ความคิดคู่คลองคน..?


การทำลายจนโลกเริ่มรับไม่ไหวส่อเห็นอันตรายทั้งอุทกภัย

 

คำว่า..คลอง..เราคงได้ยินคำว่า..ฮีต..รีต..ทำตามทำนองคลองธรรม..ฮีตสิบสองคองสิบสี่..ผมเองมองว่าเป็นการทำตามรอยของคนโบราณ..จึงเรียกว่า..คลอง..คนเก่าก่อนเขาทำกันมาอย่างไร 

 ก็ทำตามนั้นกลายมาเป็นวัฒนธรรมชุมชนหรือเป็นกฎหมายของชุมชน..ภาษาถิ่นอีสานว่า..ปากเว๊าบ่แม่นคอง..(คนพูดไม่ตรงกับกฎเกณฑ์ที่สังคมโบราณทำสืบต่อกันมา )..

 คำว่าคลองจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในสามัญสำนึกของคนมาแต่โบราณ  เป็นรากแก้วแก่นแท้ของสังคมไทยเราต่อเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลเหนือจิตใจจึงปรับเปลี่ยนได้บ้างจากคลองมาเป็น..ธรรม..

จึงอยากสะกิดใจคนเรากันเองว่าก่อนจะมีธรรมนั้นเรามีคลองมาก่อน  การหลงลืมคลองคือคนเราเหมือนไม่มีความกตัญญูต่อคนโบราณที่สร้างคลองชีวิตไว้ให้เราดำเนินไปบนเส้นทางที่ราบรื่นชื่นใจอย่างมีความสุข..

เราควรหวลกลับมาเข้าคลองมาดูคลองมารักษาคลองกันนะ  ถ้าขืนทิ้งคลองก็ต้องนองน้ำตาเพราะว่าไปหลงแสงสีวิไลกลิ่นไอได้ควันพิษที่ว่าสร้างแท้จริงกลับเป็นการทำลายจนโลกเริ่มรับไม่ไหวส่อเห็นอันตรายทั้งอุทกภัย  โจรภัย  วาตภัยผีร้ายอาละวาดเพราะเราหลงลืมคลองนั้นใช่หรือไม่..?

หมายเลขบันทึก: 302007เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท