CPO's Evaluation Model


CPO's Evaluation Model คืออะไร

CPO's Evaluation Model

          แนวคิดและรูปแบบของจำลองการประเมิน “CPO”  เป็นรูปแบบของการประเมินโครงการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย  ผู้คิดรูปแบบ  คือรองศาสตราจารย์  ดร.เยาวดี     รางชัยกุล  วิบูลย์ศรี  ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการประเมินโครงการสำหรับหน่วยงานต่างๆ   ทั้งของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  และเอกชนนานกว่า   10  ปี  อีกทั้งมีประสบการณ์ในการสอนวิชา  “การประเมินโครงการ”  และวิชา  “สัมมนาการประเมินผลทางการศึกษา”  ระดับบัณฑิตทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ท่านได้กล่าวว่าตลอดระยะเวลา   10  กว่าปีที่ผ่านมารูปแบบการประเมินทั้งหลายที่มีอยู่นั้น   แม้จะเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศแต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริบททางสังคมในประเทศไทยแล้ว  ปรากฏว่ารูปแบบนั้นไม่เหมาะสมสำหรับการประเมินโครงการโดยตรงในประเทศไทย   ทั้งนี้เพราะประเทศไทยกับต่างประเทศอื่น  มีเงื่อนไขที่เป็นปัจจัยพื้นฐานทางสภาวะแวดล้อมบางประการที่ไม่เหมือนกันการประเมินโครงการในประเทศไทยโดยอาศัยรูปแบบการประเมินของชาวต่างประเทศ  ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรท่านจึงได้พัฒนารูปแบบหรือแบบจำลองการประเมินโครงการขึ้นใหม่  โดยใช้ชื่อว่า  “แบบจำลองการประเมิน CPO” (CPO’S Evaluatoin  Model)  เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการประเมินในประเทศไทยโดยเฉพาะ  ซึ่ง “แบบจำลองการประเมิน CPO”  มีหลักการและเหตุผลสำคัญในการคิด และวางรูปแบบการประเมิน  สรุปได้ดังนี้

1.  แนวโน้มของรูปแบบหรือแบบจำลองการประเมินในยุคปัจจุบัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมตะวันตกนั้น   ได้เน้นหนักไปในด้านของ  “การเจรจาต่อรอง”  ดังนั้นรูปแบบหรือแบบจำลองการประเมินที่พัฒนาใหม่ที่จะต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแนวโน้มดั้งกล่าวด้วย

2. การประเมินโครงการในยุคปัจจุบัน  จะต้องให้ความสำคัญต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับทราบถึงความเหมาะสม  ตลอดจนข้อดีข้อเสีย  รวมทั่งปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ  ในการดำเนินโครงการ  ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถพัฒนาส่วนใหญ่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

3. การประเมินโครงสร้างจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ  ให้ครบถ้วนอย่างเป็นระบบและครบวงจร  โดยคำนึงถึงคุณค่าทางสังคม  รวมทั้งความถูกต้องและคุณธรรมเป็นสำคัญ

4.  การประเมินโครงการจะต้องคำนึงสภาพการณ์  หรือสภาวะล้อมต่างๆให้ครบถ้วน  และไม่ควรยึดรูปแบบหรือแบบจำลองที่ตายตัวเสมอไป   แต่ควรจะพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบหรือแบบจำลองเหล่านั้นให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์  ตามควรแก่กรณีอยู่เสมอ

การประเมินโครงการนั้นเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นอันจะนำไปสู่การตัดสินความสำเร็จ รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุง  พัฒนา  ตลอดจนการสร้างและการกำหนดทางเลือกใหม่ในการดำเนินโครงการ  ดังนั้นกิจกรรมการประเมินโครงการ จึงเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็น  เกี่ยวกับปัจจัยขั้นพื้นฐานของโครงการ  ตลอดจนกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ  และผลผลิตของโครงการ  ภายใต้กิจกรรมและช่วงเวลาที่ได้กำหนดหรือวางแผนไว้  ดังนั้นเพื่อช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ  ดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  รองศาสตราจารย์ ดร.เยาวดี  รางชัยกุล  วิบูลย์ศรี  จึงได้พัฒนารูปแบบหรือแบบจำลองของการประเมินโครงสร้างขึ้น  ซึ่งเหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

คำสำคัญ (Tags): #cpos evaluation model
หมายเลขบันทึก: 305714เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 05:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท