การเขียนโครงการของบจัดกิจกรรม


การเขียนโครงการของบจัดกิจกรรมไม่ใช่เรื่องยาก หากแต่ใช้ประสบการณ์
       หลักการเขียนโครงการของบจัดกิจกรรมเบี้องต้น

 หากต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนหรือจบในเอกภาษาไทย 

 

  การเขียนโครงการนั้นทีแรกผมยังไม่ทราบวีธีการเขียน  เรียกว่าตอนนั้นมืดแปดด้านแต่หลังจากที่ผมได้เข้าอบรมกับ อ.อนุชา นิลประพันธ์ (ที่ปรึกษาชมรมเศรษฐกิจพอเพียง ม.ขอนแก่น  ซึ่งเป็นชมรมที่ผมสังกัดอยู่) ทำให้ผมได้เรียนรู้การเขียนโครงการมากขึ้น  จากประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้พบว่า  ในช่วงแรกๆของการเขียนโครงการนั้นค่อนข้างจะยาก  แต่เมื่อเขียนเรื่อยๆหลายๆโครงการแล้วมันจะง่ายขึ้นมาก

 

  การเขียนโครงการส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้

ชื่อโครงการ   ต้องใช้คำที่กระชับ  ชัดเจน  สื่อให้เห็นภาพกิจกรรมที่จะทำ

 

ชื่อองค์กรหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เช่นชมรมเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและเหตุผล  มีเทคนิคเขียนจากใหญ่มาหาเล็ก  แบ่งเป็น ๔ ส่วน

                              เช่น โครงการเลิกเหล้าออกพรรษา  มหาวิทยาลัยปลดเหล้า

          ส่วนที่ ๑  กล่าวถึงปัญหาสุราในระดับชาติ  ทั่วไป

          ส่วนที่  ๒ กล่าวถึงปัญหาสุราในระดับ เยาวชน

          ส่วนที่ ๓  กล่าวถึงปัญหาสุราในมหาวิทยาลัย

          ส่วนที่ ๔   กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปทำกิจกรรมกับเขา

           โดยทั้ง ๔ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน  อ่านแล้วไม่รู้สึกสะดุด (เขียนให้เสร็จแล้ว  อีก   ๑  ชั่วโมงมาอ่านใหม่  จะเห็นส่วนที่ควรแก้ไข

    ***ส่วนใหญ่โครงการที่ผ่านจะขึ้นอยู่กับการเขียนหลักการและเหตุผล ค่อนข้างมาก

 

วัตถุประสงค์   คือสิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับระหว่างการทำกิจกรรม

                      เช่น ๑.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้ถึงโทษของสุรา

                             ๒.เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

     ***การเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนชัดเจนวัดได้  และไม่ควรเกิน ๓ ข้อ

 

 กลุ่มเป้าหมาย     คือผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่ามีกี่คน

 

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ   วันเวลาเริ่มและสิ้นสุดการจัดกิจกรรม

 

สถานที่จัดกิจกรรม   บอกรายละเอียนที่อยู่การจัดกิจกรรม เช่น ม.ขอนแก่น จ.ขอนเเก่น

 

แผนการดำเนินกิจกรรม  รูปแบบการจัดกิจกรรม/กระบวนการ/กลวิธี/วันเวลา/สถานที่  

 

งบประมาณโครงการ      งบที่ใช้ในโครงการ

                               (ต้องเขียนละเอียดงบที่ใช้ และเผื่อไว้เล็กน้อย)

 

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ  ***ไม่เหมือนกับวัตุประสงค์  คือสิ่งที่ได้รับหลังจากโครงการเสร็จแล้ว เช่น ๑.นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการขยายผลต่อคนใกล้เคียง

 

    ประสบการณ์ทิ้งท้าย

๑.เขียนให้ตรงจุดตามที่ผู้ให้งบกำหนด  เช่น ผู้ให้งบต้องการให้จัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย  ก็ต้องจัดในมหาวิทยาลัย  ให้จัดตามระยะเวลาใดก็ต้องทำตาม

๒.ต้องเก็บใบเสร็จให้ดี  และรายละเอียดใบเสร็จที่สมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยชื่อร้านค้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี,วันที่ซื้อ,รายการที่ซื้อ,จำนวนเงิน  ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆก็ให้ยืดตามอัตราการจ่ายขอผู้ให้งบ

๓.ต้องส่งสรุปโครงการตามที่ผู้ให้งบกำหนด(ประมาณ ๒๐-๓๐ วันหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ) ***ถ้าส่งไปตรงกำหนดอาจมีผลต่อการพิจารณางบในครั้งต่อไป  บางหน่วยงานที่ให้งบอาจตัดสิทธิ์ถึง ๒ ปีหากไม่ส่งตามกำหนด

๔.บางหน่วยงานที่ให้งบจะแบ่งงบให้เป็นงวดๆเราต้องบริหารเงินให้ดี

 

    และนี่คือประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้โดยที่ไต้องลงทะเบียน  และหาได้ยากในห้องเรียน

 

ปล.  การทำกิจกรรมที่ดีต้องทำด้วยความเต็มใจ  และควบคู่ไปกับการเรียน ไม่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306208เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

 

*ที่ไปเยี่ยมและเห็นประโยชน์ของเยาวชนนี้ต่อสังคมค่ะ

*มาเรียนรู้การเขียนโครงการค่ะ..หากประสานกับผู้มีส่วนร่วมในโครงการอย่างดี งบประมาณจะไม่ใช่ข้อจำกัดในการทำโครงการค่ะ..คิดใหญ่ๆ..เริ่มทำเล็กๆให้สำเร็จย่อมได้นะคะ..ขอให้กำลังใจค่ะ..

 

 

มาชม

เป็นโครงร่างโครงการที่น่าสนใจเวลาจะเขียนโครงการแบบนี้นะครับ

นายแน่มาก..ชื่นชมที่เริ่มเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ขอเป็นกำลังจให้คนดีครับ

อนุชา

มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

     มาเรียนรู้ การเขียนโครงการด้วยคะ เป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ สู้ ค ะ    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท