รูปแสดงการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
|
ขั้นตอนที่ 1 : Fetch Instruction หน่วยควบคุมเข้าถึง (Access)
คำสั่งที่ถูก Execute จากหน่วยความจำ |
ขั้นตอนที่ 2 : Decode Instruction คำสั่งถูกตีความ ( Decode)
เพื่อให้รู้ว่าต้องทำงานอะไร แล้วข้อมูลที่ต้องใช้ในการ
ประมวลผลจะถูกเคลื่อนย้ายจากหน่วยความจำมาเก็บไว้ที่รีจิสเตอร์
(Register) จากนั้นจะกำหนดตำแหน่งของคำสั่งถัดไป |
ทั้งขั้นตอนที่ 1 และ 2 เรียกรวมกันว่า "Instruction Phase"
และเวลาที่ใช้ในการกระทำเฟสนี้เรียกว่า "Instruction Time
(I-time)" |
ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU
ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้
ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือการ เปรียบเทียบ |
ขั้นตอนที่ 4 : Store Results
เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ลงในหน่วยความจำ |
ทั้งขั้นตอนที่ 3 และ 4 เรียกรวมกันว่า "Execution Phase"
และเวลาที่ใช้ในการกระทำเฟสนี้ เรียกว่า "Execution Time
(E-time)" |
ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีระบบนาฬิกา (System clock)
ติดตั้งอยู่ภายในเพื่อควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ
ให้เข้ากันเป็นจังหวะ ประสานงานกันได้เป็นอย่างดี โดยความเร็วของ CPU
มีหน่วยวัดเป็นเมกะเฮิร์ต (Mz : Magahertz) ซึ่งเป็นความเร็วของนาฬิกา
1 MHz เท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที ในปัจจุบันเครื่อง PC
จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันมีความเร็วเป็น
กิกะเฮิร์ซ (GHz) ดังนั้น ความเร็วของสัญญาณนาฬิกายิ่งสูงขึ้นเท่าใด
หมายถึง ความเร็วในแต่ละรอบการทำงานก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ใน 1
รอบคำสั่ง (Instruction Cycle) จะประกอบด้วย 4
ขั้นตอนข้างต้น |
3) ส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เรียกว่า
หน่วยแสดงผล (Output Unit) |
แบ่งได้เป็นหน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) และหน่วยแสดงผลถาวร
(Hard Copy) |
-หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) ได้แก่ จอภาพ (Monitor),
อุปกรณ์ฉายภาพ (Projictor), อุปกรณ์เสียง (Auduo Output)
เป็นต้น |
-หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) ได้แก่ เครื่องพิมพ์ (Printer),
เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) |
4)
ส่วนที่ทำหน้าที่บันทึกคำสั่งและข้อมูลอย่างถาวร เรียกว่า
หน่วยความจำรอง (Secondary Storage
Unit) |
หน่วยความจำรอง (Secondary
Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายนอกเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น
ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล
โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง
รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้
และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก
ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก
อย่างไรก็ดีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก
ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน
จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง |
ในปัจจุบันมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองให้เลือกใช้หลายชนิด ได้แก่ เทป
(Tape), จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk), ออปติคัลดิสก์ (Optical Disk)
เป็นต้น |
5) ส่วนประกอบอื่น ๆ
เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายนอกเครื่อง ได้แก่ แผงวงจรหลัก (Main
Board), ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Interface),
อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data communication device) เช่น MODEM
(Modulation-Demodulation), LAN Card, Sound Card และยูพีเอส (UPS)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่
เป็นต้น |
รูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
(Data Processing) |
พิจารณาตามลักษณะการประมวลผลข้อมูล แบ่งได้ 3 ประเภท
คือ |
การประมวลผลส่วนบุคคล (Personal
Computing) |
ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer:
PC)
จะมีการประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่เป็นอิสระจากกัน
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่สามารถติดต่อสื่อสาร
เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันได้
ซึ่งหากต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันจะต้องคัดลอกไปยังหน่วยความจำสำรอง
เช่น แผ่นดิสก์ จากเครื่องเพื่อถ่ายโอนสู่อีกเครื่องหนึ่ง |
การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized
Computing) |
เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล
ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
(Mainframe Computer)โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว
ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวลผล
โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ |
1) การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing)
เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะ เตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป
โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/Output Unit
ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ CPU เช่น
เครื่องบันทึกเทป (Key to tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก (Key to
disk)บัตรเจาะรู (Punched Card)
เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
มีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน
การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น
การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือน ระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน
6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน
จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย
ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน)
จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี
การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-ling System) มีข้อดี คือ
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ ข้อเสีย คือ
ข้อมูลจะไม่ทันสมัย |
2) การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing)
เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน พร้อมกันได้หลายคน (Multi-user)
จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา
โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน
โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่น
มีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม
เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น ข้อดี คือ
ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสีย คือ
หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลจะช้าลง
เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล |
การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed
Computing) |
เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่
จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้
เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า
ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากร
เพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่าง ๆ
ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น
และระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์
เป็นต้น |
ไม่มีความเห็น