ประวัติศาสตร์นิพนธ์ : นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกท่านใดควรได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งการเขียนประวัติศาสตร์


ระหว่าง

เฮโรโดตัสและทูซีดิดิส

                  คงจะไม่เป็นการเกินไปนักหากจะกล่าวว่า ชาวกรีกเป็นที่ประสบความสำเร็จต่องานนิพนธ์ประวัติศาสตร์และเป็นผู้มีจิตวิญญาณของนักประวัติศาสตร์อย่างเต็มตัว การเขียนประวัติศาสตร์เล่มแรก ๆ ของโลกของชาวกรีกมีจุดประสงค์ในการรักษาวงศ์วานตระกูลของตน และมีความสนใจในด้านภูมิศาสตร์ เทววิทยา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมชาวกรีกให้ผลิตงานทางประวัติศาสตร์อย่างมากมายที่บรรจุสิ่งที่กล่าวไปลงไปในงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ และยังได้ส่งต่ออิทธิพลทางความคิดนี้ให้กับคนรุ่นหลัง ๆ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ 2 ท่านคือ เฮโรโดตัส และ ทูซีดีดิส แต่ใครควรจะได้รับสมญานามนี้อย่างแท้จริง
 
เฮโรโดตุส ( Herodotus, 480 – 430 B.C)
เฮโรโดตัสผู้ซึ่ง ซิเซโร (Cicero) รัฐบุรุษชาวโรมันได้ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” (The father of history) เป็นชาวเมือฮาลิคาเนซุส ริมฝั่งทะเลเอเชียไมเนอร์ เกิดในตระกูลผู้ดี เป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมทางสติปัญญาดีและมีความรู้ความสามารถ ทั้งวัฒนธรรม วรรณคดี การเมือง เขาได้ส่งเสริการเขียนประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาเป็นอย่างมาก จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์อย่างที่ซิเซโรยกย่อง
จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านการปกครองรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชน เขาจึงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ จากจุดนั้นเองเขาจึงได้เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟินิเชีย อียิปต์ เกาะซิซิลี อิตาลี กรีก ฯลฯ เขาได้รับความเชื่อ คติชน ต่าง ๆ จากสถานที่ที่เข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง และได้รวมรวมเป็นหนังสือชื่อ Historia แปลว่าการค้นคว้าวิจัย การสืบถามหาข้อมูลที่เป็นจริง หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 เล่ม แบ่งเนื้อหาสาระดังนี้คือ 6 เล่มแรก กล่าวถึงเรื่องราวของเปอร์เซีย ประวัติศาสตร์อียิปต์ และการปกครองของอาณาจักรไปโอเนียน อีก 3 เล่ม กล่าวถึงสงครามระหว่างชาวกรีกกับชาวเปอร์เซีย
จุดประสงค์ในการเขียน
  1. เพื่อบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำในอดีตของชาวกรีกและชนชาติเอเชียมิให้สูญหาย
  2. เพื่อหาข้อมูลระหว่างชาวกรีกและชาวเอเชีย
  3. เพื่อบอกข่าวคราวและแยกข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และเรียบเรียงเชื่อมต่อกันอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อใช้ประวัติศาสตร์เป็นบทเรียนซอนชาวกรีกว่า ชีวิตและการกระทำของบุคคลสำคัญใช้เป็นตัวอย่างต่อไป
ลักษณะของการเขียน
เฮโรโดตัสใช้การเขียนลักษณะพรรณนา และอธิบาย รวมทั้งการแซรกเรื่องราวทางภูมิศาสตร์ ประเพณี ความเป็นอยู่ และลักษณะของประชาชนผู้อาศัยในดินแดนต่าง ๆ ลงในหนังสือของเขาด้วย ลักษณะของการเขียนมีสาระสำคัญดังนี้
  1. ได้เขียนกิจกรรมทางการเมือง ข้อปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม
  2. ได้เริ่มธรรมเนียมการเขียนประวัติศาสตร์ของชนชาติหนึ่งไปสัมพันธ์กับอีกชนชาติหนึ่ง
  3. ได้เริ่มเปลี่ยนวิธีการใช้ตำนานและเทพนิยายมาเป็นศาสตร์แห่งประวัติศาสตร์
  4. ได้เขียนถึงความขัดแย้ง รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมือน ความต่าง ของอารยธรรมตะวันตกกับตะวันออกในหลาย ๆ ด้าน โดยชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นแรงผลักดันให้ทั้งสองอารยธรรมทำส่งครามต่อกัน
  5. ได้นำหลักการเขียนตามหลักเหตุผลมาใช้ โดยพยายามวิเคราะห์เหตุผลแห่งการกระทำของมนุษย์ว่า มนุษย์ทำอะไร และทำไมจึงทำอย่างนั้น
ปรัชญาการเขียน
  1. เฮโรโดตัสได้ให้ความเห็นว่า ประวัติศาสตร์ต้องเขียนให้น่าอ่าน น่าสนใจ เขาไม่เขียนเรื่องลำดับเหตุการณ์แบบพงศาวดาร แต่เขียนวิเคราะห์ที่อยู่เบื้องหลังของเหคุการณ์ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
  2. เฮโรโดตัสเชื่อว่า สิ่งใดที่ไม่เปลี่ยนแปลง สามารถเรียนรู้ได้ ประวัติศาสตร์คือการพยายามรู้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงซึ่งไม่อาจรู้ได้
  3. ไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการเขียน แต่มีความจริงใจ มีความอยากรู้อยากเห็น และมีจิตวิญญาณที่ดี
ข้อมูลที่ใช้ในการเขียน
เฮโรโดตัสได้ใช้ข้อมูลจากการสอบถามเก็บมาจากเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังมารวมถึงการสังเกตของตนเอง ตำนานต่าง ๆ บันทึกของนักบวชชาวอียิปต์
วิจารณ์งานเขียน
 ข้อดี
  1. กล้าเปลี่ยนแปลงแนวการเขียนประวัติศาสตร์แบบเก่าที่เกี่ยวพันธ์กับความเชื่อในเรื่องเทพเจ้ากับมนุษย์ มาสู่ความเป็นประวัติศาสตร์ในความหมายของปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีเหตุผลและใช้วิจารณญาณ ไม่คล้อยตามตามความคิดของสังคม มองสภาพสังคมที่เป็นจริง
  2. มีจิตใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยให้ความเป็นชาตินิยมทำลายผลงานจนเกิดเป็นอคติ โดยการนำเสนอความคิดของทั้งสองฝ่าย จากกรีกและเปอร์เซียในการรบกัน มีการแสดงความเที่ยงธรรมต่อชาวเปอร์เชีย และยกย่องความกล้าหาญของเปอร์เซีย
  3. มีความสามารถในวรรณศิลป์ มีการบรรยายถึงสถานที่ต่าง ๆ เครื่องแต่งกายและประเพณีต่าง ๆ ที่เขาไปพบเห็น ออกมาให้เห็นเป็นภาพพจน์
ข้อเสีย
  1. ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ เขาจึงไม่สามารถเข้าใจเหตุการณ์ลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้อย่างถ่องแท้
  2. งานเขียนของเฮโรโดตัสไม่ได้เป็นความคิดส่วนตัวของเขา เหตุการณ์ทางทหารขาดความละเอียด เนื่องจากไม่ได้เป็นทหารโดยตรง
 
ธูซีดีดิส (Thucydides, 456 – 396 B.C.)
ธูซีดีดิสเป็นชาวเอเธนส์ ในตระกูลสูงและมีฐานะมั้นคง มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารเรือช่วงที่เกิดสงครามเพโลโพนีเซียน (431 – 404 B.C.) ให้นำกองทัพเรือไปยังดินแดนแทรซ แต่เขาได้นำกองทัพเรือไปไม่ทันการณ์จึงถูกลงโทษ โดยการเนรเทศออกนอกรัฐเอเธนส์เป็นเลา 20 ปี
ธูซีดีดิสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อศึกษาความรู้ละนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เขาสนใจอย่างมากที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนของสตรูคือสปาร์ต้าให้มากที่สุด งานเขียนชิ้นสำคัญคือ The history of The Peloponnesian War. ในปีที่ 431 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ คือ โพรตากอรัส และ กอร์เจียส
 จุดประสงค์ในการเขียน
The history of The Peloponnesian War. สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนในการบริหารงานราชกาลได้
วิจารณ์งานเขียน
 ข้อดี
ลักษณะงานเขียน
  1. มีการวิเคราะห์และวิจารณ์หลักฐาน คือ ตรวจสอบหลักฐานอย่างรอบคอบ ทั้งจากฝ่ายเอเธนส์และฝ่ายสปาร์ต้า
  2. มีการค้นคว้าหาข้อมูล โดยยึดหลักความจริงและความแน่นอนเป็นสำคัญ คือ ละทิ้งข้อความที่กล่าวถึงโดยไม่มีหลักฐานมายืนยัน ไม่กล่าวถึงเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติ ใช้หลักศีลธรรมใยการตัดสินมนุษย์ ละทิ้งสาเหตุต่าง ๆ ที่เกิดจากจินตภาพและความเชื่ออย่างงมงาย และไม่นำเรื่องของตนเองพัวพันกับเรื่องที่เขียน
  3. เขียนเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกันกับเรื่องราวนั้น ๆ ไม่แทรกสิ่งนอกเรื่องลงในหนังสือ
  4. มีการให้ข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งเอเธนส์และสปาร์ต้า คัดเลือกและกกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นจริงทางประวัติศาสตร์ จัดข้อมูลที่เป็นจริงและตีความหมาย เนื่องจากที่ตนเองเป็นทหารจังได้ศึกษายุทธวิธีการทำสงครามและศึกษาเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อสงครามไว้ในงานเขียนด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ของธูซีดีดิสเช่นนี้จึงได้รับการยกย้องว่า “บิดาการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์”
ปรัชญาการเขียน
ธูซีดีดิสได้ให้ความเห็นว่า “การเขียนประวัติศาสตร์ของข้าพเจ้า มิได้มาจากข้อมูลที่ได้มาโดยบังเอิญหรือได้มาจากความเชื่อในความคิดของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่เขียนจากประสบการณ์ของตนเองและจากประสบการณ์ของผู้อื่นซึ่งข้าพเจ้าพิสูจน์และว่าเชื่อถือได้...” (ดนัย ไชยโยธา, 2537 : 103)
เขาสนใจปัญหาทางประวัติศาสตร์ ค้นหาสาเหตุเบื้องหลังและสาเหตุปัจจุบัน ศึกษาพลังผลักดันทางการเมือง นิยมการปกครองโดยประชาชน โจมตีการปกครองแบบอาณาธิปไตยแบบทรราช
วิจารณ์งานเขียน
ข้อดี
  1. มีวิจารณญาณ ไม่ยอมตกเป็นเหยื่อ มีความเป็นกลางในงานเขียนอย่างมาก
  2. ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
  3. ได้รับการยกย่องว่างานเขียนของเขานั้นได้ให้ความรู้ทางกการเมืองสมัยใหม่ ให้ความหมายอย่างชัดเจนว่าอะไรคือประชาธิปไตยอะไรคือเผด็จการ
  4. ใช้วิธีการเขียนแบบประวัติศาสตร์แบบใหม่แก่โลกคือการเขียนแบบประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ต้องมีความสำพันธ์กัน
ข้อเสีย
  1. ไม่เข้าใจมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดของเวลา หรือมองไม่เห็นข้อเท็จจริงในโลกทัศน์ของประวัติศาสตร์จริง ๆ
  2. ไม่ให้ความสำคัญของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในเห็นการณ์ทางประวัติศาสตร์
  3. ไม่ได้ศึกษาพลังแห่งความสำเร็จด้านวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญของชาวกรีก ชีวิตในเมืองและสถาบันสังคม งานเขียนมุ่งเฉพาะทางด้านการทหารและการทูต
  4. ไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของสตรี
  5. ลักษณะของการเขียนเคร่งคลัดมากจนอ่านไม่สนุก
  6. ใช้วิธีการให้บุคคลพูดตอบโต้กันมากจนเกินไป
 
วิเคราะห์งานเขียนของเฮโรโดตัสกับงานเขียนของธูซีดีดิส
  1. เฮโรโดตัสใช้ข้อมูลจากทุกสิ่งเช่นบันทึกของนักบวช การบอกเล่าของคนทั่วไป แต่ธูซีดีดิสใช้ข้อมูลโดยการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เน้นความจริง ความถูกต้อง ข้อมูลที่เป็นจริงเป็นเหตุเป็นผล มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อน
  2. ธูซีดีดิสเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ The history of The Peloponnesian War โดยตรงเพราะเป็นแม่ทัพเรือของเอเธนส์ แต่เฮโรโดตัวเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นนักเดินทาง ดังนั้นข้อมูลในเชิงลึกและการใกล้ชิดกับเหตุการณ์โดยตรงจึงเป็นประโยชน์ต่องานเขียนของธูซีดีดิส และมีความน่าเชื่อถือ
  3. งานของธูซีดีดิสให้ความสำคัญทางด้านเหตุการณ์ของสงคราม ไม่ได้ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบโดยรวมอย่างเช่น วัฒนธรรม ลักษณะทางภูมิประเทศเหมือนอย่างเฮโรโดตัส
  4. งานของธูซีดีดิสได้รับการยกย่องมากกว่าถูกตำหนิ
  5. เฮโรโดตัสมีความสามารถทางด้านวรรณศิลป์ทำให้งานอ่านแล้วไม่น่าเบื่อต่างกับธูซีดีดิส
  6. เฮโรโดตัสได้ซึ่งรับสมญานามว่าเป็นบิดาประติศาสตร์วัฒนธรรม และ ธูซีดีดิสได้รับสมญานามว่าบิดาประวัติศาสตร์การเมือง
วาทิน ศานติ์ สันติ
หมายเลขบันทึก: 302006เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่สันติเป่านิ ห้าาๆๆๆ

ขอยืมมาเขียนรายงานส่งอ.ผุสดีนะค่ะ

จุ๊ๆ อย่าบอกคัยนิ >///<

คนกันเองซะงั้น ชิมิ๊ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท