พระพุทธพจน์


พระพุทธพจน์ เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๗ จากหนังสือ ธรรมจักษุปีที่ ๗๕ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๓๔

ชนเหล่าใดพูดกันอยู่ ผิดใจกัน มั่นมุ่งไปคนละทาง ต่างยกตัวกระกระเทียบกันอย่างอนารยชน จ้องหาช่องผิดของกันและกัน ชนเหล่านั้นย่อมยินดีคำผิดคำพลาดความเผลอ ความเพ้อ ของกันและกัน อารยชนไม่ประพฤติการพูดกันอย่างนั้น

ถ้าอารยชนใครจะพูด ก็เป็นผู้ฉลาดรู้จักกาล พูดแต่ถ้อยคำที่ประกอบด้วยเหตุผลที่อารยชนประพฤติกัน ไม่โกรธ ไม่ยกตัว มีใจสงบ ไม่ตีเสมอ ไม่รุนแรง ไม่เอาหน้า รู้ชอบแล้วจึงกล่าว ที่เขาพูดถูก ก็อนุโมทนา เมื่อเขาพูดผิด ก็ไม่รุกราน ไม่ใฝ่เอาเปรียบเขาพูดพลั้งไปบ้าง ก็ไม่ถือ ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเหยียบย่ำเขา ไม่พูดคำสบถ สาบาน

ขออนุญาตนำมาพิมพ์เป็นธรรมวิทยาทาน

สิ่งเหล่านี้ควรมีอยู่ในจิตใจคนทุกคนที่นับถือพระพุทธศาสนาไว้ในจิตวิญญาณ เพราะเหตุการณ์ทุกวันนี้ มันเกิดจากการพูดต่อๆ กันมากขึ้น ได้เห็น ได้ยิน แล้วละเหี่ยใจ

อีกพระพุทธพจนหนึ่งได้แก่

ผู้ใส่ร้ายคนดี ย่อมได้รับโทษทันตาเห็น ๑๐

๑.ย่อมได้รับทุกขเวทนาแรงกล้า (เวทนํ ผรุสํ ชานี)

๒. ร่างกายถูกทำลาย (สรีรสฺส ว เภทนํ)

๓. เจ็บป่วยหนัก (ครุกํ วาปิ อาพาธํ)

๔. จิตใจฟุ้งซ่าน (จิตฺตกฺเขปํ  ว  ปาปุเณ)

๕. ได้รับอุปสรรคจากราชการ (ราชโต วา อุปสัคฺคํ)

๖. ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรง (อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ)

๗. ความเสื่อมจากญาติ (ปริกฺขยํ  ว  ญาตีนํ)

๘. ความเสื่อมทรัพย์สิน (โภคานํ  ว  ปภงฺคุณํ)

๙. ถูกไฟไหม้บ้านเรือน (อถวาสส  อคารานิ  อคฺคิ  ฑหติ  ปาวโก)

๑๐. ผู้โว่ เขาตายไปย่อมตกนรก (กายสฺส  เภทา  ทุปฺปญฺโญ  นิรยํ โส  อุปปชฺชติ.)

จากธรรมบท พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕  (จากท่านผู้ปรารถนาดีแปลไว้)

เรื่องเกี่ยวกับการพูดจา นั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องเตือนกันไว้ในคำสอนเลย เพราะพูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากยากลำบากนาน พูดไร้สาระคนเลิกคบจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 301439เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ ที่นำมาฝากกัน

ติดตาม คนดี มาเยี่ยมบันทึกนี้ ครับ

ได้ความรู้ "พุทธพจน์" ดีดี ครับ

ขอบพระคุณ ครับ

ยินดีครับ หากมีอะไรดีๆ จะเอามาให้อ่านอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท