วิจัยทางการศึกษา


การพัฒนาโครงการภาษาจีนกลางของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช

            ประเทศไทยได้พยายามขยายการศึกษาออกไปในวงกว้าง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โครงการตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่วนหนึ่งมี หอการค้าไทย - จีน ได้ร่วมมือในการสอนภาษาจีนกลางผ่านดาวเทียมด้วย(บุญส่ง ศรีเฟื่องฟุ้ง. 2545 : 1) แต่ปัจจุบันมีสถาบันที่เปิดสอนภาษาจีนกลางในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล จำนวน 16 สถาบันการศึกษา ได้แก่ ศูนย์ภาษาจิ่นหง โรงเรียนสอนภาษาจีนสุขสันต์วิทยาโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีน (CCC) มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง สถาบันภาษานานาชาติอินลิงกัว โรงเรียนสอนภาษาแบร์ลิทซ์ โรงเรียนโชตะพัฒนาภาษาสากล โรงเรียนภาษาโดยวิธีธรรมชาติ โรงเรียนสอนภาษาตันติ โรงเรียนสอนภาษาจีนศึกษา บ้านภาษาจีนสิริวิทย์ สถาบันสอนภาษาจีนกลาง(ICI) สถาบันสอนภาษา(AC) C-Net Center โรงเรียนสอนภาษาสีลม(SLC)โรงเรียนสอนภาษาอักษรวิทยา และสถาบันวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก(O.C.A.) ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันสถาบันที่เปิดสอนภาษาจีนกลางนั้นมีค่อนข้างน้อยและหาได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งไม่สอดรับตามกระแสโลกเท่าที่ควร การตอบรับตามกระแสโลกนั้นจะต้องมีการปรับแนวคิดใหม่เพื่อสนองต่อตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุด เช่น จีน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทรงอิทธิพลมากที่สุดด้วย ร่วมถึงการที่ประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกขององค์การการค้าโลก โดยมีศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกคนปัจจุบันดังนั้นการเร่งสร้างผู้มีความรู้ความสามารถทางภาษาจีนกลาง จึงอาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจของไทยก้าวไปอยู่ในระดับสากลได้ ฉะนั้นจึงควรที่จะมีตลาดทางการศึกษาด้านภาษาจีนกลางภายในประเทศไทย และควรส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนกลาง ขึ้นตามลำดับอย่างรวดเร็วใน ภาวการณ์ ปัจจุบัน      

        สำหรับโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราชได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ถึงปัจจุบัน พบว่าเกิดผลสำเร็จต่อผู้เรียน สามารถสื่อสารได้และมีความสามารถเข้าไปสนทนาและเข้าร่วมในโครงการ “ASIAN  DIALOGUE” และในปีการศึกษา 2552 นี้ มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  จำนวน  129  คน

                ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินโครงการจนกระทั่งโครงการดังกล่าวดำเนินไป ยังไม่เคยมีการประเมินโครงการมาก่อน ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่สามารถทราบได้ว่าโครงการที่ดำเนินอยู่นี้ดำเนินไปโดยมีปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมหรือไม่ กระบวนการที่ปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ และผลผลิตของโครงการเป็นอย่างไร

                ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงดำเนินการ ศึกษาโครงการ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษา ของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงประเมิน เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทุกฝ่ายได้ทราบถึงข้อมูลที่จำเป็นในทุกๆด้านอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษาของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1   

2.เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาโครงการการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษาของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1   

 กรอบแนวคิดการประเมิน

การประเมินโครงการ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษาของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1   โดยผู้ศึกษาค้นคว้า อาศัยแนวคิดการประเมินโครงการในรูปแบบ “CPOs” ของรองศาสตราจารย์ ดร.เยาวดี   รางชัยกุล วิบูลย์ศรี

 ขอบเขตของการวิจัย

                การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประเมินโครงการ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษาของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1   ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความประสงค์จะศึกษาค้นคว้า  ตามขอบเขตต่อไปนี้          

ประชากร       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มีจำนวน 148 คน จาก 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบการดำเนิน โครงการของโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช

2. กลุ่มนักเรียนในโครงการ

3. กลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ

 ประโยชน์ของการวิจัย

1. เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในการวางแผนปรับปรุงหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

2. เป็นข้อมูลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป็นข้อมูลในการกำหนดช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม

3. เป็นข้อมูลสำหรับผู้ปกครองของนักเรียนในโครงการ ได้ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามโครงการ และเป็นข้อมูลสำหรับ นักเรียนและ  ผู้ปกครองในการตัดสินใจเลือกเรียน ในโครงการ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนกลางกับเจ้าของภาษา  เพิ่มขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 305712เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท