก็ได้เนาะพวกเรา
  • ไม่เห็นบอกว่าตื่นวัน เอ๊ย ตอนไหน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท