เมื่อพยาบาลเป็นไส้ติ่งอักเสบ : เรื่องเล่าเร้าพลังจากพยาบาล ER


เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจาการเจ็บป่วย และมีมุมมองต่อคนไข้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่

        วันนี้อยู่เวรไข้หวัดใหญ่ที่ ER โรงพยาบาลขอนแก่น  คนไข้ไม่ค่อยเยอะเหมือนช่วงแรกๆ  พอมีเวลาที่จะพูดคุย  และหยุดพักหายใจบ้าง

 

        พี่จิ๊กกี๋ ศุภลักษณ์ พี่พยาบาลประจำห้อง ER  เจอพี่แกตั้งแต่เป็น Extern จนตอนนี้เป็น staff  เจอกันก็ถามสารทุกข์สุกดิบ  จนได้มาคุยเรื่องที่พี่จิ๊กกี๋ได้ admit ด้วยไส้ติ่งอักเสบ  ผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้องได้ประมาณ 5 วัน  แต่ก็กลับมาทำงานแล้ว

 

        สิ่งที่ผมสนใจคงไม่ใช่ว่าทำไมผ่าตัดแล้วกลับมาทำงานเร็วจากอะไร  แต่ที่ผมสนใจและอยากรู้ว่า  พี่จิ๊กกี๋ได้เรียนรู้อะไรบ้างจาการเจ็บป่วยครั้งนี้  และมีมุมมองต่อคนไข้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่  หลังจากที่ต้องกลับมาเป็นผู้ป่วยเสียเอง  ซึ่งพี่จิ๊กกี๋เองนั้นก็  ในมุมมองของผม พี่จิ๊กกี๋เองก็ดูแลคนไข้อย่างใจเย็นและเข้าใจความเจ็บป่วยของคนไข้ที่มา ER ระดับหนึ่งอยู่แล้ว

 

        "แล้วมุมมองพี่จิ๊กกี๋เปลี่ยนแปลงยังไงครับ  หลังจาก admit"

 

        "พี่ได้มุมมองอะไรต่างๆจากที่ต้องป่วยครั้งนี้มากมาย"

 

        "เรื่องแรก  กระโถนรองปัสสาวะของคนไข้  พี่คิดว่ามันสูงเกินไป ลำบากมาก  สำหรับคนไข้คนหนึ่งที่จะต้องยกตัวขึ้นมาปัสสาวะ  พี่เลยบอกหัวหน้าพี่ว่าเราต้องเปลี่ยนมาใช้ที่ปัสสาวะที่แบนๆ  สามารถสอดเข้าใต้ตัวคนไข้  โดยไม่ต้องยกตัวขึ้น"

 

        "เรื่องที่สอง อาจจะฟังดูง่ายๆ  แต่เราก็มักมองข้ามกันไป  ก็เวลาผู้ป่วยจะอาเจียน  เราไม่ควรแค่ส่งถุงพลาสติกให้คนไข้  จริงแล้วเราควรทำอย่างอื่นเพิ่มเติม  ไม่ว่าจะเป็นการเช็ดหน้า  หรือแม้แต่การหาน้ำสะอาดๆในแก้วที่สะอาดให้คนไข้ได้บ้วนปากเวลาอาเจียน"

 

        ผมฟังเรื่องอาเจียนแล้วก็สะอึกในใจว่า  เราก็เคยทำอย่างนี้กับคนไข้มาก่อนคือยื่นถุงพลาสติกให้  แล้วก็นึกย้อนตอนที่เราเคยอาเจียน  สิ่งที่เราต้องการที่สุดตอนนั้น  ไม่ใช่ถุงพลาสติก แต่เป็นน้ำเพื่อล้างความขมเปรี้ยวเหม็นในปากเราเอง

 

        "เรื่องต่อมา  ช่วงที่พี่คิดว่าทรมานที่สุด  ก็คือ การใส่Tube (ท่อช่วยหายใจ)  ที่ต้องมีการกดคอ  พี่เข้าใจแล้วล่ะว่าทำไม  คนไข้เวลาใส่ tube ต้องดิ้นทรมาน  โดยเฉพาะ case ที่ไม่รู้สึกตัว  วันก่อนพี่ก็บอกน้องที่ ER mี่ไปดุคนไข้ที่ดิ้นมากๆว่า ไม่ต้องไปดุเขา  เพราะว่าเขาทุกข์ทรมาน  พี่เองเคยผ่านมาแล้ว"

 

        "พี่เข้าใจแล้วว่าการผ่าตัดนั้นเจ็บปวดที่สุด พี่เคยบอกคนไข้ที่เป็น Ectopic pregnancy (ท้องนอกมดลูก) ว่าผ่าตัดแป๊ปเดียว  เดี๋ยวก็หายเจ็บ  จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย"

 

        "อีกเรื่อง  หลังผ่าตัด  คนไข้ต้องลุกเดินบ่อยๆเพื่อป้องกันท้องอืด  พี่ว่ามันทรมานมากเลย  แต่ก็จำเป็นต้องทำ  ต้องอาศัยแม่และแฟน  พี่ถึงจะทำได้"

 

        "และเรื่องสุดท้าย  พี่เข้าใจแล้วล่ะว่าความอ้วนของพี่ส่งผลต่อสุขภาพยังไง  เข้าใจแล้วว่าไขมันที่หน้าท้องส่งผลต่อการผ่าตัดแค่ไหน  ต่อไปพี่จะลดน้ำหนัก"

 

        "พี่เอาเรื่องนี้ไปพุดกับหัวหน้า  หัวหน้าก็บอกว่า  จะทำยังไงนะให้น้องๆเข้าใจได้อย่างเธอ  สงสัยจะต้องจับผ่าตัดทุกคนถึงจะเข้าใจ"

 

        จาการสนทนาง่ายๆที่ดูเหมือนไม่มีอะไร  แต่สำหรับผมมันมีค่าและเติมพลังแห่งการเรียนรู้  ระลึกถึงความสามัญธรรมดาจากบทสนทนาที่เรียบง่ายบางอย่างที่เราหลงลืมไป

 

                                                        

หมายเลขบันทึก: 299810เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาที่ดีต่อผู้ป่วย ไม่ป่วยเอง ไม่รู้นะนี่

ขอให้สุขภาพแข็งแรง นะครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • แหม..มาอ่านแล้ว..รึจะให้หมอพยาบาลป่วยกันจน admit ดี จะได้พากันมาปรับปรุงบริการกับคนไข้ อิอิ ล้อเล่นนะคะ
  • คงไม่ต้องถึงลงทุนป่วยกันแต่ถ้าใช้หัวใจในการดูแลคนไข้ เชื่อว่าเราคงให้บริการได้อย่างดีพอนะคะ
  • อ้อ..ทำงานอยู่โรงพยาบาลขอนแก่นเหมือนกันค่ะ *^__^* 

สวัสดีครับ

แวะมาฟังเรื่องเล่าดีๆ ที่มีคุณค่าครับ

......บางครั้งคนเราจะเข้าใจคนอื่นได้ ก็อาจจะต้องมีประสบการณ์ตรงที่ผ่านสักครั้ง....empathy จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากนะครับ

สวัสดีครับ

แวะมาฟังเรื่องเล่าดีๆ ที่มีคุณค่าครับ

......บางครั้งคนเราจะเข้าใจคนอื่นได้ ก็อาจจะต้องมีประสบการณ์ตรงที่ผ่านสักครั้ง....empathy จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท