พบ"อ้วน-ดื่ม-เศร้า"สัมพันธ์กัน


 

โรคส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันชัดเจน เช่น ท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสีกล่าวถึงวงจร "โง่-จน-เจ็บ" ว่า เป็นเหตุเป็นผลกันคล้ายกับเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious cycle) ฯลฯ

อ.ดร.แคโรลิน เอ. แมคคาที และคณะ แห่งสถาบันวิจัยโรคเด็กซีแอทเทิลพบว่า คนไข้เกือบครึ่งหนึ่งมีอาการอย่างน้อย 1 ใน 3 อย่างของวงจรใหม่คือ "อ้วน-ดื่ม(แอลกอฮอล์)-ซึมเศร้า" ในช่วงอายุ 21-30 ปี

...

การค้นพบนี้มีลักษณะเป็น 'the tip of the iceberg' = ยอดภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งมีส่วนจมใต้น้ำ 10 ส่วน ลอยเหนือน้ำ 1 ส่วน ทำให้ปัญหาจริงมีขนานมากจนถึง 10 เท่าของที่ตามองเห็น

ตอนอายุ 21 ปี... ผู้หญิงจะเข้าสู่วงจรนี้ 8% ผู้ชาย 12% ทว่า... เมื่อเวลาผ่านไป ผู้หญิงจะถูกดูดเข้าสู่วงจรนี้หนักขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าผู้ชาย และถ้ามีรายได้ต่ำจะยิ่งมีอาการซึมเศร้า+ติดเหล้าหนักขึ้น

...

ผู้ชายที่อ้วนตอนอายุ 27 ปี ไม่ค่อยมีอาการซึมเศร้าที่อายุ 30 ปี

ผู้หญิงที่ซึมเศร้าตอนอายุ 27 ปี มีโอกาสติดเหล้าตอนอายุ 30 ปี เพิ่มกว่า 3 เท่า

...

ผู้หญิงที่ติดเหล้าตอนอายุ 24 ปีมีโอกาสอ้วนตอนอายุ 27 ปีเพิ่มเกือบ 4 เท่า และถ้าอ้วนตอน 27 ปีจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าตอนอายุ 30 ปีมากกว่า 2 เท่า

อ.ดร.ซูซาน โนเลน-โฮคซ์มา จากมหาวิทยาลัยเยลกล่าวว่า ปรากฏการณ์ "อ้วน-ดื่ม-เศร้า" มีลักษณะเป็น 'toxic triangle (toxic = ซึ่งมีพิษ; tri- = 3; angle = มุม; triangle = 3 เหลี่ยม)' = "3 เหลี่ยมพิษ"

...

ลักษณะสำคัญของสามเหลี่ยมพิษคือ 'eating, drinking and overthinking' = "กินหนัก-ดื่มหนัก-คิดมาก(เกินไป)"

กลไกที่เป็นไปได้คือ คนที่ซึมเศร้าใช้การกินหรือดื่ม(เหล้า)เป็นทางออก ซึ่งจะทำให้ถูกดูดเข้าสู่เจ้า 3 เหลี่ยมพิษ หรือวงจรอุบาทว์ในที่สุด

...

ต้นฉบับกล่าวว่า 'There are interventions that target all three legs of this toxic triangle, McCarty said, including physical exercise, mindfulness training, and stress management.'

แปลว่า อาจารย์แมคคาทีกล่าวว่า "วิธีแก้ไขคือ ให้มองสามเหลี่ยมพิษนี้เหมือนกับโต๊ะที่มีไม้ 3 ขา และแก้ไขด้วยการออกแรง-ออกกำลังบ่อยๆ (physical exercise), ฝึกเจริญสติ (mindfulness training), และฝึกจัดการความเครียด (stress management)"

...

เรื่องสำคัญ คือ การจัดการ "ระบบให้รางวัล (reward system)" ของสมอง คือ ให้หาความสุขที่ได้มาโดยชอบธรรม และดีกับสุขภาพมากกว่าการกินหรือดื่ม

เช่น การออกแรง-ออกกำลังให้เหงื่อซึมเป็นประจำทำให้เกิดความสุขที่ดีกว่าการกินหรือดื่ม ฯลฯ ดังมีคำกล่าวของพระอาจารย์ท่านหนึ่งว่า "เหงื่อออกมาก-น้ำตาออกน้อย เหงื่อออกน้อย-น้ำตาออกมาก"

...

คำกล่าวนี้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ คือ การออกแรง-ออกกำลังช่วยให้อารมณ์ดี สดชื่น นอนหลับดี และลดอาการซึมเศร้าได้ในระดับหนึ่ง

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ของคนเราคือ ความทุกข์จากการไม่มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ฟุ้งซ่าน และหมกมุ่นกับเรื่องอดีตหรืออนาคตจนลืมปัจจุบันขณะ

...

สำนักบริการสุขภาพ UK สนับสนุนให้ใช้วิธีการฝึกเจริญสติแบบพระพุทธศาสนา คือ หัดทำอะไรให้ช้าลง กำหนดรู้สภาวะธรรมที่เกิดในปัจจุบันเป็นวิธีมาตรฐานหนึ่งในการรักษาโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะคนไข้ที่ไม่ยอมใช้ยา หรือดื้อต่อยา 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                                      

  • Thank Reuters > Obesity, alcohol, depression interlinked for women. September 25, 2009. / Source > General Hospital Psychiatry, September/October 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 26 กันยายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 301119เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท