"คะลำ" เรื่องนี้มีที่มา


"คะลำ"วัฒนธรรมที่ถูกลืม

"คะลำ"

        สวัสดีค่ะ วันนี้ขอต่อยอดความคิดจากการที่ได้พาพี่ชายทั้งสองท่านเที่ยวชมวัดหนองแวงค่ะ แต่งานนี้เอ๋ยอมรับค่ะว่าไม่เอาไหนจริงๆค่ะ แม้ว่าจะเป็นคนอีสานแต่ศัพท์อีสานบางคำเอ๋ยังแปลไม่ออก เพราะไม่ค่อยได้ใช้ค่ะ

       ยิ่งเรื่องคะลำแล้ว พูดได้เต็มปากค่ะว่า "ไม่รู้เรื่องเลย" น่าอายจริงๆ

อธิบายให้พี่ชิว กับพี่ขจิตฟังไม่ได้ รู้สึกผิดยังไงชอบกล

       งานนี้ขอแก้ตัวโดยการหาข้อมูลมาอธิบายตัวเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ (ด้วยความสามารถอันน้อยนิดหามาได้แค่นี้นะคะ จะพยายามหามาเพิ่มอีกค่ะ)

       ในบรรดาคำสั่งสอน คำแนะนำ ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติในสังคมอีสานนั้น

'คะลำ' ถือว่าเป็นมรดกทางปัญญาอย่างหนึ่งที่ผลิตออกมาจากองค์ความรู้ของคนอีสาน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งจากความเชื่อ บรรทัดฐาน ค่านิยม การทดลอง การปฏิบัติทั้งในแง่ส่วนบุคคลและจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมและเห็นว่าไม่ควรกระทำ ประพฤติ ปฏิบัติออกไป ทั้งนี้คะลำได้ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิต แนวปฏิบัติด้านต่างๆในชีวิตประจำวัน

หากจะเปรียบฮีตสิบสองคองสิบสี่เป็นรัฐธรรมนูญ

คะลำคงจะเปรียบกับกฎหมายลูกหรือพระราชบัญญัติที่แยกย่อยออกมากำหนดชี้เฉพาะ หรือให้รายละเอียดปลีกย่อยไปในแต่ละเรื่อง

คะลำ , ขะลำ หรือ กะลำ บางท่านเชื่อว่ามาจากรากศัพท์ของคำว่า กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ อันเป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของคนอีสานในอดีต เนื่องจากคะลำเป็นข้อห้ามในการกระทำแสดงออกต่างๆ หรือสิ่งต้องห้าม ต้องเว้น ห้ามประพฤติปฏิบัติ ไม่สมควรที่จะกระทำ ทั้งกาย วาจาและใจ หากละเลย หรือล่วงละเมิดจะเป็นอัปมงคล เป็นบาปกรรม ผิดฮีตผิดคอง นำความเสื่อมเสีย และอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลที่ฝ่าฝืนรวมทั้งมีผลต่อสังคมที่อยู่ด้วย

ดังนั้น คะลำ จึงเป็นดังมาตรการหรือข้อห้ามในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคมและเป็นกฏเกณฑ์ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมด้วย ทั้งนี้อาจจะใกล้เคียงกับ 'ขึด' ของทางภาคเหนือ หรือข้อห้ามต่างๆที่มีในภาคกลางและภาคใต้ รวมทั้ง Taboo ในภาษาชาวเมลานีเชีย โดยได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาและหลายคนที่รับปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งลางครั้งหลายข้อกะลำไม่มีเหตุผลอธิบายรายละเอียดว่าเหตุใดจึงต้องคะลำ เห็นว่าเคยถูกสั่งสอนปฏิบัติสืบต่อกันมาจึงได้ปฏิบัติสืบต่อกันไป ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าคะลำหลายข้อได้บอกถึงผลข้างเคียงหรือผลจากการฝ่าฝืนไว้อย่างน่ากลัว น่า "เข็ดขวง" ซึ่งผู้ล่วงละเมิดจะได้รับ ดังนั้นข้อคะลำหลายข้อจึงมีลักษณะอย่างฟันธงว่า

"เพราะว่าคะลำจึงห้ามประพฤติ !"

ด้วยเหตุนี้คะลำซึ่งได้กลายเป็นเหตุผลของการห้ามคะลำไปในตัว มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองโดยปริยาย แต่ครั้นพอเวลาล่วงเลยผ่านบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คะลำหลายข้อได้ถูกละเลย ละทิ้งและไม่ได้รับความสนใจที่จะประพฤติ ปฏิบัติดังที่เคยเป็นมา ทั้งที่หากพิจารณาถึงข้อคะลำโดยรวมทั้งหมดจะเห็นภาพชีวิตของคนที่ปรากฏในข้อคะลำทั้งหลายที่บัญญัติ ทั้งนี้การที่บัญญัติข้อคะลำออกมานั้น จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ก่อนจึงจะสามารถเข้าใจถึงผลที่จะเกิดจากการฝ่าฝืนข้อคะลำ

เช่นนั้นคะลำจึงเป็นผลผลิตหนึ่งที่เกิดจากการกระทำที่เคยประสบมาในอดีต ภายใต้เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมและเวลาในขณะนั้น เพื่อกำหนดข้อประพฤติ ปฏิบัติของคนในสังคม หลายข้อแฝงด้วยปรัชญาของชีวิตและภูมิปัญญาที่คนอีสานในอดีตได้คิดค้นเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและแบบแผนปฏิบัติเฉพาะบุคคลเพื่อความดี ความงามตามมาตรฐานสังคมและสวัสดิภาพของชีวิต โดยได้ถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆทั้งมุขปาฐะ ซึ่งเป็นคำสอน ข้อห้ามโดยตรงในชีวิตประจำวัน และผ่านงานวรรณกรรมต่างๆ เช่น ผญา กลอนลำ วรรณคดี นิทานต่างๆ เป็นต้น

ประเภทของคะลำ

ทั้งนี้หากจะแบ่งประเภทของข้อคะลำแล้ว สามารถแบ่งออกกว้างๆตามสิ่งที่ได้ไปเกี่ยวข้อง หรือปฏิสัมพันธ์ได้ 3 ลักษณะคือ

1. ข้อคะลำที่สัมพันธ์กับบุคคล
2. ข้อคะลำที่สัมพันธ์กับสถานที่
3. ข้อขะลำที่สัมพันธ์กับเวลา

ซึ่งการแบ่งลักษณะดังกล่าวนั้นไม่ได้แยกออกจากกันเป็นอิสรภาพหากแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ในลักษณะองค์รวมความรู้ของค่านิยม บรรทัดฐาน อุดมการณ์ อันจะครอบคลุมไปทั้งหมดของวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเกิด การอยู่ การกิน การนอน การเจ็บป่วย การแต่งงาน การตาย เป็นต้น ซึ่งจะจัดพฤติกรรมความสัมพันธ์ของผู้คนในระดับต่างๆ เพื่อผลที่น่าปรารถนาทั้งต่อระดับบุคคลและสังคม

อ้างอิงจาก

http://www.isan.clubs.chula.ac.th/th/index.php

http://www.pantown.com/board.php?id=6197&area=1&name=board6&topic=8&action=view

คำสำคัญ (Tags): #คะลำ#วัดหนองแวง
หมายเลขบันทึก: 302453เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • น้องเอ๋
  • เย้ๆๆมาแล้ว
  • รออ่านคะลำ อีสาน พร้อมบรรยายภาพ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
  • เย้ ๆๆๆๆ  น้องเอ๋ มาแล้ว ๆๆๆ
  • แต่เอ.. น้องเอ๋เป็นใคร
  • แป่วววววววว
  • อิอิ

มาอ่าน คำจำกัดความ ว่า คะลำ แล้วค่ะ น้องเอ๋ ...ชัดค่ะ .. ขอบคุณน้องเอ๋จ๊ะ

ว่าแต่ ครูโย่ง เปงครายเหรอ ....อิอิ

สนใจ"คะลำ" ลองติดตามแล้ว น่าสนใจมาก

ได้สาระดี

คะลำ คำแคะ ข้อห้าม ทำแล้วไม่เกิดมงคล

คะลำห้ามกินไตไก่ ผู้ใหญ่หลอกเด็ก

เมฆน้อย-นักพับฝูงเป็ด ^__^

        นำมา "ฝากไว้ก่อน" ครับ พี่ยังไม่ได้นำภาพขึ้นทั้งหมด มีแค่ภาพเดียวตอนนี้...

สวัสดีค่ะพี่ชิว

เมื่อคืนเอ๋ดู sponge ค่ะ ดูไปอมยิ้มไป เค้ากล่าวถึงเรื่อง taboo ของหญิงบนเกาะฮาวาย

ว่าห้ามกินเนื้อ และห้ามกินกล้วยค่ะ มิเช่นนั้นจะได้รับการลงโทษด้วยการทุบตีด้วยกระบอง

แต่หากหญิงผู้นั้นเข้าไปหลบในเทวสถานเฉพาะ ซึ่งมีอยู่หลายที่ในเกาะ จะรอดพ้นจากการโดนทำโทษนั้น

ไม่น่าเชื่อนะคะ....องค์ความรู้เมื่อเราเริ่มที่จะศึกษาแล้ว ทำให้เราเข้าใจว่าความรู้ใหม่ๆที่ประดังเข้ามาหาเราอยู่ทุกวัน

ทำให้เราเข้าใจได้ง่าย และลึกซึ้งมากขึ้น และต่อยอดความคิดได้อย่างรวดเร็ว

เอาไว้เอ๋จะค้นเรื่องข้อห้ามบนเกาะฮาวายมาต่อยอดเพิ่มนะคะ

ขอบคุณค่ะพี่ชิว

ลืมไปสนิทว่าต้องเข้ามาอ่าน

เข้ามาอ่านปรากฏว่ามีถึง ๓ บันทึกแล้ว

ตามไปอ่านตอน ๒ และ ๓ ครับ

  • มาเรียนรู้ ข้อห้ามของท้องถิ่นครับ
  • สบายดีน๊ะครับ น้องเรา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท