ได้อะไร เสียอะไร กับระบบแท่ง


ระบบแท่ง

ได้อะไร? เสียอะไร?...กับการเข้าระบบแท่ง

 

                                เรืองชัย  จรุงศิรวัฒน์

           วันนี้ผมจะขอเล่าเรื่องได้อะไร?เสียอะไร? ...เกี่ยวกับระบบแท่ง ว่าด้วยเรื่องความแตกต่างของแท่งวิชาการกับแท่งทั่วไปซักเรื่องสองเรื่องที่หลายท่านอาจยังไม่รู้หรือรู้แล้วอาจเสียความรู้สึกกับระบบแท่งใหม่ที่กำลังจะถูกนำมาใช้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในไม่ช้านี้         

 

          ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่เป็นสายสนับสนุน(ที่เดิมเรียกว่าสายข. และ สาย ค.) ส่วนใหญ่เมื่อเข้าระบบแท่งแล้วจะเข้า“แท่งทั่วไป” และ “แท่งวิชาการ”โดยจะมีส่วนน้อยจะเข้า “แท่งอำนวยการ”ซึ่งจะได้แก่ผู้ที่ครองตำแหน่งทางการบริหารเป็น ผู้อำนวยการกอง และเลขานุการคณะ/ศูนย์/สถาบัน/สำนัก ส่วนสายสนับสนุนที่เป็นตำแหน่งแรกบรรจุด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาที่เรียกว่า “ผู้ปฏิบัติการระดับต้น”จะจัดเข้าอยู่ใน “แท่งทั่วไป” และสายสนับสนุนที่เป็นตำแหน่งแรกบรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปที่เรียกว่า “ผู้ปฏิบัติการระดับกลาง”จะจัดเข้าอยู่ใน “แท่งวิชาการ”ซึ่งผมจะขอเล่าเรื่องความแตกต่างระหว่างแท่งทั่วไปกับแท่งวิชาการบางส่วนดังนี้....    

 

ความแตกต่างเรื่องแรก

 

           นายก. ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ ระดับ 8อัตราเงินเดือน 47,450 บาท + ค่าตอบแทนเดือนละ 3,500 บาทอัตราเงินเงินเดือนนี้นาย ก.ตันที่ระดับ 8 มาหลายปีแล้วบรรจุครั้งแรกด้วยวุฒิปริญญาตรี(ครุศาสตร์)เมื่อจัดเข้าสู่ระบบแท่งจะอยู่ใน “แท่งวิชาการ”และในกระบอกที่สามเรียกว่า“ชำนาญการพิเศษ” (เป็นชื่อตำแหน่งใหม่ ตามกฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552มีผลตั้งแต่

 

16 กย.2552)อัตราเงินเดือนของกระบอกนี้จะไปตันที่ 50,550บาท ซึ่งเป็นเพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ9 ในระบบพีซี(เท่ากับว่าได้รับการขยายเพดานเงินเดือนออกไปอีก 1 ซี) ผู้ที่เป็นผู้ชำนาญการระดับ7-8(เดิม)ที่เริ่มต้นจากปริญญาจะถูกจัดให้เข้าในกระบอกนี้และยังคงได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 3,500 บาท นายก.จึงได้ประโยชน์จากการเข้าระบบแท่ง

 

           นาย ข.ดำรงตำแหน่งชำนาญการ เหมือนกับนาย ก.เป็นระดับ 8 เท่ากันเงินเดือนก็เท่ากัน  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครูชำนาญการ ระดับ8 อัตราเงินเดือน 47,450 บาท + ค่าตอบแทนเดือนละ 3,500 บาทอัตราเงินเดือนนี้ นาย ข.ตันที่ระดับ 8 มาหลายปีแล้วบรรจุครั้งแรกด้วยวุฒิอนุปริญญา(ปวส.ช่างยนต์)ต่อมาจบปริญญาตรี(บริหารการศึกษา) และ ปริญญาโท(เทคโนโลยีการศึกษา)เมื่อจัดเข้าสู่ระบบแท่งจะอยู่ใน “แท่งทั่วไป”และอยู่ในกระบอกที่สามเรียกว่า“ชำนาญงานพิเศษ” (ขอย้ำว่าชำนาญงาน ไม่ใช่ชำนาญการเป็นชื่อตำแหน่งใหม่ ตามกฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552มีผลตั้งแต่ 16 กย.2552)อัตราเงินเดือนของกระบอกนี้ยังคงตันที่เพดานเดิมในระบบพีซีคือ 47,450 บาทซึ่งเป็นเพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ 8ในระบบพีซี(เท่ากับว่าเพดานเงินเดือนไม่ได้รับการขยายเพดาน)  ผู้ที่เป็นผู้ชำนาญการระดับ 7-8(เดิม)ที่เริ่มต้นจากต่ำกว่าปริญญาจะถูกจัดให้ลงในกระบอกนี้และยังคงได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 3,500 บาท นายข.จึงไม่ได้ประโยชน์จากการเข้าระบบแท่ง

 

ความแตกต่างเรื่องที่สอง

 

               นาย ค. ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร ระดับ 5(ชื่อตำแหน่งเดิมคือพนักงานธุรการ

ระดับ 5) อัตราเงินเดือน 20,830บาท(เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับต้น)เงินเดือนยังไม่เต็มเพดาน โดยที่เพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ 5ในระบบพีซีเป็น 22,220 บาท เมื่อจัดเข้าสู่ระบบแท่งจะอยู่ใน“แท่งทั่วไป” และอยู่ในกระบอกที่สอง ที่เรียกว่า“ชำนาญงาน” (เป็นชื่อตำแหน่งใหม่ ตามกฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552มีผลตั้งแต่ 16 กย.2552)

อัตราเงินเดือนของกระบอกนี้จะไปตันที่ 33,540 บาทซึ่งเป็นเพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ7ในระบบพีซี(เท่ากับว่าได้รับการขยายเพดานเงินเดือนออกไปอีก2 ซี) ในกระบอกนี้จะประกอบไปด้วยผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่เป็นระดับ 5 และ ระดับ 6 (เดิม) นายค.จึงได้ประโยชน์จากการเข้าระบบแท่ง เป็นอย่างมาก

 

            นาย ง. ดำรงตำแหน่ง ระดับ 5 เหมือนกับนาย ค.เป็นระดับ 5 เท่ากันเงินเดือนก็เท่ากัน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ระดับ 5อัตราเงินเดือน20,830บาท(เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง)เงินเดือนยังไม่เต็มเพดานโดยที่เพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ 5 ในระบบพีซีเป็น 22,220 บาทเมื่อจัดเข้าสู่ระบบแท่งจะอยู่ใน “แท่งวิชาการ”และในกระบอกแรกที่เรียกว่า “ปฏิบัติการ”(ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของแท่งนี้)อัตราเงินเดือนของกระบอกนี้ยังคงตันที่เพดานเดิมในระบบพีซีคือ 22,220 บาท ซึ่งเป็นเพดานเงินเดือนสูงสุดของระดับ5ในระบบพีซี(เท่ากับว่าเพดานเงินเดือนไม่ได้รับการขยายเพดาน)ในกระบอกนี้จะประกอบไปด้วยผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ระดับ3-5 (เดิม) นาย ง.นอกจากไม่ได้ประโยชน์จากการเข้าระบบแท่งแล้วยังออกจะเสียประโยชน์ด้วยซ้ำไป

 

ทำอย่างไร นาย ง. จึงจะได้รับประโยชน์
จากการเข้าระบบแท่ง
?

 

               เนื่องจาก นาย ง. ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ระดับ 5ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยวุฒิปริญญาตรี ซึ่งจะมีตำแหน่ง“ควบ” เป็นระดับ 3-6 ซึ่ง

 

หมายความว่า นาย ง.จะมีความก้าวหน้าในระบบพีซีไปได้สูงสุดไปถึงระดับ 6 ดังนั้นถ้า นายง.มีคุณสมบัติครบถ้วนในการที่จะประเมินเข้าสู่ตำแหน่ง ระดับ 6ต้องรีบดำเนินการประเมินและแต่งตั้งให้เป็นระดับ6 ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2552 (หนังสือ สกอ.ที่ ศธ0509(2)/ว0218 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2552 เรื่องการกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งขรก.พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในระหว่างการปรับระบบบริหารงานบุคคลใหม่)

 

              หาก นาย ง. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ระดับ 6 (ภายในวันที่ 31 ตุลาคม2552) เมื่อระบบแท่งมีผลบังคับใช้ นาย ง.จะถูกจัดเข้าสู่“แท่งวิชาการ” และในกระบอกที่สอง ที่เรียกว่า“ชำนาญการ”โดยให้ไปใช้บัญชีเงินเดือนร่วมกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการแม้จะไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการ โดยอัตราเงินเดือนของกระบอกนี้จะไปตันที่36,020 บาท ซึ่งเป็นขั้นที่ 31ของบัญชีเงินเดือนระดับ 8ในระบบพีซี(เท่ากับว่าได้ขยายเพดานเงินเดือนออกไปอีก 1 ซีกว่าๆ)ในกระบอกนี้จะเป็นผู้ชำนาญการ ระดับ 6 , ปฏิบัติการ ระดับ 6 และหัวหน้างาน ระดับ 7
นาย ง.ถึงจะได้ประโยชน์จากการเข้าระบบแท่ง

 

 

          ******************************

 

                        

 

คำสำคัญ (Tags): #ระบบแท่ง
หมายเลขบันทึก: 305798เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบพระคุณครับ สรุปแล้ว ม.ข ใช้ ระบบ ไหน ครับ

นั่นสิครับอะไรนักหนาก่ะการบริหารคนงาน หก เจ็ด แปด จำพวก เอาแบบเดียวให้ครบถ้วนกระบวนความได้ไหม มอ ขอ เฮ้อ เหนื่อยแทน

สวัสดีคร้บรบกวนถามหน่อยคร้บอาจารย์

ผมได้ทำประเมิณผลงานเพื่อขอกำหนด ตำแหน่งชำนาญการ7-8 ผ่านเป็น ช่างเทคนิคชำนาญการ 7 ระดับ 7 ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2552 เงินเดือน 18.480 และ เมษยน 2554 จะได้เงินเดือนฐานที่ 18.910 (0.5ขั้น) เริ่ม ซี 8 ดำรงตำแหน่งช่างเทคนิคชำนาญการ ระดับ 8 ถ้าเริ่มใช้เป็นแท่งทั่วใน เมษยน 2554 เปลี่ยนเป็น ชำนาญงานพิเศษ ผมยังจะมีโอกาสได้เงินค่าตอบแทน 3.500 ไหมคร้บอาจารย์

ถ้าดูใน powerpoint วาระประชุมไม่มีเงินค่าตำหแหน่ง 3.500 ชำนาญงานพิเศษเลยคร้บ

(http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/634/997/original_bussaya1111.PDF?1287736409)

หลักการจ่ายค่าตอบแทน 3,500 บาท(ไม่ใช่วิชาชีพ) หรือ เงินประจำตำแหน่ง 5,600 ขาท(สาขาวิชาชีีพ 15 สาขา) ตำแหน่งใดที่เคยได้ก็ยังจะได้ต่อไป กล่าวง่ายง่ายๆว่าอะไรที่เคยได้ก็จะยังได้ต่อไป อะไรที่ไม่เคยได้ก็จะยังไม่ได้(ในระยะแรก)

หลายคนยังเข้าใจผิดว่าเงิน 3,500 บาทเป็นเงินประจำตำแหน่ง ยังเข้าใจไม่ถูกครับ ที่ถูกคือมันเป็นค่าตอบแทนครับ อยู่กันคนละหมวดรายจ่าย(ภาษาทางด้านการเงินเขาเรียกอย่างนี้)ครับ

หลักการของระบบแท่งคืออะไรที่เคยได้ในระบบซี เมื่อเข้าระบบแท่งแล้วก็ยังได้รับต่อไป ในทำนองเดียวกันอะไรที่ไม่เคยได้ในระบบซี เมื่อเข้าระบบแท่งก็จะยังไม่ได้(ในระยะแรก)

เงิน 3,500 บาท ที่เขาจ่ายให้กับชำนาญการ 8 นั้นเป็นค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง ไม่ใช่เงินประจำตำแหน่ง จึงไม่ปรากฏในเงินประจำตำแหน่งครับ

ช่วยอธิบายความเเตกต่างของระบบซีกับระบบเเพ่งหน่อยครับ

ขอบคุณคุณเรืองชัยมากครับ ได้รับความรู้มากมาตลอด เข้าใจมากขึ้นครับ

สวัสดีคร้บ ท่านผอ. รบกวนหน่อยคร้บความก้าวหน้าขอตำแหน่งประเภททั่วไปสามารถปรับข้ามเป็น    ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ-เชี่ยวชาญเฉพาะได้ไหมคร้บ  เช่น  ตำแหน่งช่างเทคนิคชำนาญงาญพืเศษ (c 8)  ปรับเป็น  ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ (C 8) หรือเชี่ยวชาญ (c9)                 (เดิมผมเป็นตำแหน่งครู บรรจุ ป.ว.ส แต่จบป.ตรีคร้บ)

    ตำแหน่งช่างเทคนิคชำนาญงาญพืเศษ (c 8 เดิม)  ไม่สามารถปรับเป็นตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ (C 8เดิม) หรือเชี่ยวชาญ (c9เดิม) ครับ...
    เมื่อทุกคนเข้าระบบแท่งแล้ว การปรับข้ามระหว่างแท่งทั่วไป ไปหาแท่งวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่ใช่เป็นการขีดเส้นตรงว่าเป็นระดับ 8 (ชำนาญงานพิเศษ 8) เหมือนกันเมื่อมีวุฒิการศึกษาเป็นระดับ ป.ตรี แล้วจะข้ามแท่งไปครองระดับ 8(ชำนาญการพิเศษ)ครับ
    หลักการข้ามแท่ง แม้จะเป็นชำนาญงานพิเศษ 8 เมื่อข้ามแท่งไปแท่งวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องไปเริ่มต้นที่ระดับปฏิบัติการ 3-5 แล้วไต่เพดานขึ้นมาใหม่ครับ           

ขอบคุณคุณเรืองชัยมากครับ

อ่านบทความนี้ของท่าน...แล้วโดน!...อ่ะค่ะ

pioneer.netserv.chula.ac.th/~ssuriya/101.doc

ขอบคุณมากๆค่ะที่เป็นปากเสียงให้สายสนับสนุน

ปจุบันผมดำรงตำ่นักวิชาการละครแะดนตรีชำชาญการ แต่ตอนนี่มีตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานฝ่ายดนตรีว่างแต่อยุ่ในสายงานทั่วไป ซึ่งหัวหน้ากลุ่มงานตำแหน่งจะต้องอาวุโสซึีงในสายงานไม่มีไครมีคุณสมบัติ ผมอยากถามว่าผมสามาตรย้ายไปดูแลงานทางนี้ได้ไหมคับในตำแหน่งหัวหน้างาน ตำแหน่งงานทางนี้คือดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ในตำแหน่งของผมมาได้ไหมคับระดับชำนาญการสายดนตรีเหมือนกันกองเดียวกันแต่คนละแท่งตอนเปลี่ยนตำ่แหน่งรึป่าวคั

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท