nurse scheduling


การจัดตารางการทำงานของพยาบาล

          เป็นขบวนการจัดอัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาลในระดับต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม  และมีจำนวนเพียงพอที่สามารถจะปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงและมีคุณภาพสุง

วัตถุประสงค์การจัดตารางการทำงานของพยาบาล                                    

         (1)  เพื่อให้การพยาบาลที่มีคุณภาพต่อผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  โดยจัดให้มีบุคลากรประเภทต่างๆที่สามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุมปริมาณงานทั้งหมดของหน่วยงาน

         (2)  เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ  เนื่องจากการจัดคนให้มีการทำงาน  เป็นการกำหนดความต้องการของคน  และเลือกตัวบุคคล  จัดปฐมนิเทศ  ฝึกหัดงาน และปริมาณผลงานอย่างต่อเนื่องตามระบบการจัดองค์กรที่กำหนดไว้

         (3)  เพื่อใช้ประโยชน์จากความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญของบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละประเภทอย่างเต็มที่  โดยทั้งผู้ผลิต  และผู้ใช้บุคลากรพยาบาลจะต้องให้ความสำคัญของคน  เพื่อคุณภาพและการให้การบริการพยาบาลสำเร็จตามความมุ่งหมาย

         (4)  เพื่อสร้างแผนการจัดบุคลากรหลัก(Master Staffing Plan) เป็นการจัดสรรและกระจายกำลังบุคลากร โดยมีพื้นฐานจากการประเมินความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์

         (5)  เพื่อจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับความต้องการกำลังคนในแต่ละวัน  ในแต่ละเวร

         (6)  เพื่อให้สามารถกระจายกำลังคนไปอย่างเต็มที่

         (7)  เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากรทางการพยาบาล  โดยการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลให้มีจำนวนเพียงพอกับปริมาณงาน  ตลอดจนการจัดตารางการปฏิบัติงานที่ยุติธรรม

 หลักการจัดเวรพยาบาล 

         (1)  พยาบาลประจำการแต่ละคนได้รับเวรการทำงานตามที่ตนต้องการให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

         (2)  การเลือกเวรการทำงานของพยาบาลประจำการจะต้องเท่าเทียมกันกับความต้องการของพยาบาลประจำการอื่นๆ

        (3)  พยาบาลประจำการแต่ละคนสามารถเปลี่ยนวันหยุดหรือแลกเวร วันทำงานได้ภายใต้ข้อบังคับต่างๆที่มีอยู่

        (4)  พยาบาลประจำการแต่ละคนต้องมีตารางการทำงานของตนเอง

        (5)  จำนวนชั่วโมงการทำงานของพยาบาลประจำการแต่ละคนที่จะได้รับ

        (6)  การจัดให้มีวันหยุดสำหรับพยาบาลประจำการแต่ละคน  โดยมีข้อจำกัดตามนโยบายของโรงพยาบาล

 การจัดเวลาทำการพยาบาล (Staffing Scheduling)

         การจัดตารางเวลาการทำงานของบุคลากรพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับนโยบายและลักษณะงานในการพยาบาลของแต่ละแห่ง  ซึ่ง (Marriner, 1982) ได้เสนอเวลาการทำงานงานของบุคลากรทางการพยาบาลไว้ 2 วิธี คือ การจัดเวลาการทำงานเวรละ 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สัปดาห์และ 5 วัน และการจัดเวลาการทำงานเวรละ 10 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สัปดาห์ละ 4 วัน นอกจากนี้ยังมีการจัดเวลาทำงานเวรละ 12 ชั่งโมงในหนึ่งวัน สัปดาห์ละ 7 วัน ซึ่งการจัดตารางการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลมีรายละเอียดดังนี้

        (1) การจัดเวลาการทำงานเวรละ 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน  สัปดาห์ละ5วัน (Eight-Hour Shift, Five-Day Work Week) หรือการจัดตารางการทำงานแบบดั้งเดิม (Conventional Scheduling) หมายถึง การจัดเวลาการทำงานแบบ 3 เวรใน 14 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ซึ่งในแต่เวรแบ่งออกเป็น 8 ชั่วโมงต่อเวร เข้าเวรสัปดาห์ละ 5 วัน และหยุด 2 วัน อันเป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีหัวหน้าพยาบาลทำหน้าที่ในการมอบหมายงานให้แก่บุคลากรพยาบาลในแต่ละหอผู้ป่วย ซึ่งช่วงเวลาการทำงานในแต่ละวันเป็นดังนี้ 

ตารางที่ 1    เวลาการจัดตารางการทำงานเวรละ 8 ชั่วโมง 

เวรทำการ

ช่วงเวลาการทำงาน

เวรเช้า

7.00-15.00 น. หรือ  8.00-16.00 น.

เวรบ่าย

15.00-23.00 น. หรือ 16.00-24.00 น.

เวรดึก

23.00-07.00 น. หรือ  24.00-8.00 น.

        (2)  การจัดเวลาการทำงานเวรละ 10 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สัปดาห์ละ 4 วัน(Ten-Hour Shift, Four-Day Work Week)หมายถึง  การจัดเวลาการทำงาน  โดยละแต่ละเวรมีเวลาการทำงาน 10 ชั่วโมง ในหนึ่งวันจะทำงาน 10 ชั่วโมง  หรือคิดเป็น 4 วันต่อสัปดาห์  วิธีการจัดตารางการทำงานแบบนี้อาจจะใช้บุคลากรทางการพยาบาลจำนวนมากกว่าการจัดเวรแบบดั้งเดิม  เนื่องจากแต่ละเวรจะมีเวลาเหลื่อมกันอยู่ 2 ชั่วโมง  แต่ละช่วงเวลาที่ยาวนานนั้นอาจจะนำมาซึ่งความเหนื่อยล้า ทำให้เกิดผลเสียต่อการดูแลผู้ป่วยและแก่ตัวบุคลากรพยาบาลเอง  อย่างไรก็ตามการจัดตารางการทำงนแบบนี้  ทำให้บุคลาการทางการพยาบาลมีเวลาพักผ่อนในช่วงเวลาที่เกิดการเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น  รวมถึงการได้รับวันหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ การจัดเวลาการทำงานแบบนี้มีช่วงเวลาการทำงานในแต่ละวันเป็นดังนี้ 

ตารางที่ 2  เวลาการจัดตารางการทำงานเวรละ 10 ชั่วโมง 

เวรทำการ

ช่วงเวลาการทำงาน

เวรเช้า

7.00-17.00 น.

เวรบ่าย

15.00-01.00 น.

เวรดึก

23.00-09.00 น.

        (3)  การจัดเวลาการทำงานเวรละ 12 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สัปดาห์ละ 7 วันเป็นการจัดเวลาการทำงานอีกแบบหนึ่งวิธีที่นำมาใช้ โดยบุคลากรการพยาบาลทำงาน 12  ชั่วโมงติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 วัน  แล้วหยุด 7 วัน ซึ่งการจัดเวลาการทำงานในลักษณะนี้จัดเพียง 1 เวรต่อ 1 วัน   ดังนี้จึงคิดชั่วโมงการทำงานเป็น 84  ชั่วโมง  ต่อ 2 สัปดาห์ การจัดเวลาการทำงานแบบนี้มีช่วงเวลาการทำงานในแต่ละวันเป็นดังนี้ 

ตารางที่ 3  เวลาการจัดตารางการทำงานเวรละ 12ชั่วโมง 

เวรทำการ

ช่วงเวลาการทำงาน

เวรเช้า

7.00-19.30 น.

เวรดึก

19.00-07.30 น.

         วิธีการจัดเวลาการทำงานของบุคลากรพยาบาลมีหลายวิธีดังที่ได้เสนอขึ้นมาบางส่วน  แต่การที่จะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน่วยงานหรือหอผู้ป่วยนั้นๆ  ซึ่งในการเลือกวิธีการจัดเวลาทำงานไม่จำเป็นต้องเลือกวิธีเดียว  อาจจะพิจารณาหลายๆวิธีร่วมกันก็ได้  สำหรับการศึกษาครั้งนี้จะใช้วิธีการจัดเวลาทำงานแบบเวรละ 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน  จะแบ่งออกเป็น 3 เวรโดยแต่ละเวรจะมีจำนวน 8 ชั่วโมง

 รูปแบบการจัดตารางการทำงานของบุคลากรพยาบาล (Staff Module)

        การจัดตารางการทำงานของพยาบาลมีหลายรูปแบบ  ซึ่งในการที่จะพิจารณานำเอารูปแบบการจัดตารางการทำงานพยาบาลต่างๆมาใช้นั้น  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบุคลากรพยาบาล  ลักษณะของหอผู้ป่วย  และความพึงพอใจของบุคลากรแต่ละคน  การจัดตารางการทำงานของพยาบาลมีรูปแบบดังนี้

       (1)  การจัดตารางการทำงานแบบหมุนเวียน(Rotating Shift Schedulingมีหลักการคือ บุคลากรพยาบาลจะมีการหมุนเวียนกันเข้าทำงานในแต่ละเวรเป็นระยะๆ ตามเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก โดยสลับเวรทำงานในแต่ละเวรตามความเหมาะสม  และตามความจำเป็นของแต่ละหอผู้ป่วย  ซึ่งช่วงเวลาการทำงานอาจแบ่งเป็น 8  ชั่งโมง  10  ชั่วโมง  หรือ 12  ชั่งโมง  ลักษณะของการหมุนเวียน  และการจัดช่วงระยะการหมุนเวียนอาจจะจัดได้หลายแบบ  เช่น  การจัดให้มีการหมุนเวียนทุกสัปดาห์  หรือการจัดหมุนเวียนทุก 3-5 วัน  หรือการจัดให้หมุนเวียนทุก 2-3 เดือน  โดยทั่วไปแล้วการจัดให้หมุนเวียนจะอยู่ในช่วง 8-12 สัปดาห์  และในเวลา 24 ชั่วโมงจะจัดให้มีการหมุนเวียนเวรการทำงาน 3 เวร  ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์สำคัญในการดำเนินการจัดตารางเวรการทำงานของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย  อย่างไรก็ตามการจัดตารางการทำงานไม่ควรให้เกิดเวรต่อเนื่องการนาน 4 วันในเวรบ่ายและเวรดึก  จึงควรจัดให้มีวันหยุดเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

        (2)  การจัดตารางการทำงานแบบคงที่(Fix Shift Scheduling)เป็นการจัดตารางเวรการทำงานของพยาบาล  โดยไม่มีการหมุนเวียนระหว่างเวรเช้า  เวรบ่าย  และเวรดึก  แต่จะเป็นการทำงาน  โดยพยาบาลแต่ละคนจะได้รับเวรใดเวรหนึ่งนั้นตลอดไป  นั้นคือ  ถ้าทำเวรก็ต้องทำเวรเช้าตลอด  ถ้าทำเวรบ่าย  ก็ต้องทำเวรบ่ายตลอด  หรือถ้าทำเวรดึกก็ต้องทำเวรดึกตลอด

         (3) การจัดตารางการทำงานแบบรอบ (Cyclic Scheduling) จะกำหนดการทำงานเป็นรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ในระหว่าง 6-10 สัปดาห์ โดยจะให้มีวันหยุดคงที่ในแต่ละสัปดาห์หนึ่งๆ ซึ่งวันหยุดที่กำหนดไว้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดตารางการทำงานและนี้จึงควรจัดไว้หลายแบบจะมีวันหยุดของแต่ละสัปดาห์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้บุคลากรพยาบาลมีโอกาสเลือกได้ตามความต้องการ   

 ลักษณะปัญหาของการจัดตารางการทำงานของพยาบาลทั่วไป

        (1)  เป็นปัญหาการจัดเวรพยาบาลที่มีอยู่ให้แก่เวรทำงานต่างๆที่กำหนดไว้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการทำงานของพยาบาลแต่ละคนให้มีภาระงานที่ใกล้เคียงกัน  หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เพื่อให้เกิดความแปรปรวนของภาระงานในช่วงเวรการทำงานของแต่ละคนมีค่าน้อยที่สุด

         (2)  การจัดตารางการทำงานของพยาบาลจะกระทำในหอผู้ป่วยหนึ่งหอ  ไม่ยุ่งเกี่ยวกับหอผู้ป่วยอื่นๆ

         (3)  การจัดตารางการทำงานของพยาบาลจะทำในหอผู้ป่วย 1 หอผู้ป่วยที่มีบุคลากรพยาบาลประจำ

          (4)  บุคลากรพยาบาลที่จะนำมาพิจารณาในการจัดตารางการทำงาน คือ พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย  และพยาบาล  ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย

          (5) ในการจัดตารางการทำงนของพยาบาล  จะยึดหลักจัดโดยให้พยาบาล  หัวหน้าหอผู้ป่วยจะเลือกเวรทำงานก่อน  จากนั้นจึงกำหนดเวรที่เหลือให้กับพยาบาลทั้งหมด

          (6)  มีการระบุจำนวนพยาบาลที่มีอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างที่จะนำมาจัดตารางการทำงานชัดเจน

           (7)  รูปแบบการจัดเวรแบ่งออกเป็น 3 เวรในแต่ละวัน  เวรละ 8 ชั่วโมง  คือ เวรเช้า  เวรบ่าย  เวรดึก

           (8)  มีพยาบาลผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวรตลอด 24 ชั่วโมง

           (9)   เวรทำงานทุกเวรต้องมีพยาบาลตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแต่ละเวร  ไม่อนุญาตให้เกิดกรณีที่เวรทำงานไม่มีพยาบาลสักคนเด็ดขาด

          (10)  ข้อมูลนำเข้าประกอบด้วย ช่วงเวลาทำงนหรือจำนวนวันในแต่ละเดือน จำนวนพยาบาลทั้งหมดในหอผู้ป่วยหนึ่ง จำนวนพยาบาลในแต่ละช่วงเวรทำงาน

           (11) พยาบาลแต่ละคนสามารถทำการเปลี่ยนวันหยุดหรือแลกวันทำงานได้ภายใต้ข้อบังคับต่างๆที่มี

อ้างอิง

ชิดชนก   โชคสุชาติ & นฤมลวรรณ สุขไมตรี. (2544). ระบบจัดเวลาการทำงานของ พยาบาลด้วยวิธีทางพันธุกรรม: กรณีศึกษา แผนกอายุรกรรม  โรงพยาบาลพบุรี  จังหวัดลพบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์   มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภา   ภู่ปะวะโรทัย. (2533). การจัดอัตรากำลังบุคลกรพยาบาลในการพยาบาลอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่โดยใช้กิจกรรมพยาบาลเป็นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาพยาบาลศาสตร์  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล. 

หมายเลขบันทึก: 301494เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วได้ความรู้ดีคะ เข้าใจถึงวิธีการทำงานของพยาบาลมากขึ้น ขอบคุณมากคะ

นฤมลวรรณ สุขไมตรี

สวัสดีค่ะ ขอบคุณนะคะที่ใช้ผลงานของเรา อย่างน้อย ก็ทำให้เราได้รู้ว่างานที่เราทำมีประโยชน์กับบุคคลอื่นค่ะ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากคะ

it_nurse ประโคนชัย

มีประโยชน์มากครับ

อ่านแล้ว เข้าใจถึงวิธีการทำงานของพยาบาลมากขึ้น ขอบคุณมากครับตอนนี้ ผมสร้างโปรแกรมตารางเวร ขึ้นมาสำหรับแก้ปัญหาเรื่องพยาบาลโดยเฉพาะ อาจจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมน่ะครับ

ตารางเวรพยาบาลมีเงื่อนไขในการจัดเยอะมากค่ะ เนื่องจากอัตรากำลังไม่เพียงพอ การจัดจะไม่ค่อยไปเป็นตามเงื่อนไข หรือกฎระเบียบที่กำหนดค่ะ ด้วยความยินดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท