สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

           จากการศึกษาเรื่อง สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปได้ว่า การขาดแคลนครูเป็นสภาวะวิกฤตไม่เฉพาะอย่างยิ่งครูสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ปัญหาการขาดแคลนครูประกอบด้วยการขาดแคลนเชิงปริมาณและคุณภาพ

 

   การขาดแคลนครูในเชิงปริมาณ มีอยู่อย่างน้อย 2 ลักษณะ คือ
1.  การบรรจุครูใหม่ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน
2.  การขาดแคลนครูใหม่ที่จะมาทดแทนครูที่เกษียณอายุ ลาออกหรือโอนย้าย
          สำหรับสาเหตุของปัญหานั้นเกิดจาก  นโยบายการจัดกำลังคนของภาครัฐ และคืนอัตราทดแทนผู้เกษียณอายุตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต  ทำให้ครูลาออกเป็นจำนวนมาก  การปฏิรูปหลักสูตรส่งผลให้เกิดรายวิชาใหม่ๆ  ทำให้คลาดแคลนครูผู้สอน รวมถึงสาเหตุเนื่องจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการผลิตและการใช้ครูปัญหาวิกฤติศรัทธาวิชาชีพครู  และภาพลักษณ์ของวิชาชีพครูที่มีค่าตอบแทนน้อย  มีสวัสดิการไม่เพียงพอทำให้ครูขาดกำลังใจ

 

การขาดแคลนในเชิงคุณภาพ
1.ครูไม่ตรงตามวุฒิปฏิบัติการสอน เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนต้องจบสาขาดังกล่าวโดยเฉพาะ จึงจะมีคุณภาพจากการระบุของสำนักงานคณะกรรมการพื้นฐานการศึกษา ได้เปรียบเทียบคะเนนนักเรียนอยู่ที่ Percentile ที่ 50 โอกาสที่จะขยับไปที่ 85- 87 น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งหากได้ครูที่ดี หากครูไม่ดีจากที่อยู่ในมาตรฐานที่ค่า 50 อาจจะตกลงไปที่ระดับ 30 – 20
2.คนเก่งไปประกอบวิชาชีพอื่น  จากการศึกษาผลการประเมินของ ร.ศ.ดร.มนตรี  แย้มกสิกร  ประธานที่ประชุมคณบดีคณะศึกษาศาสตร์  16 สถาบัน และรองคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ได้กล่าวถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตครูและการพัฒนาครูอย่างชัดเจนสาเหตุหนึ่งเกิดจากรัฐบาลขาดการเหลียวแลเพื่อพัฒนาบุคลากรครูเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลทุ่มไปพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ขาดแคลนสาขาอื่นๆทำให้ขาดช่วงในการสนับสนุนจากรัฐบาลจึงส่งผลในการพัฒนาของคณะศึกษาศาสตร์ คุรุศาสตร์ หยุดนิ่งลง “ สถานการณ์ในขณะนี้คณะศึกษาศาสตร์ คุรุศาสตร์หลายแห่งกำลังจะตายเพราะไม่มีคนอยากเรียนและไม่มีการพัฒนาหลักสูตร”  ซึ่งหากในระยะ 5 ปี จากนี้รัฐบาลยังไม่ใส่ใจ และหันกลับมาเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังจะเกิดวิกฤติอย่างรุนแรง
3.ครูต้องปฏิบัติงานอื่น  ที่นอกเหนือจากการสอนตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูทำให้ครูมีภาระที่ต้องแบ่งรับมากขึ้น การทุมเทการสอนจะน้อยลง  ทำให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการสอนลดลงด้วย
       จากการกล่าวของ นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวไว้เช่นกันว่า สำหรับครูที่จะต้องปฏิบัติงานหลายด้านแทนการสอนนักเรียน  เช่น การเป็นผู้บริหาร  การพัฒนาตนเอง การทำเอกสารเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ  รัฐบาลจึงมีนโยบายที่เป็นโครงการ “คืนครูให้นักเรียน” ให้ครูมีเวลาสอนใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับนักเรียน แต่ถ้าครูไม่ทำงานด้านอื่นๆก็จะไม่เกิดความก้าวหน้า จึงต้องกำหนดน้ำหนักกันใหม่ เช่น 80: 20 แทน 50: 50 ต้องมีเกณฑ์ประเมินมาตรฐานที่ยอมรับโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานที่ยอมรับโดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ) และจะวัดเฉพาะครูแต่จะเป็นการวัดการประเมินทั้งระบบ

 

        ภายหลังจากการศึกษาปัญหาเรื่องสภาวะการขาดแคลนครู รศ. ดร ขนิดา  รักษ์พลเมือง และคณะได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูโดยสรุปดังนี้
1.โครงการคุรุทายาท จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการคุรุทายาทมาตั้งนานมาตั้งแต่ปี 2530 เพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูทั้งในระดับการศึกษา การศึกษาเฉพาะพื้นที่และเฉพาะสาขาวิชาโดยเลือกคนเก่ง คนดี เป็นครู
2.โครงการพิเศษเพื่อการบริหารจัดการปฏิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา(สปค.)เช่น โครงการสำหรับครูประจำการ การผลิตครูใหม่ และโครงการสำหรับผู้ใช้ครู  โดยจัดคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลและเอกชน   ใน 4 สาขาวิชาหลักคือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และอังกฤษ
3.นโยบายและมาตรการผลิตและพัฒนาครูไทยในสตวรรษที่ 21 โดยการสร้าง ความเชื่อมั่นในวิชาชีพครูประกันคุณภาพครู  และมาตรการสร้างความยั่งยืนในการปฏิรูปวิชาชีพครู
4.แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา  ครอบคลุมตั้งแต่การฟื้นฟูศรัทธาต่อวิชาชีพครูพัฒนาศักยภาพครู  และมาตรการสร้างความยั่งยืนในปฏิรูปวิชาชีพครู
5.การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูของ สพฐ.  โดยการเรียกบรรจุครูจากบัญชีการสอนที่มีอยู่ บรรจุครูอัตราจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและบรรจุครูที่มีคุณวุฒิอื่นและให้เรียนวิชาทางการศึกษาเพิ่มเติม

 

      จากการกล่าวของ รศ.ดร.มนตรี  แย้มกสิกรได้แสดงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ว่า จะต้องเน้นการพัฒนาครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) หรือจะพัฒนาทั้งระบบก็จะเป็นเรื่องดี  โดยหลักสำคัญจะต้องเปลี่ยนแปลงการผลิต  ครูให้มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เข้มข้นทางวิทยาการที่จะสอนนักเรียน  ขณะเดียวกันต้องมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  อย่างไรก็ตาม การพัฒนาก็ต้องควบคู่ไปกับการพิจารณา เพิ่มผลตอบแทนให้กับวิชาชีพครูด้วย  และต้องย้อนกลับไปถามสังคมว่าพร้อมจะยกวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับวิชาแพทย์หรือผู้พิพากษาด้วยหรือไม่  รศ.ดร. มนตรี   แย้มกสิกร  ได้กล่าวต่อว่า สำหรับทางแก้ไขปัญหาทางหนึ่งคือการให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะมาเรียนรู้  พร้อมจัดหาอัตราการทำงานรับรองเพราะเมื่อปี 2547 ได้มีโครงการผลิตครูโดยใช้แนวทางดังกล่าวทำให้ได้ผู้ที่มีความรู้และความสามารถมาเป็นครูและส่งผลให้วิชาชีพครูดีขึ้นแต่ไม่ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
      สภาวะการขาดแคลนครูเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพราะครูคือผู้นำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ  และยกระดับคุณภาพเยาวชนสู่การเป็นทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง
      จากการศึกษาข้อมูลการวิจัย  เรื่องสภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรศ.ดร. ชนิดา  รักษ์พลเมือง  ภาควิชานโยบายการจัดการเป็นผู้นำทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย  รศ.ดร. จรูญศรี  มาดิลกโกวิท  , ศ.ดร. อุบลวรรณ   หงส์วิทยากร  และนายชิตชยางค์  ยมาภัย  ได้ศึกษาวิจัยเพื่อสังเคราะห์สภาพปัญหาการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูทั่วประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษา
       จากการศึกษาปัญหาภาวการณ์ขาดแคลนครู สรุปได้ว่าภาวการณ์ขาดแคลนครูแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การขาดแคลนเชิงปริมาณ  ได้แก่  การบรรจุครูไม่เพียงพอกับความต้องการ และ การขาดแคลนครูที่จะมาทดแทนครูที่เกษียณอายุ ลาออกหรือโยกย้าย ซึ่งเป็นสาเหตุเกิดจากนโยบายการกำจัดกลังคนของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลักสูตร และการขาดแคลนเชิงคุณภาพได้แก่ ครูไม่ตรงวุฒิปฏิบัติการสอน คนเก่งไปประกอบวิชาชีพอื่น และภาระงานของครุที่มากเกินไป จนทำให้คุณภาพการเรียนการสอนแย่ลง
        การศึกษาปัญหาดังกล่าว สามารถสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาตามแนวทางโครงการ และนโยบายมาตรการแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปพัฒนาศักยภาพครู  เน้นแนวทางการแก้ไขหลักสำคัญในการผลิตครูให้มีความรู้ความสามารถ การเพิ่มแรงจูใจและยกวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงให้ความสำคัญทัดเทียมกับสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและเร่งพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อให้การศึกษาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
 
อ้างอิง
เรืองรัตน์ วงศ์ปราโมทย์. (2548). สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ชุดรายงาน
             การวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทธศรี วงษ์สมาน. (2551). สภาวะการขาดแคลน ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและข้อเสนอ
             แนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของ     
             ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.
กลุ่มจุดตะเกียง. (2552). ปัญหาการขาดแคลนครู. วันที่สืบค้นข้อมูล 11กันยายน 2552,  เข้าถึงได้จาก  
              http://onknow.blogspot.com/2009/08/5_25.html

 

        ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าครูเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลน และยังเป็นที่ต้องการอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) นอกจากนี้ในบ้านเรายังประสบปัญหา เรื่องการกระจายตัว
 
หมายเลขบันทึก: 302230เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท