สิทธิในที่ดิน


      สิทธิในที่ดิน หมายถึง กรรมสิทธิ์และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย

      ดังนั้น สิทธิในที่ดินจึงแยกออกได้เป็น กรรมสิทธิ์ กับสิทธิครอบครอง

      กรรมสิทธิ์ หากเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์"กรรมสิทธิ์" จะมีได้เฉพาะที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เท่านั้น

      สิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 บัญญัติไว้ว่า"บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง"  การยึดถือครอบครองที่ดินที่ไม่มีโฉนดที่ดิน เช่น ที่ดินที่มี ส.ค. 1,น.ส.3,น.ส.3ก, น.ส.3ข หรือที่ดินที่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย ผู้ครอบครองนอกจากจะยึดถือเพื่อตนแล้วยังคงความเป็นเจ้าของด้วย ที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีโฉนดไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ได้คงมีได้เพียงสิทธิครอบครองจึงมีลำดับรองจากกรรมสิทธิ์ แต่เจ้าของที่ดินที่มีสิทธิครอบครองมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น

      ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ ต้องแย่งการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันสิบปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ถ้าเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง (ที่ดินมือเปล่า) หากถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องคืนภายใน 1 ปี ตาม    ป.พ.พ. มาตรา 1375 ไม่เช่นนั้นหมดสิทธิฟ้องร้อง

หมายเลขบันทึก: 302497เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ดร. เมธา สุพงษ์

มาอ่าน อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ และมาให้กำลังใจ

จะคอยติดตามตอนต่อไปค่ะ

ขอบคุณครับครูจิ๋วที่คอยติดตามอ่านตลอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท