จากปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในนาข้าวนี้เอง
จึงเป็นจุดเริ่นต้น ที่ผุ้เขียน
ซึ่งทำหน้าที่บทบาทเป็นคุณอำนวย
อยากที่จะหาวิธีที่กำจัดวัชพืชโดยการไม่ใช้สารเคมี
จึงเริ่มต้นที่โรงเรียนชาวนา กลุ่มอำเภอเมือง
จ.สุพรรณบุรี
โดยเริ่มที่การนำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ
ที่นักเรียนชาวนาใช่อยู่นำมาทดลองศึกษา
แทนสารเคมีคุมฆ่าหญ้า
หาคุณกิจที่สนใจอยากทดลองและเรียนรู้ด้วยกัน
จากประสบการณ์ การใช้น้ำหมัก ฮอร์โมนสูตรต่าง ๆ
พบว่าในบางครั้งที่เกษตรฉีดพ่นน้ำหมักนั้น
ถ้าหากใช้อย่าเข้มข้นจะทำให้ใบข้าวไหม้
ฉะนั้นน้ำหมักหรือฮอร์โมนน่าจะนำมาทดลองใช้ฉีดควบคุมหญ้าในนาข้าวได้
เริ่มด้วยการหานักเรียนชาวนาที่สนใจอยากจะทดลองหายาคุมหญ้า
โดยได้คุยกับน้านคร แก้วพิลา
ซึ่งเป็นนักเรียนชาวนาในกลุ่ม
และน้านครก็สนใจอยากจะร่วมทดลอง
และนำเรื่องดังกล่าวไปบอกกับแม่บ้าน
บอกว่าทดลองเปรียบเทียบกับสารเคมีดู ใช้พื้นที่ไม่มาก
แม่บ้านน้านครเปิดไฟเขียวคะ อนุญาติ
และยินดีที่จะแบ่งแปลงนามาทดลอง
ในการทดลองยึดเอาวิธีการทำนาปกติเป็นหลัก
เพียงแค่ขอแบ่งแปลงนามาบางส่วนเพื่อใช้ทำการทดลอง
น้ำหมักที่เลือกมาทดลอง
โดยปกตินักเรียนชาวนาจะใช้น้ำหมักและฮอร์โมนหลากหลายชนิด
เราจึงเลือก น้ำหมักที่ใช้ในการทดลองเลือกมา 5 ชนิด
เพื่อทดลองพิสูทธิ์ว่า
มีน้ำหมักชนิดใดที่มีความเป็นไปได้ในการควบคุมหญ้า
ได้แก่
1. น้ำหมักพืชสีเขียว
2. น้ำหมักผลไม้
3. น้ำหมักสมุนไพร
4. น้ำหมักหัวผักกาด
5. กากน้ำตาล
ส่วนประกอบของน้ำหมัก
1 .น้ำหมักพืชสีเขียว ประกอบด้วย
พืชสีเขียวที่มียอดเจริญเติบโตเร็ว ได้แก่ ยอด
ผักบุ้ง +ยอดกระถิน 3 ส่วน+กากน้ำตาล 1 ส่วน
สับหรือหั่น
ให้ละเอียด
ใส่ถังปิดผาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นไป
2. น้ำหมักผลไม้ ประกอบด้วย ผลไม้ กล้วยสุก +มะละกอสุก +
ฟักทอง อย่างละ
1 ส่วน + กากน้ำตาล 1
ส่วน ใส่ถังหมัก ปิดฝา ประมาณ 7-10 วัน ขึ้นไป
3. น้ำหมักพืชสมุนไพร ประกอบด้วย
พืชสมุนไพรที่เกษตรกรใช้หมักฉีดนาข้าว
4. น้ำหมักหัวผักกาด ประกอบด้วย หัวผักกาด +
ผงกลูโคส + น้ำมะพร้าว อย่างละ 1
ส่วนหมัก ไว้ 1 คืน
5. กากน้ำตาล ใช้กากน้ำตาล 1 ส่วนผสมน้ำ 1
ส่วน ไม่ได้หมัก
แปลงทดลองเปรียบเทียบ
การทดลองฉีดพ่นทั้งหมดใช้แปลงทดลอง ชนิดละ 4
แปลง รวมทั้งหมด 20 แปลง โดยแปลงมีขนาด 4*8
เมตร พื้นที่แปลงละ 32 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ทดลองทั้งหมด 640 ตรารางเมตร
ในขั้นตอนการฉีดพ่นใช้ผ้าพลาสติกกั้นระหว่างแปลง
เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายไปแปลงข้าง ๆ
วิธีการและขั้นตอนการกำจัดวัชพืช
คุณนคร แก้วพิลา
มีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
1.
ได้หว่านข้าวพันธุ์ เบอร์ 17
หว่านเมื่อวันที่ 29
ธันวาคม 2548
2.
ฉีดพ่นยาเคมีคุมฆ่าหญ้าเมื่อวันที่ 5
มกราคม 2549 (ข้าวอายุได้ 7 วัน)
3.
ฉีดพ่นสารฮอร์โมนทดลองครั้งที่ 1 วันที่ 6
มกราคม 2549
(ข้าวอายุได้
8 วัน) ที่ความเข็มข้น 40 ซีซี /
น้ำ 1 ลิตร
4.
ฉีดพ่นสารฮอร์โมนทดลองครั้งที่
2 วันที่ 10 มกราคม 2549 (
ข้าวอายุได้
11 วัน) ที่ความเข็มข้น 50
ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร
5.
ปล่อยน้ำเข้าแปลงนาวันที่ 10 มกราคม
2549 (ข้าวอายุได้ 12 วัน)
6.
ฉีดพ่นสารอินทรีย์ครั้งที่
3 วันที่ 20 มกราคม 2549
ข้าวอายุที่ 22 วัน
ความเข็มข้นที่ 50 ซีซีต่อน้ำ 1
ลิตร
ในครั้งนี้ฉีดพ่นเฉพาะบริเวณที่มีหญ้า
ขึ้นเท่านั้น
7. ในวันที่ 20 มกราคม 2549
คุณนครได้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงนา
อีกครั้ง เนื่องจากยังมีวัชพืชอยู่บางส่วน
ภาพวัชพืชในแปลงนาข้าว
ภาพแสดงขั้นตอนการฉีดพ่นน้ำหมักต่าง
ๆ
ผังแปลงทดลองและผลการทดลอง
การเลือกชนิดน้ำหมักกับแปลงทลอง ใช้วิการสุ่มแบบจับฉลาก ลำดับแปลงกับชนิดน้ำหมักที่จะฉีดพ่น
แปลงที่ |
ฮอร์โมนที่ใช้ |
คะแนน |
ปริมาณหญ้าในแปลง |
1 |
น้ำหมักพืชสีเขียว 3 |
2 |
มีเล็กน้อย |
2 |
กากน้ำตาล 2 |
3 |
ไม่มีหญ้า |
3 |
น้ำหมักผลไม้ 3 |
1 |
ไม่มีหญ้า |
4 |
น้ำหมักพืชสมุนไพร 3 |
4 |
มีหญ้าเล็กน้อย |
5 |
กากาน้ำตาล 1 |
3 |
มีหญ้าเล็กน้อย |
6 |
น้ำหมักพืชสีเขียว 4 |
2 |
ไม่มี |
7 |
น้ำหมักผลไม้ 1 |
1 |
ไม่มี |
8 |
น้ำหมักผลไม้ 4 |
1 |
ไม่มี |
9 |
น้ำหมักพืชสีเขียว 1 |
2 |
มีเล็กน้อย |
10 |
กากน้ำตาล 3 |
3 |
มี ¼
แปลง |
11 |
น้ำหมักหัวผักกาด 1 |
5 |
มี ¼
แปลง |
12 |
น้ำหมักพืชสมุนไพร 4 |
4 |
มีเล็กน้อย |
13 |
น้ำหมักพืชสมุนไพร 2 |
4 |
มี ¼
แปลง |
14 |
กากน้ำตาล 4 |
3 |
มีเล็กน้อย |
15 |
น้ำหมักพืชสีเขียว 2 |
2 |
ไม่มี |
16 |
น้ำหมักพืชสมุนไพร 4 |
4 |
มีเล็กน้อย |
17 |
น้ำหมักหัวผักกาด
3 |
5 |
มี ¼
แปลง |
18 |
น้ำหมักผลไม้
2 |
1 |
ไม่มี |
19 |
น้ำหมักหัวผักกาด
4 |
5 |
มี เล็กน้อย |
20 |
น้ำหมักหัวผักกาด
2 |
5 |
มี ¼
แปลง |
หมายเหตุ
ระดับคะแนนที่ให้ มี
5
ระดับ โดยนักเรียนชาวนาพิจารณาจากปริมาณหญ้าที่มีในแต่ละแปลง
ให้คะแนนจากน้อยไปหามาก ระดับ 1
ไม่มีหญ้า ระดับ 5 มีหญ้ามากที่สุด
นักเรียนชาวนาวิเคราะห์แปลงทดลองแต่ละแปลง
บทวิจารณ์การทดลอง
ผลจากการใช้น้ำหมักทั้ง 5 ชนิด ทดลองนั้น
พบว่า ในแปลงที่ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนผลไม้นั้น
สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้าได้ดีที่สุด
ในวันที่ฉีดพ่นนั้นในแปลงนามีหญ้าขึ้นบางแล้วและหญ้าสูงประมาณ
1-2 เซนติเมตร
และเมื่อฉีดฮอร์โมนไปพบว่าทำให้หญ้าไม่สูงขึ้น
และไม่มีหญ้างอกขึ้นมาเพิ่ม
เมื่อปล่อยน้ำเข้านาเมื่อข้าวอายุได้
12 วัน
หลังจากปล่อยน้ำเข้าขังแปลงข้าว ประมาณ 7 วัน
บริเวณที่น้ำขังและท่วมหญ้า หญ้าจะตายหมด
ส่วนแปลงทดลองอื่น ๆ นั้น บริเวณที่น้ำท่วมหญ้า
หญ้าจะตายเช่นกัน
ส่วนบริเวณที่น้ำไม่ท่วมหญ้าจะไม่ตาย
พบว่าหญ้าในแปลงทดลองอื่นจะยืดสูงกว่าแปลงที่ฉีดด้วยน้ำหมักผลไม้
ทำให้น้ำไม้ท่วม และแปลงนาบางแหล่งเป็นที่ดอน
น้ำท่วมไม่ถึง
หญ้าจึงไม่ตาย
ข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะ
-
แปลงนา จะต้องสม่ำเสมอ และ
สามารถกักน้ำได้
เมื่อน้ำท่วมหญ้าจะทำให้หญ้าตายและเน่าเปื่อยไป
- น้ำหมักจากผลไม้
น่าจะมีผลทำให้หญ้าไม่เติบโต
เพราะพบว่าหญ้าชนิดเดียวกันที่อยู่บนคันนากับหญ้าที่อยู่ในแปลงนา
มีจำนวนใบหญ้าเท่ากัน แต่หญ้าที่อยู่ในคันนาจะสูงกว่า
ความยาวระหว่างข้อของใบจะยาวกว่า
ส่วนหญ้าในแปลงนาจะเตี้ยและแคะแกลน
-
การทดลองครั้งต่อไป
ควรทำการฉีดพ่นน้ำหมักก่อนหญ้าขึ้น
เพื่อทำการควบคุมการงอกของเม็ดหญ้า
"การทดลองครั้งนี้ เราได้น้ำมักจากผลไม้ทีไม่มีหญ้าในแปลงทดลอง การทดลองครั้งต่อไป จะต้องพิสุจน์ ผลให้แน่ชัด เปรียบเทียบกับการคุมหญ้าในแปลงนาโดยวิธีเคมี" ติดตามต่อตอนที่ 3 นะคะ ว่าน้ำหมักผลไม้จะมีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืชได้หรือไม่
เหรียญ ใกล้กลาง