การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด


การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด

ประเด็นและข้อเท็จจริง

            การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้มีการนำกลยุทธ์การสื่อสารมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจให้ประชาชนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมนั้น โดยเฉพาะในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่าง ๆ จะพยามยามนำกลยุทธ์การสื่อสารมาใช้ เพื่อจูงใจประชาชนให้คล้อยตามข้อเสนอของตน และเพื่อให้ผู้สมัครในสังกัดพรรคได้รับคะแนนเสียงสูงสุดหรือชนะการเลือกตั้ง ทำให้ผู้สมัครในสังกัดพรรคได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด

            การปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่กำหนดโครงสร้างและกลไกทางการเมืองใหม่ ๆ รวมทั้งกระบวนการการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชน นักการเมือง และพรรคการเมือง มีความตื่นตัวและเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น มีนักการเมืองและพรรคการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเปรียบเสมือนสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งออกสู่ตลาด และต้องแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่มีฐานเสียงเดิมอยู่ในพื้นที่ และได้มาหยุดชะงักในช่วงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ทำให้การเมืองเริ่มคึกคักอีกครั้งหนึ่ง

           ดังนั้น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมานั้น สื่อประชาสัมพันธ์และการ สื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งของ ผู้สมัครและพรรคการเมืองต่าง ๆ ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยได้มีการศึกษาวิเคราะห์และ วางแผนการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อการรณรงค์หาเสียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทำให้การรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ เป็นการแข่งขันกันนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด เสมือนหนึ่งผู้สมัครและพรรคการเมืองเป็นสินค้ามากที่สุดใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทย กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             สื่อในการประชาสัมพันธ์ในสังคมไทยมีความหลากหลายมาก สื่อบุคคลนับว่ามีความสำคัญเพราะเป็นผู้นำทางความคิดที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวจิตใจของบุคคล ไปจนถึงขั้นการยอมรับความคิดใหม่ เนื่องจากมีโอกาสของการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นและสังคมภายนอกมากกว่า เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะรู้มาก เห็นมาก และมีประสบการณ์ย่อมมีมากกว่า จึงเป็นโอกาสที่ผู้นำความคิดจะได้มีการถ่ายทอดความคิดใหม่พร้อม ๆ กับถ่ายทอดทัศนคติของตัวเองไปให้ผู้อื่นได้ยินได้ฟัง และนอกจากสื่อบุคคลแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ อีก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่าง ๆ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และหน่วยเคลื่อนที่จากบรรดาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

สภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ทำให้การสื่อสารข้อมูลข่าวสารสื่อสารมีความหลากหลาย โดยได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่ง กิจกรรมการเมือง โดยเฉพาะการรณรงค์หาเสียงจึงต้องปรับรูปแบบในสอดคล้องกับกระแสการ เปลี่ยนแปลงด้วย  ดังนั้น พรรคการเมืองใหญ่ ๆ จึงต้องการเลือกใช้สื่อเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย แล้วนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่เหมาะสม โดยสื่อนั้นจะต้องมีความ) ครอบคลุม (Coverageสามารถเข้าถึงประชาชนได้มาก อันจะเป็นสื่อที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

 การวิเคราะห์ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ

        1. พิจารณาในกรณีของปัจจัยนำเข้า พรรคการเมืองใหญ่ ๆ (พรรคเพื่อไทย  พรรคประชาธิปัตย์) ได้ใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดการเมือง   และชิงส่วนครองตลาด   ให้ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสูงสุด โดยการนำการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน   ให้เกิดภาพลักษณ์   ว่าเป็นพรรคที่มีแนวความคิดทันสมัย มีผลงาน มีความซื่อสัตย์ ความเป็นมืออาชีพ ที่มีความพร้อมทั้งนโยบายและทีม ทำงานภายใต้อุดมการณ์การปฏิรูปทางการเมือง ทั้งนี้ พรรคการเมืองได้กำหนดบุคคล   หรือกลุ่มเป้าหมาย   โดยเน้นพฤติกรรมประชาชน   โดยอยู่ในรูปค่านิยมและ รูปแบบการดำรงชีวิต   เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ที่มีค่านิยมในพรรคการเมือง ที่มีความสามารถในระดับมืออาชีพ และความซื่อสัตย์ หรือ กลุ่มนักธุรกิจทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ   

       2. การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง มีการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการใช้สื่อผสมผสาน เช่น การใช้วิทยุกับการสื่อสารระหว่างบุคคล โทรทัศน์กับการสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์กับการจัดการศึกษาแบบกลุ่ม หรือโดยการสัมมนากลุ่ม เป็นต้น เนื่องจากสื่อแต่ละชนิดมีขีดความสามารถที่แตกต่างกันและเฉพาะตัว เช่น สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่กระจายข่าวสารได้รวดเร็วภายในเวลาเดียวกัน ในขณะที่สื่อบุคคลเป็นไปได้ช้ากว่า แต่สื่อบุคคลโดยเฉพาะผู้นำความคิดและผู้ที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและตัดสินใจในความคิดใหม่ของบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย แต่บุคคลหรือวิทยุและโทรทัศน์ วิทยุสามารถกระจายเสียงได้ไกลกว่าและกว้างกว่า แต่จุดอ่อนของวิทยุ คือ การที่ข่าวสารนั้นออกอากาศและกระจายหายไปพร้อมกับเสียง การได้ยินแต่เสียงเพียงอย่างเดียว ทำให้การรับฟังหรือการได้ยินไม่ชัดแจ้ง ในขณะที่ทางด้านโทรทัศน์ ผู้ชมหรือผู้ฟังสามารถได้ยินทั้งเสียง ได้เห็นทั้งภาพ อากัปกิริยา ท่าทางและสีที่ปรากฏ ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจได้มากกว่าการได้ยินเสียงทางวิทยุเพียงอย่างเดียว ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายเช่นกัน สื่อสิ่งพิมพ์ช่วยการบันทึกข้อมูลและเหตุการณ์เรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่ด้อยการศึกษา ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ บางครั้งสื่อสิ่งพิมพ์ก็ไร้ประโยชน์ ยกเว้น ถ้าเป็นภาพถ่ายก็อาจจะเป็นผลดีบ้าง ดังนั้น การใช้สื่อผสมจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สื่อแต่ละสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมในขั้นตอนของการดำเนินงานหรือการนำแผนไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และข้อมูลทางประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และ รายได้ ตลอดจนความเชื่อถือและค่านิยม

        3. พิจารณาในกรณีปัจจัยนำออก การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ก่อให้เกิดการเสนอกฎหมาย/นโยบายและ/หรือผลักดันกฎหมายหรือนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานของพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง  จากผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 และเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 และเมื่อปี 2550 พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคได้นำเอาศาสตร์ทางด้านการตลาดและการสื่อสารการตลาดมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง   ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีการกำหนดตำแหน่งหรือจุดยืนของพรรค โดยการหาจุดแข็งของพรรค แล้วใช้จุดแข็งของพรรคการนำเสนอและในการวาง Position และหากสามารถนำเสนอจุดแข็งที่พรรคคู่แข่งไม่มีก็จะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่น ๆ อย่างมาก  

       4. การตอบสนอง หากพิจารณาการตอบสนองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองแล้ว ถือได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับรู้และรู้จักพรรคการเมืองมากขึ้นและจะชื่นชอบในแนวการหาเสียงในแบบประชานิยมจึงนำไปสู่การไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นจำนวนมากและปรับค่านิยมที่เคยเลือกตัวบุคคลมาเป็นการเลือกเป็นพรรคมากขึ้น

   

หมายเลขบันทึก: 300945เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท