สุดท้ายพี่ทรงพล ก็พยายามจับประเด็น และนำเสนอให้เห็นว่า...
·
เรื่องสุขภาพ (สุขภาพกาย สุขภาพใจ
สุขภาพทางปัญญา สุขภาพทางสังคม) เกี่ยวข้องกับเรื่อง
อาหารการกิน สมุนไพร การออกกำลังกาย ออกกำลังกายตามวัยเพื่อสุขภาพ
การดูแลสุขภาพต้องรู้จักการกิน กินตามวัย กินอย่างไรให้เกิดประโยชน์
ต้องมีวิธีการที่จะทำให้ร่างกายดี จิตใจแจ่มใจ สุขภาพทางปัญญา คือ
ความรู้ที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น สุขภาพทางสังคม
คือการไม่มีปัญหาทางสังคม ไม่มีเรื่องยาเสพติด ไม่มีเรื่องทะเลาะ
เรื่องสุขภาพมีเรื่องที่จะเรียนรู้และจัดการความรู้เยอะ
คนที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาพอย่างน้อยที่สุดก็ได้แก่ตัวเอง
การจะเปลี่ยนแปลงการพัฒนาคนอื่นจะต้องเริ่มที่ตัวเอง
ปักธงและมีแกนนำพาเรียนรู้
·
เรื่องการมีส่วนร่วม ส่วนร่วมของคนในครอบครัว
และส่วนร่วมของคนในชุมชน
ต้องหันกลับไปดูกิจกรรมของคนในครอบครัวของเรามีส่วนร่วมดีหรือยัง
ใครมีหน้าที่รับผิดชอบอะไร มีความร่วมมือดีพอหรือยัง
ถ้าเข้าใจความร่วมมือในครอบครัวต้องเข้าใจว่าจะต้องมีความรัก
ความเอื้ออาทร ถ้าเราจะสร้างในชุมชนเราจะสร้างอย่างไร
เราต้องรู้วิธีสร้างความร่วมมือในส่วนเล็กๆ ก่อน
เราจะมีวิธีการเรียนรู้
และกุศโลบายอย่างไรให้เกิดความร่วมมือในครอบครัวและชุมชน
คนทำเรื่องนี้ต้องมาวิเคราะห์เหลียวหลังแลหน้า
มองว่าแต่ก่อนเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร
เหตุจากปัจจัยอะไรมองคิดแบบลึกถึงรากปัญหา
·
เรื่องวัฒนธรรมประเพณี
เป็นเครื่องยึดโยงระหว่างเรากับบรรพบุรุษ
และยึดโยงระหว่างเรากับสังคมเรามีประเพณีกราบไหว้บรรพบุรุษสืบทอดเป็นวัฒนธรรมประเพณี
มีการถ่ายทอดให้คุณค่าและความหมายของประเพณี
คนที่จะทำเรื่องนี้ต้องถอดรหัสอธิบายให้เห็นประโยชน์วัฒนธรรมประเพณี
คุณค่าและความหมายของประเพณี ประเพณีซ่อนความดีความงามอะไร
หาคุณค่าที่แท้จริงแล้วถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่
·
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่ ๕
เรื่อง คือ เรื่องการผลิต
ผลิตสินค่าที่ต้นทุนต่ำและไม่ทำลายงานสิ่งแวดล้อม /การบริโภค การกิน
ทุกคนต้องมาเรียนรู้เรื่องประหยัด
เรามีความเรื่องการกินอยู่เป็นหรือยัง อะไรที่ควรกินและไม่ควรกิน
/การชื่อขายแลกเปลี่ยน สมัยก่อนใช้ของเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
/ระบบการเงินและการจัดการทุน เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กองทุนชุมชน
ในชุมชนเราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร
ทำใอย่างไรให้การจัดการกลับมาเป็นฐานสำคัญในการจัดการสวัสดิการให้กับชุมชนชุมชนต้องลุกขึ้นมาดูแล
เรื่องเศรษฐกิจชุมชนมีเรื่องที่ต้องให้ทำอีกเยอะ
(สังเกตข้อมูลจากแผนแม่บทชุมชน ปริมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในครัวเรือน)
จากข้อมูลค่าใช้จ่ายจะเป็นโอกาสในการคิดเรื่องการจัดการระบบค่าใช้จ่ายใหม่
ปรับเปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องการจัดการค่าใช้จ่าย)
ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีโอกาสคิดและคิดตก
·
เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
ถ้านึกถึงเราเป็นประเทศลานสัก เราจะนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ต้องเริ่มดูว่าลานสักมีดีอะไร สิ่งแวดล้อม วัด
จะแปลงสิ่งนั้นมาเป็นแหล่งเรียนเรียนรู้และเป็นแหล่งรายได้ได้หรือไม่
เป็นทางเลือกอาชีพใหม่ได้
“ เรื่องที่เสนอมาเป็นเรื่องสำคัญและยึดโยงกันอยู่
อันดับแรกต้องพัฒนาคนให้สามารถจัดการปัญหาได้
โดยเริ่มจากลุ่มแกนเป็นหัวเชื้อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาคนเพื่อการพัฒนางานให้สร้างสิ่งฝันให้เป็นความจริง
นำคนไปพัฒนาเรื่องต่าง ๆ
สิ่งที่ท่านคิดจะเกิดขึ้นได้ท่านต้องปักธงและเห็นคุณค่า
ต้องผ่านความอดทนความเพียร
ถ้าท่านยังยืนยันที่จะเป็นผู้นำการขับเคลื่อน เราจะทำให้ท่านค่อย ๆ
เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากการปฏิบัติจริง เวทีเป็นแค่การเรียนรู้หลักการ
แต่การปฏิบัติจริงคือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน…กลุ่มประเด็นที่ท่านสนใจลองคิดลงไปอีกว่า
ตอนนี้เป็นอย่างไร มันไม่ดีอย่างไร ที่ดีอย่างไร
จุดที่เป็นอยู่และจุดที่อยากให้เป็น
ตรงนี้อยากให้ท่านจดจ่อและครุ่นคิด คิดอย่างต่อเนื่องอย่างจริงจัง
ดูมันอย่างละเอียด ให้ท่านทดลองไปฝึกความนิ่ง ฝึกการมองอย่างละเอียด
ฝึกการคิดอย่างละเอียดท่านจะเห็นอะไรมากขึ้น”
ก่อนลากันกลับ ได้ให้การบ้านที่ผู้นำจะต้องไปทำ
และคราวหน้านำมาแลกเปลี่ยนคือ
๑. สถานการณ์ตัวเรา ครอบครัว
๒. สถานการณ์ในพื้นที่ ชุมชน
๓.
การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากเวที
ข้อสังเกตต่อภาพรวมของเวที
·
กระบวนการในเวทีใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
โดยมีวิทยากรคอยให้หลักการคอยเสริมคอยเพิ่มการเรียนรู้เข้าไปผ่านกิจกรรมซึ่ง
(น่าจะ) เข้าใจง่าย และเป็นการเรียนรู้ที่สนุกแต่ได้สาระ
(วิธีการนี้วิทยากรต้องมีมากกว่าหนึ่งคนจึงจะทำกระบวนการนี้ได้)
คนที่จะเป็นวิทยากรหลักจะต้องเป็นผู้ชำนาญการ
ในการชี้ให้เห็นประเด็นการเรียนรู้จากกิจกรรมและโยงไปสู่งานสู่ชีวิตจริงได้
(ต้องเยี่ยมยุทธ์และรอบรู้จริง ๆ )
·
ประเด็นที่วิทยากรทิ้งท้ายไว้เป็นการบ้านกลืนเข้าไปในชีวิต งาน
และชุมชนได้ดี
ผู้เข้าร่วมน่าจะตื่นเต้นที่จะได้ทดลองนำความรู้ไปใช้จริง (อยากรู้จัง
นำไปใช้แล้วผลจะเป็นอย่างไร)
การเรียนรู้ที่ อบต.ลานสัก
ผู้เขียนได้เห็นการเรียนรู้ซึ่งกันและของผู้เข้าร่วมเวทีและวิทยากร
เรียนรู้นาทีต่อนาที มีความสด มีความใหม่
“ผู้เข้าร่วมเรียนรู้จากวิทยากรเพื่อทำความเข้าใจให้เกิดความรู้และนำไปปฏิบัติ
วิทยากรเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมเพื่อการออกแบบกระบวนการวิธีการที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง”
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างต้องมีการวางแผน (ไว้รองรับ)
“ความรู้ใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
บางทีต้องใช้เวลากว่าจะเกิด แต่!
ทุกอย่างพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากเราประมาท”
อยากรู้จัง !คุณมีวิธีการเรียนรู้แบบไหน???
นวลทิพย์ ชูศรีโฉม
ผู้ประสานงาน สรส.ส่วนกลาง
(วันที่ ๑๔-๑๕ พ.ค.๔๙ ณ อบต.ลานสัก อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี)