ครูหนิง
นางสาว สุดาวรรณ หนิง เต็มเปี่ยม

Stakeholder Management การบริหารผู้ได้ประโยชน์


Stakeholder Management การบริหารผู้ได้ประโยชน์

 

การบริหารผู้ได้ประโยชน์

(Stakeholder Management)

1. ความหมาย

          คำว่า Stakeholder เดิมหมายถึง คนกลางที่ถือเงินเดิมพันในการพนัน1 แต่ปัจจุบัน Stakeholder น่าจะมาจาก Stake + Holder  โดย Stake หมายถึง ผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสีย ส่วน Holder หมายถึง ผู้ถือหรือผู้ได้ประโยชน์ Stakeholder จึงหมายถึง ผู้ถือหรือผู้ได้ประโยชน์ร่วมกันของเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

            พิจารณาในแง่ธุรกิจเอกชน ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากธุรกิจเอกชนจะต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงหรือสูญเสียผลประโยชน์อยู่ด้วยเสมอ คำว่า Stakeholder น่าจะแปลว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีความรู้สึกว่า Stakeholder เป็นคำที่มีความหมายในเชิงบวกซึ่งจะเป็นการชักชวนให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนในการประกอบธุรกิจ และเป็นการเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดชอบความเสี่ยงหรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยไม่ผลักภาระให้ผู้อื่นมากนัก จึงแปลคำว่า Stakeholder เป็นภาษาไทยว่า ผู้ได้ผลประโยชน์ 

          Joseph W. Weiss2 ศึกษากรณี Microsoft แบ่งกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ที่สำคัญ (Focal stakeholders) ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ปฐมภูมิ (Primary stakeholders) เป็นผู้ได้ประโยชน์ชั้นใน (Internal stakeholders) ประกอบด้วย เจ้าของ ลูกค้า ลูกจ้าง และผู้ส่งมอบ ส่วนผู้บริหารระดับสูงเป็นทั้งผู้ได้รับประโยชน์  ตัวแสดง และตัวแทนของบริษัท และกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ทุติยภูมิ (Secondary stakeholders) หมายถึงกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ชั้นนอก (External stakeholders) ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สื่อมวลชน ผู้บริโภค Lobbyists ศาล รัฐบาล คู่แข่งขัน สาธารณะ และสังคม นอกจากนี้ผู้ได้ประโยชน์แต่ละคนยังมีกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ของตนอีกด้วย เช่น ผู้ส่งมอบ (Supplier) มีกลุ่มผู้ส่งมอบของตน คู่ค้า (Venders) มีกลุ่มคู่ค้าของตนอีกด้วย

            ผลประโยชน์ (Stake) หมายถึง ผลประโยชน์ (Interest) หุ้น (Share) หรือ สิทธิ (Claim) ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในหรือนอกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย การดำเนินการ หรือการกระทำของบริษัทต่อคนในบริษัทหรือผู้อื่น ผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการบังคับของกฎหมาย สภาพเศรษฐกิจ – สังคม  จริยธรรม เทคโนโลยี ระบบนิเวศวิทยา  การเมือง ตลอดจนอำนาจผลประโยชน์

ของผู้ได้ประโยชน์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้จากสภาวการณ์ต่างๆ  และจะมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อมีการแข่งขันทางการค้า เช่น สุขภาพของคนในชุมชนจะเป็นผลประโยชน์เมื่อบริษัทต้องการที่จะทิ้งขยะเป็นพิษลงแหล่งน้ำของชุมชน  ในขณะเดียวกันผลประโยชน์จะเกี่ยวข้องทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เช่น เงินชดเชยจะเกี่ยวข้องกับอดีต การสร้างโรงงานนิวเคลียร์จะพึงระวังความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เหล่านี้เป็นต้น

2. กระบวนการบริหารผู้ได้ประโยชน์  

            การบริหารผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholder Management, SM)  หมายถึง การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีจริยธรรมทำให้ผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholders) ทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเสมอกันตามสิทธิประโยชน์ที่พึงมีตามกฎหมาย ประเพณีนิยม หรือตามที่ตกลงกันไว้ โดยยุทธศาสตร์ “ทุกฝ่ายชนะ” (Win-Win Strategy) ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจที่ทำให้ผู้ได้ประโยชน์ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ตามความเป็นธรรมและเสมอภาค3 ซึ่งโดยปกติการตัดสินใจทางธุรกิจมักจะมีผู้ได้ (Winners) และผู้เสีย (Lossers) อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะแข่งขัน

            กระบวนการบริหารผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholder Management Processes, SMP)   หมายถึง การดำเนินการเป็นขั้นตอนในการบริหารผู้ได้ประโยชน์  โดยทั่วไปมีการดำเนินการเป็น 7 ขั้น คือ

  1. เขียนแผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างผู้ได้ประโยชน์
  2. เขียนแผนภูมความร่วมมือระหว่างผู้ได้ประโยชน์
  3. ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์
  4. ประเมินระดับอำนาจของผู้ประเมินต่อความรับผิดชอบของบริษัท
  5. สร้างตารางความรับผิดชอบของผู้ได้ประโยชน์
  6. กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์
  7. ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์

            ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

            ขั้นที่ 1 เขียนแผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างผู้ได้ประโยชน์

            ในปี 1984 R. Edward Freeman4 ตั้งคำถาม 9 ข้อ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดผู้ได้ประโยชน์รายใหญ่ โดย 7 ข้อแรกช่วยให้วิเคราะห์ในตอนต้น และ 2 ข้อหลังช่วยในการประเมิน ผล กล่าวคือ

  1. ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ของบริษัทในปัจจุบัน
  2. ใครจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ของบริษัทคนใหม่
  3. ผู้ได้ประโยชน์แต่ละคนจะมีผลอย่างไรต่อบริษัท
  4. บริษัทจะมีผลอย่างไรต่อผู้ได้ประโยชน์แต่ละคน
  5. ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ของแต่ละฝ่ายของบริษัท
  6. ยุทธศาสตร์ของบริษัท มีฐานคติต่อผู้ได้ประโยชน์รายใหญ่อย่างไร
  7. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมอะไรมีผลต่อบริษัทและผู้ได้ประโยชน์เช่น เงินเฟ้อ GNP อัตราดอกเบี้ย ความน่าเชื่อถือต่อบริษัท ความเป็นเอกลักษณ์ต่อบริษัท ภาพพจน์ของสื่อต่อบริษัทเหล่านี้เป็นต้น
  8. บริษัทวัดผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ (ตามข้อ 7)  อย่างไร
  9. บริษัทสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ได้ประโยชน์อย่างไร

ขั้นที่ 2 เขียนความร่วมมือระหว่างผู้ได้ประโยชน์

            หลังจากทำ Stakeholder Map แล้ว ทำให้ทราบว่าผู้ได้ประโยชน์แต่ละรายได้ประโยชน์จากบริษัทมากน้อยต่างกัน ต่อไปจะทำการจำแนกผู้ได้ประโยชน์ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม (Coalions)  และสัมพันธ์กับบริษัท

ขั้นที่ 3  ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์

            ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์แต่ละรายโดยใช้เกณฑ์สนับสนุนมากที่สุดให้ 5 คะแนน สนับสนุนมากให้ 4 คะแนน สนับสนุนปานกลางให้ 3 คะแนน สนับสนุนน้อยให้ 2 คะแนน และสนับสนุนน้อยที่สุดให้ 1 คะแนน

ขั้นที่ 4 ประเมินระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์

            อำนาจของผู้ได้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการของบริษัทมี 3 แบบคือ (1) อำนาจในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Power) (2) อำนาจทางการเมือง (Political Power) และ (3) อำนาจทางเศรษฐกิจ (Economic Power)5 โดยผู้ถือหุ้น/เจ้าของจะมีอำนาจในการออกเสียงลงคะแนนแตกต่างกันไปตามอำนาจหุ้นที่ถืออยู่ ผู้บริหารและลูกจ้างบริษัทจะมีอำนาจทางการเมืองโดยผ่านสหภาพแรงงานและผู้ถือหุ้น/เจ้าของ ลูกค้า  ผู้ส่งมอบ สถาบันทางการเงิน คู่ค้า ฯลฯ เป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือบริษัท เหล่านี้เป็นต้น 

ขั้นที่ 5 ประเมินความมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ได้ประโยชน์

            มีการประเมินความมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ได้ประโยชน์โดยการประเมินความรับผิดชอบของผู้ได้รับประโยชน์ ต่อความรับผิดชอบต่อกฎหมาย (Legal responsibility) หมายความว่า ผู้ได้รับประโยชน์ปฏิบัติตามกฎหมายมากน้อยเพียงไร ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ (Economic Responsibility) หมายความว่าผู้ได้ประโยชน์ระมัดระวังเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงไร ความมีจริยธรรม (Ethically) หมายความว่าผู้ได้รับประโยชน์กระจายผลประโยชน์ให้กับผู้ได้ประโยชน์อื่นๆ อย่างยุติธรรมแค่ไหน และความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) หมายความว่าผู้ได้ประโยชน์ได้ให้ความช่วยเหลือสังคมมากน้อยเพียงไร ในการประเมินจะให้คะแนนเป็น 5 คะแนน = มากที่สุด, 4 คะแนน = มาก, 3 คะแนน =ปานกลาง, 2 คะแนน = น้อย, 1 คะแนน = น้อยมาก

ข้อที่ 6 กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์

            ยุทธศาสตร์จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 5 ประการ คือ (1) มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น (Involvement) (2) เพิ่มความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น (Motivation) (3) เตรียมความกระชับความสัมพันธ์(Preparation) (4) เตรียมร่วมกิจการ (Collaboration) หรือตัดขาดจากกัน (Separation) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับผลการประเมินitfy[การสนับสนุนของผู้ได้ประโยชน์

ข้อที่ 7 ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์

            ประเมินการเปลี่ยนแปลงผู้ได้ประโยชน์ในระดับอำนาจ 3 ประการ คือ Voting Power, Political Power, และ Economic Power โดยเปรียบเทียบกับการประเมินระดับอำนาจที่ครั้งแรก

สรุป 

            การบริหารผู้ได้ประโยชน์เป็นการบริหารอย่างมีจริยธรรม ทำให้ผู้ได้ประโยชน์จากฝ่ายได้ประโยชน์จากบริษัทอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งพิจารณาจากระดับการสนับสนุนของผู้ได้ประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ได้ประโยชน์ที่ให้การสนับสนุนบริษัทมากจะได้ประโยชน์จากบริษัทมาก และในทางกลับกัน ผู้ให้การสนับสนุนน้อยจะได้ประโยชน์น้อย  ในขณะเดียวกันผู้ได้ประโยชน์จะได้ประโยชน์มากน้อยจากระดับอำนาจที่มีต่อบริษัท ทั้งอำนาจในการออกเสียงลงคะแนน อำนาจทางการเมือง และอำนาจทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ผู้ได้ประโยชน์อาจถูกจำแนกโดยความรับผิดชอบต่อจริยธรรม และต่อสังคมอีกด้วย

ขั้นที่ 2 เขียนความร่วมมือระหว่างผู้ได้ประโยชน์

            หลังจากทำ Stakeholder Map แล้ว ทำให้ทราบว่าผู้ได้ประโยชน์แต่ละรายได้ประโยชน์จากบริษัทมากน้อยต่างกัน ต่อไปจะทำการจำแนกผู้ได้ประโยชน์ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม (Coalions)  และสัมพันธ์กับบริษัท

ขั้นที่ 3  ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์

            ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์แต่ละรายโดยใช้เกณฑ์สนับสนุนมากที่สุดให้ 5 คะแนน สนับสนุนมากให้ 4 คะแนน สนับสนุนปานกลางให้ 3 คะแนน สนับสนุนน้อยให้ 2 คะแนน และสนับสนุนน้อยที่สุดให้ 1 คะแนน

ขั้นที่ 4 ประเมินระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์

            อำนาจของผู้ได้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการของบริษัทมี 3 แบบคือ (1) อำนาจในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Power) (2) อำนาจทางการเมือง (Political Power) และ (3) อำนาจทางเศรษฐกิจ (Economic Power)5 โดยผู้ถือหุ้น/เจ้าของจะมีอำนาจในการออกเสียงลงคะแนนแตกต่างกันไปตามอำนาจหุ้นที่ถืออยู่ ผู้บริหารและลูกจ้างบริษัทจะมีอำนาจทางการเมืองโดยผ่านสหภาพแรงงานและผู้ถือหุ้น/เจ้าของ ลูกค้า  ผู้ส่งมอบ สถาบันทางการเงิน คู่ค้า ฯลฯ เป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือบริษัท เหล่านี้เป็นต้น 

ขั้นที่ 5 ประเมินความมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ได้ประโยชน์

            มีการประเมินความมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ได้ประโยชน์โดยการประเมินความรับผิดชอบของผู้ได้รับประโยชน์ ต่อความรับผิดชอบต่อกฎหมาย (Legal responsibility) หมายความว่า ผู้ได้รับประโยชน์ปฏิบัติตามกฎหมายมากน้อยเพียงไร ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ (Economic Responsibility) หมายความว่าผู้ได้ประโยชน์ระมัดระวังเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงไร ความมีจริยธรรม (Ethically) หมายความว่าผู้ได้รับประโยชน์กระจายผลประโยชน์ให้กับผู้ได้ประโยชน์อื่นๆ อย่างยุติธรรมแค่ไหน และความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) หมายความว่าผู้ได้ประโยชน์ได้ให้ความช่วยเหลือสังคมมากน้อยเพียงไร ในการประเมินจะให้คะแนนเป็น 5 คะแนน = มากที่สุด, 4 คะแนน = มาก, 3 คะแนน =ปานกลาง, 2 คะแนน = น้อย, 1 คะแนน = น้อยมาก

ข้อที่ 6 กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์

            ยุทธศาสตร์จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 5 ประการ คือ (1) มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น (Involvement) (2) เพิ่มความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น (Motivation) (3) เตรียมความกระชับความสัมพันธ์(Preparation) (4) เตรียมร่วมกิจการ (Collaboration) หรือตัดขาดจากกัน (Separation) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับผลการประเมินitfy[การสนับสนุนของผู้ได้ประโยชน์

ข้อที่ 7 ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์

            ประเมินการเปลี่ยนแปลงผู้ได้ประโยชน์ในระดับอำนาจ 3 ประการ คือ Voting Power, Political Power, และ Economic Power โดยเปรียบเทียบกับการประเมินระดับอำนาจที่ครั้งแรก

 

สรุป

            การบริหารผู้ได้ประโยชน์เป็นการบริหารอย่างมีจริยธรรม ทำให้ผู้ได้ประโยชน์จากฝ่ายได้ประโยชน์จากบริษัทอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งพิจารณาจากระดับการสนับสนุนของผู้ได้ประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ได้ประโยชน์ที่ให้การสนับสนุนบริษัทมากจะได้ประโยชน์จากบริษัทมาก และในทางกลับกัน ผู้ให้การสนับสนุนน้อยจะได้ประโยชน์น้อย  ในขณะเดียวกันผู้ได้ประโยชน์จะได้ประโยชน์มากน้อยจากระดับอำนาจที่มีต่อบริษัท ทั้งอำนาจในการออกเสียงลงคะแนน อำนาจทางการเมือง และอำนาจทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ผู้ได้ประโยชน์อาจถูกจำแนกโดยความรับผิดชอบต่อจริยธรรม และต่อสังคมอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 300400เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถ้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของร่วม เขาก็จะร่วมมือร่วมใจในการทำงาน

การบริหารนั้นก็ต้องทำไปตามสถานการณ์เหมือนกัน บริหารผู้ได้ประโยชน์ก็เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยเนาะ

ถ้าผู้มีส่วนได้สวนเสียทราบถึงบทบาท หน้าที่ หรือการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เขาเหล่านั้นก็จะมีความรับผิดชอบร่วม และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะมอบอำนาจ หรือบทบาทให้กับเขาเหล่านั้นอย่างไร

สวัสดีค่ะ

- ยุทธศาสตร์น่าตื่นเต้น เร้าใจค่ะ

- แต่บางท่านว่าปวดหัว

- คนละมุมเลย

- เราต้องมองทุกมุมต้องแต่ steak หมู ปลา

- แฮะ ๆๆ ไม่ใช่ค่า ล้อเล่น

หนิงมา.....................แว๊ว...การบริหารใด ๆ ก็ตามต้องนำบริบทของโรงเรียนของตัวเองมาวิเคราะห์ว่าจะเอาทฤษฏิใดมาใช้ให้เกิดผลแต่อย่าลืมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยผอ.ทีละวัฒน์เขาฝากมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท