TV for KIDS Workshop @ TK Park Central World


เมื่อรายการเด็ก...คิดเล็กไม่ได้

            จากการได้เข้าร่วม workshop ในหัวข้อ "เมื่อรายการเด็ก....คิดเล็กไม่ได้"  ทำให้ได้พบประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก   คือ    การค้นพบ mirror neuron  เป็นกลุ่มของเส้นประสาทในสมอง ที่ทำหน้าที่จำลองสัญญาณประสาทของคนที่ได้เคลื่อนไหวหรือแสดงออกความรู้สึกใดๆออกมา ให้มาอยู่ในสมองของเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตทันที โดยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ เพิ่มเติม โดยสิ่งที่สมองของเราสังเกตได้ จะเข้ามาอยู่ในตัวเราโดยอัตโนมัติ  เพราะการทำงานของเส้นประสาทนี้ต่อโดยตรงไปยังเส้นประสาทอื่นๆที่ควบคุมระบบภายในร่างกายและต่อไปยังสมองส่วนกลาง (limbic system) ที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
            การค้นพบนี้ก็เป็นการแสดงว่าการเรียนรู้ของคนเรานั้นเปิดกว้างตลอดเวลาและตื่นตัวเสมอ (active) ไม่ใช่ว่าประสบการณ์ การเรียนรู้ อยู่กับที่ให้เราไปหาอย่างเดียว (passive)  

                สำหรับในเด็กปฐมวัยนั้นจะมีจำนวนของ mirror neuron ที่มากกว่า ผู้ใหญ่ถึง 20 เท่า เพราะในช่วงอายุนี้สมองของเด็กจะทำงานได้มี มีการเชื่อมต่อของ synapse ได้รวดเร็ว ทำให้เด็กเล็กสามารถถูกกระตุ้นได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ปกครองปล่อยให้เด็กนั่งดูการ์ตูนหน้าทีวีตามลำพัง เด็กก็จะจำภาพโฆษณาขนม  จำภาพของละครในฉากต่างๆที่มีความรุนแรง  จริงอยู่ที่เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านจินตนาการ แต่ต้องตระหนักว่าเด็กเล็กยังไม่สามารถแยกแยะโลกสมมติกับโลกของความจริงได้  เพราะฉะนั้นเด็กก็จะจดจำภาพที่พบเห็นโดยผ่านการทำงานของ mirror neuron ทำให้เกิดพฤติกรรมการ “เลียนแบบ” หรือ “สะท้อนภาพ” พฤติกรรมออกมา

                เพราะฉะนั้นในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้ ควรจะส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยพยายามเชื่อมโยง sensory ต่างๆให้มีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรกระตุ้นพัฒนาการเพียงแค่สมองซีกใดซีกหนึ่งแต่ควรกระตุ้นสมองส่วนหน้า( prefrontal ) ได้มีการพัฒนาด้วย

                ท้ายนี้อยากฝากแนวทางในการสร้างสรรค์งานสื่อเพื่อกระตุ้นและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กทุกๆวัย โดยรศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวทิ้งท้ายในพิธีเปิดการอบรมไว้  ดังนี้

1. Learning to know

2. Learning to do

3. Learning to live with other

4. Learning to be

คำสำคัญ (Tags): #สมอง#สื่อ
หมายเลขบันทึก: 305097เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท