กระบวนการสอนแบบโครงงาน


หลักการของรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานสำหรับเด็ก 

                วัฒนา  มัคคสมัน ( 2544 )  ได้กล่าวว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนนี้  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร  มีอิสรเสรี  ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่เด็กในฐานะคนคนหนึ่ง  ที่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน  สร้างความรู้สึกที่มั่นคง  กล้าคิดการแสดง  กล้าลงมือทำ  ครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุน  คอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ  ครูจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่จะเป็นผู้จัดสภาวะแวดล้อมของห้องเรียนและเตรียมอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องราวที่เป็นความสนใจ และท้าทายความสามารถของเด็ก  ให้โอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง  ได้เห็นพัฒนาการและความสำเร็จและล้มเหลวของตน  ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวก และคอยแนะนำช่วยเลหือให้เด็กได้ประสอบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม

 หลักการสำคัญของรูปแบบการสอนแบบโครงงาน 

วัฒนา  มัคคสมัน ( 2544 ) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของรูปแบบการสอนแบบโครงงานดังนี้

  1. เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น   ด้วยกระบวนการคิด  และแก้ปัญหาของเด็กเอง  จนพบคำตอบที่ต้องการ
  2. เรื่องที่ศึกษากำหนดเองโดยเด็ก
  3. ประเด็นที่ศึกษา  เกิดจากข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กเอง
  4. เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา  โดยการสังเกตอย่างใกล้ชิดจากแหล่งความรู้เบื้องต้น
  5. ระยะเวลาการสอนยาวนานอย่างเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
  6. เด็กได้ประสบทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษา  ตามกระบวนการแก้ปัญหาของเด็ก
  7. ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการแก้ปัญหาของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กใช้กำหนดประเด็นศึกษาขั้นใหม่  หรือใช้ปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กต้องการ
  8. เด็กได้นำเสนอกระบวนการศึกษาและผลงานต่อคนอื่น
  9. ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ  แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด  และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

 วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

                วัฒนา  มัคคสมัน ( 2544 ) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน  ว่ามีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ เมื่อใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้แล้วผู้เรียน

  1. สามารถพัฒนากระบวนการคิดของตนเอง
  2. สามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง
  3. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นกระบวนการ
  4. เห็นคุณค่าในตนเอง

 กรมวิชาการ ( 2542 , หน้า 48 – 50 ) ได้กล่าวว่า  ธรรมชาติของเด็กในวัย 4 – 8  ปี  ส่วนมากยังคงสนใจใคร่รู้ในสิ่งที่ผู้ใหญ่เสนอแนะ  มีความอยากลองใหม่ๆ อย่างกระตือรือร้น  และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับการทำงานเป็นกลุ่ม  การจัดกิจกรรมโครงงานและเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้  ซึ่ง Katz  and  Chard มีความเชื่อว่าการนำเอากิจกรรมโครงงานเข้าสู่การเรียนการสอนของเด็กในวัยนี้จะนำไปสู่เป้าหมายหลัก 5 ประการดังนี้

  1. เป้าหมายทางสติปัญญาและความงอกงามทางจิตใจ (The  Life  of  mind )

 การจัดการศึกษาที่ผ่านวิธีการจัดการกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการสอนอ่านเขียนเลขและการสอนที่เน้นการเล่นโดยตนเองนั้น  ยังไม่สามารถเข้าไปสัมผัสถึงจิตใจของเด็กได้อย่างแท้จริง  ความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนที่ควรตระหนักคือ  ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อโลกที่อยู่รอบตัวเขา  รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ในลักษณะดังกล่าวนั้น  มีผลที่มีคุณค่าต่อตัวเองซึ่งจะก่อให้เกิดความมานะบากบั่น  กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป

  2.ความสมดุลของกิจกรรม ( Balance of Activities )

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานนั้นมิใช่รวมทั้งหมดของหลักสูตรแต่จะเป็นส่วนสำคัญของหลักสูร  งานโครงงานจะมีส่วนที่ช่วยขยายสิ่งที่เรียนรู้จากการเล่น  โดยตนเองหรือการสอนแบบที่วางแผนมาเป็นระบบ  ซึ่งงานโครงงานดังกล่าวถึงอาจจะเป็นงานโครงงานที่เขียนไว้เป็นระบบระบุไว้ในหลักสูตรหรือเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายไว้ล่วงหน้าก็ได้  สิ่งที่สำคัญก็คือการจัดกิจกรรมโดยใช้โครงงานนั้น  จะต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างทักษะการเรียนรู้และการประยุกต์ความรุ้และทักษะต่างๆไปใช้ในสิ่งที่เด็กพบเห็นในชีวิตประจำวัน

  3.โรงเรียน คือ ชีวิต ( School  as  Life  )ประสบการณ์ในโรงเรียนสำหรับเด็กนั้น  ความจริงชีวิตในโรงเรียนควรจะต้องสามารถตอบสนองความสนใจและความต้องการของเด็ก  รวมทั้งจะต้องสามารถสร้างความท้าทายในการแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง  ประสบการณ์ในโรงเรียนควรจะมีความยืดหยุ่นและมีอิสระจากความกดดันภายนอกบ้าง  ในบางครั้งที่จะลดความเครียด

  4.คุณธรรมชุมชนในห้องเรียน ( Community  Ethos  in  the  class )

การจัดการสอนแบบโครงงานเชื่อว่าทำธรรมชาติของกิจกรรมโครงงานจะสร้างสถานการณ์ให้คุณธรรมของความร่วมมือกันให้เกิดขึ้นได้ในห้องเรียนก็เปรียบได้เหมือนชุมชน  เด็กแต่ละคนจะได้มีโอกาสแสดงความสามารถออกมา  มีการช่วยเหลือซึ่งกันละกัน  ทำงานร่วมกัน โดยที่ผู้ใหญ่นั้นจะต้องให้โอกาส  และยอมรับเขา  พร้อมเชื้อว่าเด็กสามารถจะคิดและทำตามคำสั่งต่างๆได้  ในส่วนของครูบทบาทก็มิได้ด้อยความสำคัญลงไปแต่จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนให้เด็กแต่ละคนเกิดความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

 5.การสอนเป็นสิ่งที่ท้าทาย ( Teaching  as  a  Challenge )

การสอนแบบโครงงานจะจุดประกายความคิดให้อยู่ในมุมมองที่ดีกว่า  “ การสอนเป็นสิ่งที่ท้าทาย ”  จะเปิดโอกาสให้ครูได้ทำงานในสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วย

                ลักษณะของการสอนแบบโครงงาน

กรมวิชาการ ( 2545 ) ได้อธิบายลักษณะเด่นของโครงงานตามทัศนะของนักการศึกษาหลายคนที่เห็นตรงกัน  ดังนี้คือ

  1. โครงงานให้ความสนใจที่การเรียนรู้เนื้อหามากกว่าการเจาะจงที่การเรียนรู้ที่ภาษาเป็นเป้าหมาย  โดยยึดเอาหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจมาเป็นจุดศูนย์กลางของโครงงาน
  2. โครงงานเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยที่ผู้สอนจะเป็นผู้สนับสนุน  ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอดกระบวนการทำโครงงาน
  3. โครงงานงานเป็นร่วมมือร่วมใจกันมากกว่าการแข่งขันที่ผู้เรียนจะช่วยเหลือกันแบกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างการทำโครงงานเพื่อให้โครงงานเสร็จสมบูรณ์
  4. โครงงานเป็นการผสมผสานทักษะที่หลากหลายทั้งทักษะทางภาษา  สังคม และวิทยาศาสตร์ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ตลอดการทำโครงงาน
  5. โครงงานจะมีการกำหนดสิ้นสุดที่ผลงานสุดท้าย  ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปแต่คุณค่าของโครงงานไม่ได้อยู่ที่ผลงานสุดท้ายแต่แต่อย่างเดียวแต่หมายรวมถึงกระบวนการที่จะนำไปสู่ผลงานสุดท้าย
  6. โครงงานเป็นการสร้างแรงจูงใจ  กระตุ้น  และสร้างความท้าทายแก่ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิในในตนเอง  มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้เป็นการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาและเนื้อหาที่ได้รับอีกด้วย

ขั้นตอนการทำโครงงาน

                สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2542 , หน้า 42 – 45 ) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการทำโครงงานไว้ 6 ขั้นตอน คือ

  1. ขั้นเลือกหัวข้อโครงงาน
  2. ขั้นเขียนโครงร่างของโครงงาน
  3. ขั้นปฏิบัติตามโครงงาน
  4. ขั้นอภิปรายและสรุปผลโครงงาน
  5. ขั้นนำเสนอผลงงาน
  6. ขั้นพัฒนาโครงงาน

  1. ขั้นเลือกหัวข้อของโครงงาน

เมื่อนักเรียนพบปัญหานำประเด็นมาอภิปรายในชั้นเรียน  โดยการระดมความคิดแล้วเขียนเป็นแผนผังความคิด  เพื่อหาหัวข้อของโครงงาน  จากนั้นให้นักเรียนหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่สนใจจากแหล่งความรู้ต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงาน

  1. ขั้นเขียนโครงร่างของโครงงาน

เมื่อนักเรียนได้เรื่องที่สนใจแล้ว  ครูควรให้เวลานักเรียนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่นักเรียนจะทำเป็นโครงงาน  โดยใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายในชุมชน  เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน  สถานประกอบการในชุมชน  เกษตรกร  อนามัยตำบล  ห้องสมุด  โรงเรียน  ครูอาจารย์ในโรงเรียน และพระภิกษุ เป็นต้น  แล้วร่มกันกำหนดเป็นกรอบในการศึกษา  หลังจากนั้น  นักเรียนได้ร่วมกันกำหนดโครงร่างของโครงงาน

1.ขั้นปฏิบัติตามโครงงาน

เมื่อนักเรียนได้ร่วมกันกำหนดแผนการปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้วนักเรียนเริ่มลงมือปฏิบัติตามโครงงานตามลำดับ

2.ขั้นอภิปรายและสรุปผลโครงงาน

นำผลที่ได้จากการปฏิบัติตามโครงงานในขั้นตอนที่ 3 มาอภิปรายร่วมกันสรุปผล

3.ขั้นนำเสนอโครงงานนักเรียนร่วมกันเขียนรายงานผลเป็นเอกสาร  เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน  และ เผยแพร่ต่อสาธารณะ  โดยครูช่วยกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและเขียนรายงานให้เห็นถึงเค้าโครงตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ

4.ขั้นการพัฒนาโครงงานหลังจากประสบผลสำเร็จในการศึกษาเรียนรู้โครงงานแรกแล้วนักเรียนอยากศึกษาต่อไป  ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนคิดจัดทำโครงงานในเรื่องใหม่ต่อไปจากรูปแบบสรุปได้ว่า  การให้นักเรียนได้ทำโครงงาน คือ ค้นพบหลักการได้เอง  โดยการใช้กระบวนการคิดและสรุปอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง

          ส่วนแนวคิดของ Fried – Booth ( 1987 ) ได้ระบุขั้นตอนในการทำโครงงานไว้ ดังนี้คือ

  1. ขั้นตอนวางแผน  เป็นขั้นตอนของการร่วมมือกันอภิปรายเนื้อหาและขอบเขตของโครงงานโดยพยากรณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
  2. ขั้นตอนการดำเนินการ เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้โดยใช้ทักษะทางภาษา คือ ฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนผสมผสานกันอย่างเป็นธรรมชาติ
  3. ขั้นตอนทบทวนและแก้ไขผลงงาน  เป็นขั้นตอนของการอภิปรายแสดงความคิดเห็นระหว่างดำเนินการกับหลังดำเนินการ

 

หมายเลขบันทึก: 305521เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท