PMQA


การบริหารจัดการภาครัฐ(2)
  • ก่อนเริ่มกระบวนการPMQA หน่วยงานควรเริ่มที่เครื่องมือตัวหนึ่งที่สำคัญคือ การBenchmarking
  • ก่อนดำเนินการกระบวนการต่างๆทั้ง 7 ด้านดังนี้ครับ
  • Benchmarking
  •  “Benchmarking” คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่งมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจากประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
  • วัตถุประสงค์ของการทำ Benchmarking คือเพื่อแสวงหาตัวอย่างวิธีการปฏิบัติงานที่ดีกว่าเดิม รวมถึงการทำความเข้าใจกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่ผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดี  ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ จะปรับปรุงผลการดำเนินงานของตนโดยเลือกสรรและนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ       เหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการทำงานซึ่งไม่ใช่เป็นการลอกเลียนแบบแต่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
  • ประโยชน์จากการทำ Benchmarking
    การทำ Benchmarking ทำให้องค์กรสามารถตอบคำถาม 4 ข้อนี้ได้
    เราอยู่ที่ตำแหน่งไหนในธุรกิจ     Where are we?
    ใครเป็นผู้ที่เก่งที่สุด                Who is the best?
    คนที่เก่งที่สุด  เขาทำอย่างไร      How do they do it?
    เราจะทำอย่างไรให้เก่งกว่าเขา     How can we do it better?
              นั่นคือ ทำให้องค์กร “รู้เขา รู้เรา” สิ่งนี้นี่เองที่ทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิผล      การทำงานขององค์กรให้ดีขึ้น เช่น ลดระยะเวลาในการผลิต ลดของเสีย เพิ่มความพึงพอใจ         ของบุคลากรและลูกค้า เป็นต้น นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการเรียนลัดเพื่อให้ก้าวทันองค์กรอื่น อันจะยกศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
    ประเภทของ Benchmarking
              ประเภทของ Benchmarking สามารถแบ่งได้ 2 วิธีดังนี้
    1.    แบ่งตามเรื่องของการทำ
    1.1  Strategy Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking โดยศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ระหว่างองค์กรเรากับองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านการวางแผนกลยุทธ์
    1.2  Performance Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking โดยเปรียบเทียบเฉพาะผลปฏิบัติงานหรือตัวชี้วัดระหว่างองค์กรเราและคู่เปรียบเทียบเพื่อดูความสามารถในการปฏิบัติงานของกิจกรรมหรือผลลัพธ์การทำงานในกระบวนการต่างๆ
    1.3  Process Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking โดยการเปรียบเทียบ          กระบวนการทำงานหรือวิธีปฏิบัติงานระหว่างองค์กรเรากับองค์กรอื่น โดยเน้นการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีจากองค์กรอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรของตน
    1.4  Product Benchmarking คือการเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าว่าลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดในคุณลักษณะใดของสินค้า
    2.    แบ่งตามลักษณะองค์กรที่เปรียบเทียบด้วย
    2.1  Internal Benchmarking คือ การทำ Benchmarking เปรียบเทียบตัววัดหรือความสามารถในการปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน หรือภายใต้กลุ่มบริษัท       ในเครือเดียวกัน
    2.2     Competitive Benchmarking คือ การทำ Benchmarking กับคู่แข่งขันโดยตรง
    2.3  Industry Benchmarking คือ การทำ Benchmarking กับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม          เดียวกัน แต่ไม่ใช่คู่แข่งขันกันโดยตรง
    2.4  Generic Benchmarking  คือ การทำ Benchmarking กับองค์กรใดก็ตามที่มีความเป็นเลิศในกระบวนการทำงานนั้นๆ ซึ่งองค์กรนั้นอาจมีธุรกิจที่แตกต่างกับเรา        โดยสิ้นเชิง
    แนวทางการทำ Benchmarking   
    1.    Benchmarking แบบกลุ่ม คือ การทำ Benchmarking โดยรวมกลุ่มกับองค์กรอื่น ที่มีความต้องการจะทำ Benchmarking เหมือนกัน
    2.    Bchmarking แบบเดี่ยว คือการมีเพียงองค์กรเดียวที่ต้องการที่จะทำ Benchmarking จึงกำหนดหัวข้อที่ต้องการทำและดำเนินการตามกระบวนการ Benchmarking ที่ได้วางแผนไว้
    จรรยาบรรณในการทำ Benchmarking (Code of Conduct)
    1. หลักการด้านกฎหมาย
    2. หลักการด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล
    3. หลักการด้านรักษาความลับ
    4. หลักการด้านการใช้ข้อมูล
    5. หลักการด้านการติดต่อ
    6. หลักการด้านการเตรียมตัว
    7. หลักการด้านการทำให้สำเร็จ
    8. หลักการด้านความเข้าใจและการปฏิบัติ

  • ขั้นตอนการทำ Benchmarking (Xerox Corporation Model)
    เตรียมความพร้อม
    1. การวางแผน
    -          กำหนดเรื่องที่จะทำ Benchmarking 
    -          กำหนดผู้ที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย
    -          กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล  และเก็บข้อมูล
    2. การวิเคราะห์
    -          วิเคราะห์ความแตกต่าง (Gap)  ปัจจุบัน
    -          ประมาณแนวโน้มความแตกต่างในอนาคต
    3. การบูรณาการ
    -          สื่อผลการวิเคราะห์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
    -          ตั้งเป้าหมาย (Function Goals)
    4. การปฏิบัติ
    -          จัดทำแผนปฏิบัติการ
    -          นำไปปฏิบัติจริงและติดตามผล
    -          ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  •             ขอเชิญทีมศูนย์ร่วมแลกเปลี่ยเรียนรู้ด้านนี้ด้วยครับ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30581เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ประโยชน์มากค่ะ เจอผู้รู้แล้ว

คราวหน้าเอาไปเล่าให้กันฟังในที่ประชุมเลขานุการว่าเอาไปปฏิบัติแล้วเป็นยังไงบ้างด้วยนะคะ

การทำแบบกลุ่มน่าสนใจดี

เมื่อคราวที่จัด Km พัสดุ ที่หนองคายได้เรื่อง อี ออคชั่น โดยคุณไพโรจน์ พัสดุคณะแพทย์ มาแล้วค่ะ

 

  • ดีใจที่ได้อ่านความรู้จากอาจารย์ครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท