อุปาทาน


อำนาจของการยึดติด

               เราจะปลีกตัวหรือถอนตัวออกมาจากสิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างไร   คำตอบก็คือ  จะต้องศึกษาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เรายากจนเข้าไปยึดติดในสิ่งนั้น  เมื่อรู้ต้นเหตุแล้ว  เราอาจจะตัดความยึดติดเสียได้  กิเลสซึ่งเป็นความยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น  ในพุทธศาสนาเรียกว่า  อุปาทาน  แปลว่าความยึดติด  จำแนกเป็น 4 ประการด้วยกัน คือ

             1. กามุปาทาน  ยึดมั่นโดยความเป็นกามหรือของรักใคร่ทั่วไป

             2. ทิฏฐุปาทาน  ยึดติดในทิฐิ หรือความคิดเห็นที่ตนมีอยูเดิม ๆ

             3. สีลัพพตุปาทาน  ยึดติดในวัตรปฏิบัติที่มุ่งหมายผิดทาง

             4. อัตตวาทุปาทาน  ยึดมั่นโดยความเป็นตัวเป็นตน

              อุปาทานทั้ง 4 นี้เป็นปัญหาอันอันเดียวที่พุทธบริษัทหรือผู้ประสงค์จะรู้จักตัวพระพุทธศาสนาจะต้องเข้าใจให้ได้  เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาพรหมจรรย์ในพุทธศาสนานี้ ก็เพื่อทำจิตให้หลุดพ้นจากความยึดมั่นที่ผิด ๆ นี้  เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นแล้วก็ไม่มีอะไรคล้องจิตนั้นให้ตกเป็นทาสของโลกหรือเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  เพราะฉะนั้น การหลุดพ้นจากความยึดมั่นที่ด ๆ  จึงเป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30132เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มีสิ่งที่เรารู้ว่ามันไม่ดี ควรเสียเหลือเกินที่เราจะละวางออกเสีย แต่เราก็ยังยึด ยึดเพราะอยากจะยึด ไม่อยากจะวาง แม้ว่ายึดแล้วเราจะพบกับสิ่งใดบ้าง อย่างนี้เคยเป็นบ้างไหมครับ รู้ก็เหมือนกับไม่รู้ ก็จะจัดว่าเป็นอวิชชาได้เหมือนกันไหมครับ

การหลุดพ้นจากความยึดมั่นที่ใด ๆ  จึงเป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา น่าสนใจ และยึดมั่นตามคำสอนนะคะ

http://gotoknow.org/todsaporn

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท