ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4-7) การจัดการปกครอง ต่างประเทศและการเสียดินแดน


การจัดการปกครอง ต่างประเทศและการเสียดินแดน

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4-7)

--------------------------------------------------------

1. การจัดระเบียบการปกครอง

            - สมัยรัชกาลที่ 4

               ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

            - สมัยรัชกาลที่ 5

               รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้

               ก. การปฏิรูปการปกครอง

                   1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ              กรมมุรธาธิการ     (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)           

                   2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

                สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก

            ข. ตั้งสภาที่ปรึกษา

                รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ

                 1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน     พระองค์

                 2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป    

            ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย

                การเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน

            - สมัยรัชกาลที่ 6

               1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน

               2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ  ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต

               3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง

            - สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

               ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จงตอบคำถามต่อไปนี้

            1. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากมูลเหตุใดและมีผลต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง

            2. การจัดตั้งนครสมมติดุสิตธานีในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไร

2. การต่างประเทศ

            - สมัยรัชกาลที่ 4

               1. เป็นสมัยเริ่มต้นการเปิดประเทศ โดยถูกบีบบังคับให้ทำสนธิสัญญาที่ผูกมัดเอารัดเอาเปรียบและไม่เป็นธรรม แต่เพื่อความปลอดภัยและเอกราชของชาติ รัชกาลที่ 4 จึงได้ใช้นโยบาย     "ผ่อนสั้นผ่อนยาว" เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้

               2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษซึ่งไทยเสียเปรียบมาก สัญญาฉบับนี้ทำเมื่อ พ.ศ.2398

               3. ไทยส่งราชทูตไทยไปยุโรป โดยส่งพระยามนตรีศรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) และหม่อมราโชทัย อัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระนางวิคตอเรียที่อังกฤษ

               4. แต่งตั้ง จอห์น เบาริ่ง เป็นอัครราชทูตไทยไปประจำยุโรปคนแรก โดยให้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาสยามานุกูลกิจ สยามิตรมหายศ

            - สมัยรัชกาลที่ 5   

               1. ได้สร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก

               2. ส่งเอกอัครราชทูตไทยไปประจำประเทศต่างๆ เป็นครั้งแรก เอกอัครราชทูตไทยคนแรกคือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ไปประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และยังได้ส่งเอกอัครราชทูตไทยไปประจำยัง สหรัฐอเมริกา โซเวียติ และญี่ปุ่น

            - สมัยรัชกาลที่ 6

               เกิดวิกฤติการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย ในการเข้าร่วมสงครามไทยได้เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์   

               การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในระยะแรกไทยยังรักษาความเป็นกลางอยู่ แต่เนื่องจากรัชกาลที่ 6 ทรงติดตามข่าวคราวของสงครามอย่างใกล้ชิด และทรงเล็งการณ์ไกล จึงได้ประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันมี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น อเมริกา ร่วมรบกับฝ่ายอักษะ ซึ่งประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี ทรงมีแนวความคิดว่าถ้าชนะก็มีโอกาสที่จะแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ไทยเสียเปรียบ โดยไทยประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2460 การตัดสินใจครั้งนั้นได้รับการทัดทานจากประชาชนโดยทั่วไปเพราะเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีน่าจะชนะ คือในระยะแรกๆ นั้นเยอรมนีสามารถชนะมาโดยตลอดและยึดดินแดนของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ และมีคนไทยส่วนหนึ่งไปศึกษาในเยอรมนี และยอมรับชาวเยอรมนีเป็นครูจึงเกิดความเคารพ หลังจากประกาศสงครามแล้วไทยเริ่มทำการจับเชลยศึกที่เป็นชาวเยอรมนีและออสเตรีย ไทยส่งทหารเข้าร่วมรบ 2 กอง คือ กองบินทหารบก จำนวน 400 คนเศษ และกองทหารรถยนต์ จำนวน 800 คน กองทัพไทยถูกส่งประจำแนวหน้าทำหน้าที่ลำเลียงกำลังให้แก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ไทยได้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาและวงเวียน 22 กรกฎาคมไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย

            ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงคราม

            1. ไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ

            2. ไทยได้รับการยกย่องเท่าเทียมกับประเทศผู้ชนะสงคราม

            3. มีโอกาสเรียกร้องแก้ไขสนธิสัญญาโดยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา

            4. ไทยมีโอกาสปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยขึ้น

            5. ได้ประโยชน์จากการยึดทรัพย์เชลยและเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มในองค์การ      สันนิบาตชาติ

            - สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

               การต่างประเทศและนโยบายยังคงเดิม

การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4-5

            - สมัยรัชกาลที่ 4

               ไทยเสียดินแดนในเขมรให้ฝรั่งเศส โดยเมื่อวันที่ 11  สิงหาคม พ.ศ.2406 เขมรได้เซ็นสัญญาอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสโดยอ้างว่าถูกฝรั่งเศสบังคับ ไทยจึงขอเปิดเจรจากับฝรั่งเศส แต่  ฝรั่งเศสอ้างว่าเขมรเป็นประเทศราชของญวน เมื่อญวนเป็นของฝรั่งเศสแล้วเขมรก็ต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย และในที่สุดไทยก็ต้องลงนามยอมรับว่าเขมรเป็นรัฐในอารัก๘าของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2410ต้อง็

            - สมัยรัชกาลที่ 5

               1. การเสียแคว้นสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส พ.ศ.2431 ฝรั่งเศสเข้ายึดแคว้นสิสองจุไท สืบเนื่องมาจากกองทัพไทยยกทัพไปปราบฮ่อที่มารุกรานหัวเมืองลาวในแคว้นสิบสองจุไท ฝรั่งเศสถือโอกาสส่งกองทหารเข้าดินแดนสิบสองจุไทโดยอ้างว่าดินแดนเหล่านี้เคยเป็นของญวนมาก่อนและมาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่เมื่อเสร็จศึกฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออก ไทยจึงต้องยินยอมตามฝรั่งเศส

               2. การเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ประเทศลาว)  นับเป็นการนเสียดินแดนที่มีพื้นที่มากที่สุด สืบเนื่องมาจากฝรั่งเศสต้องการขยายอิทธิพลมาเขตนี้เพราะสามารถยึดญวนและเขมรได้ แล้ว

               3. การเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (จำปาศักดิ์) เพื่อแลกกับจันทบุรี โดยให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีซึ่งฝรั่งเศสยึดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2437 ถ้าฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีแล้วไทยจะยกฝั่งขวาแม่น้ำโขงแลกเปลี่ยน ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกแต่กลับไปยึดตราดแทน

               4. การเสียดินแดนแถบมณฑลบูรพา (พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ) หรือเขมรส่วนใน ไทยยอมเสียเขมรส่วนในให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนกับตราดกับสิทธิทางด้านกฎหมายและการศาล โดยฝรั่งเศสยอมให้คนในเอเชียในบังคับฝรั่งเศสที่อาศัยในประเทศไทยถ้าทำความผิดต้องขึ้นศาลไทย

            5. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ ไทยยอมยกดินแดนดังกล่าวให้อังกฤษเพื่อแลกกับสิทธิทางการศาล

จงตอบคำถามต่อไปนี้

            1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4-7 ประเทศไทยเสียประโยชน์หรือได้รับประโยชน์จากการมีสัมพันธไมตรีอย่างไรบ้าง

            2. การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรของรัชกาลที่ 6 ถ้านักเรียนอยู่ในสมัยนั้น นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่เพราะเหตุใด

            3. การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4-5 ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดปลอดภัยโดยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกอย่างไร

                   **ข้อมูลเพิ่มเติม**

        *เศรษฐกิจ สังคมศาสนาสมัย ร.1-ร.3* คลิกอ่านได้ครับ
        *ศิลปกรรมและความสัมพันต่างประเทศสมัย ร.1-ร.3* คลิกอ่านได้ครับ
        *การศึกษาและการเลิกทาส สมัย ร.4-ร.5* คลิกอ่านได้ครับ
        *กฎหมายเศรษฐกิจการศาลสมัย ร.4-ร.7* คลิกอ่านได้ครับ
        *ประวัติศาสตร์สมัยร.7-ปัจจุบัน(การปกครอง)* คลิกอ่านได้ครับ 
        *ประวัติศาสตร์ไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง(การปกครอง)* คลิกอ่านได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 305265เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ทำไมไม่มีการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลายม่ะ

ขี้หกทั้งแพ

สุวรรณภา ศรีริวารินทร์

ทำไมไม่มีการปกครองต่างๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลายคะ

จะทำรายงานส่งครู หาไม่ค่อยมีเลยคะ ถ้ามีก็มีนิดเดียวเองคะ

รัตนโกสินทร์ตอนปลาย ไม่มีหรอกค่ะ คุณจะรู้ได้ยังไงว่ามันจะตอนปลายเมื่อไหร่ เพราะตอนปลายก็หมายถึงสิ้นสุดน่ะค่ะ

รัตนโกสินทร์ตอนกลางอาจจะไม่ใช่ช่วงที่เรารู้ขณะนี้ก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป รัตนโกสินทร์ยังอยู่อีกยาวนานอย่าเพิ่งถามถึงตอนปลายเลย

ค่ะ

ทำมัยไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรื่อง

ช่วยบอกเนื้อหาที่น่าสนใจหน่อย

ที่หนูต้องการจะหาไม่มีเลยขอข้อมูลพี่เพิ่มได้ไหม

อยากด้ข้อมูลมากกว่านิอ่ะคะ

ไม่ทราบว่าพอจะมีอีกมั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท